Tuesday, February 21, 2012

ศิลปะการทํางานให้มีความสุข

ศิลปะการทํางานให้มีความสุขบทความดีๆจาก ว.วชิรเมธี หัวข้อทํางานอย่างไรให้มีความสุขเป็นหัวข้อของอาตมา ซึ่งสามารถแบ่งได้ดังนี้

1. ทํางานที่ใจรัก เพราะถ้าเราทํางานที่ใจรักทุก ๆ วันจะเป็นวันแห่งความสุข เราไม่ต้องรอว่า ความสุขจะมาถึงเราวันเสาร์-อาทิตย์แต่ทุกวันที่เราทํางานจะเป็นวันแห่งความสุขของเราเพราะว่า เราทําด้วยความรัก

2. ทํางานทุกชิ้นให้เต็มที่ให้ดี เพราะเมื่อเราสร้างงาน งานจะย้อนกลับมาสร้างคน งานคือเวทีแสดงออกซึ่งศักยภาพในการทํางานของเราทุกครั้งที่เราทํางานให้เต็มที่และทําอย่างดีที่สุด คนก็จะเห็นคุณค่าของเราว่ามีมากน้อยเพียงไร ดังนั้นเมื่อเราตั้งใจสร้างงาน งาน 1 ชิ้นก็จะย้อนกลับมาสร้างคน

3. ทํางานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต โปร่งใสเพราะเมื่อเราทํางานด้วยความสุจริตก็ไม่ต้องมานั่งระแวงภัยที่จะตามมาในอนาคตซึ่งเกิดจากการตามจับผิด โดยหน่วยงานของทางการต่างๆ ถ้าเราทําวันนี้ให้ถูกต้องก็ไม่ต้องนั่งกังวลว่าวันวานมันจะผิด

4. เป็นนักประสานสิบทิศ อย่ามัวแต่ทํางานจนหลงลืมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงานไม่มีใครเก่งอยู่ได้คนเดียว แท้ที่จริงเราจะต้องอาศัยผู้ร่วมงานจากทุกฝูายอยู่เสมอ ดังนั้นอย่ามัวแต่ทํางานแต่จงทําคนด้วย เพื่อก่อให้เกิดสภาวะงานก็สาเร็จ ชีวิตก็รื่นรมย์ คนก็สาราญ งานก็สําเร็จใครทํางานได้อย่างนี้คน ๆ นั้นจะเป็นคนที่ประสบความสําเร็จในการทํางาน จนกล่าวได้ว่า งานก็สําเร็จชีวิตก็รื่นรมย์

ถ้าไม่ได้ทํางานที่เรารัก จะมีความสุขหรือเปล่า?

ตอบได้อย่างนี้ ถ้าไม่ได้ทํางานที่เรารัก วิธีคิดที่ดีคือการมองเชิงบวก เวลาเจองานหนักก็ให้บอกตัวเองว่านี้คือการฝึกตัวเอง เวลาเจอปัญหาซับซ้อนก็บอกตัวเองว่ายิ่งปัญหาซับซ้อนเราก็ยิ่งได้เรียนรู้มากขึ้น เวลาเจอเจ้านายที่ละเมียดละไมเหลือเกินก็ให้บอกตัวเองว่า นายที่รอบคอบแบบนี้จะฝึกเราให้สมบูรณ์แบบ ฉะนั้นถ้าเรามองเชิงบวกให้เป็นถึงแม้เราจะไม่ได้ทํางานที่เรารักแต่เราก็จะมีความสุขเสมอ ในเมื่อไม่มีสิ่งที่เราชอบ เราก็ควรชอบสิ่งที่เรามี เพราะในโลกนี้ไม่มีใครได้อะไรอย่างใจหวัง และจะไม่มีใครพลาดหวังทุกอย่างไป ทุกสิ่งทุกอย่างที่เราจะทํามีแง่ดีแง่งามอยู่เสมอขอให้เรามองให้เห็น ถ้ามองเห็นเราก็จะเป็นสุขกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า

วิธีการมองเห็นทําอย่างไร ถึงจะมองเห็น กับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า?

คุณสมบัติที่จะเปลี่ยนทุกข์ให้เป็นสุขนั้น มี 2 อย่าง

1. สังเกต สังเกตหาแง่ดีแง่งามของสิ่งต่าง ๆ ที่เราทําอยู่ให้เจอ เช่น งานของพระอาจารย์เป็นงานที่
ต้องเดินทางบ่อยมากไปเทศน์ไปสอนตลอด หลายคนก็บอกว่าเหนื่อยมาก ๆ ถ้ามาถามพระอาจารย์จะบอกว่ามันเหนื่อยก็จริงแต่มีความสุขมากเพราะได้เดินทางไปทั่วโลก ได้เจอผู้คน ได้พบภูมิประเทศใหม่ ๆ ได้สานสัมพันธ์ใหม่ ๆ ตลอดเวลา ฉะนั้นในความเหนื่อยเราก็ได้เดินทางท่องไปทั่วทั้งโลก นี่คือแง่ดีแง่งาม แต่ส่วนใหญ่คนมักจะมองอยู่จุดเดียว มองแค่ว่าเรากาลังเหนื่อยหนักจริง ๆ เหนื่อยก็แค่ส่วนหนึ่ง แต่ส่วนที่ดีเมื่อพิจารณาจริงๆ แล้วมันมีมากกว่า ให้เราสังเกตอย่างนี้ รู้จักสังเกต รู้จักพินิจ พิจารณา เราจะเห็นความแตกต่างเสมอ

2. สังเกตแล้วต้องสังกาให้ตั้งคำถาม ว่าเราจะสร้างสรรค์งานที่เราทําอยู่ให้ดีขึ้นได้อย่างไร ถ้าเรา
ถามว่า ทําไม ทําไม ทําไมุ ก็จะเกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ ขึ้นมาทุกครั้งไป กาลิเลโอก็ดี นิวตั้นก็ดีประสบความสาเร็จในชีวิตเพราะว่า เขาชอบตั้งคำถามว่าทําไม นั่นแหละเคล็ดลับในการทํางาน

ทํางานที่ชอบ แต่เงินเดือนน้อย มองอย่างไรให้เป็นสุข?

ถ้าเงินเดือนน้อยก็ต้องลดการใช้จ่ายที่ไม่จาเป็นของเราทิ้งไป แทนที่จะไปเรียกร้องเงินเดือนให้สูงขึ้นกว่าจะได้ก็ช้ามาก ก็ใช้วิธีปรับวิธีในการบริโภคของเราลง ที่จะบริโภคต่างความอยาก ซึ่งเติมอย่างไรก็ไม่เต็มมาบริโภคตามความจาเป็น ดีกว่ามุ่งประโยชน์ใช้สอยอย่างมุ่งประโยชน์ใช้สอย ถ้าเราจับจ่ายใช้สอยในการถือหลักประโยชน์ใช้สวยมีเท่าไหร่ก็ไม่พอ แต่ถ้าเราถือหลักจับจ่ายใช้สอย คือจาเป็นแค่ไหนก็จับจ่ายใช้สอยแค่นั้น พอกินพอใช้ ถึงแม้ไม่รวยแต่ก็ไม่ถึงขั้น ตกต่าย่าแย่ แทนที่เราจะเรียกร้องเงินเยอะ ๆ ทําไมเราไม่ลดหรือเปลี่ยนวิธีในการบริโภคของเรา แทน บริโภคต่างตัณหาทาให้เรามีเงินเท่าไหร่ก็ไม่พอใช้ แต่บริโภคตามปัญญาถึงเงินไม่มากมายอะไรแต่เราก็มีความสุขตามสมควร

วิธีการแก้ปัญหาในที่ทํางาน ทั้งโดนนินทา โดนแกล้ง

ให้ถือซะว่ามารไม่มีบารมีไม่เกิด เวลาที่เราทํางานต้องมีอยู่แล้วคนแกล้งคนไม่พอใจคนอิจฉาตาร้อนให้เราถือหลักว่า

1. มารไม่มีบารมีไม่เกิด
2. สิ่งใดเกิดขึ้นแล้วสิ่งนั้นกาไรเสมอ
3. อยู่ใต้ฟ้าอย่ากลัวฝน เกิดเป็นคนอย่ากลัวคานินทา
4. ถูกชมก็เข้าท่าถูกด่าก็ไม่เลว เหล่านี้เป็นคติที่พระอาจารย์ใช้ทํางานอยู่เสมอ จึงสามารถรับมือได้ทุกกระบวนท่า

กว่าจะผ่านปัญหาไปได้ ต้องฝึกฝนตัวเองอย่างไร?

จะต้องทําตัวให้หนักแน่นดังแผ่นภูผา ลมมาพัดก็ไม่ปลิวไปตามลม ฝนสาดก็ไม่เปื่อยสลาย แดดส่องก็ไม่ละลายไปกับแสงแดด ฉะนั้นทําตัวให้หนักแน่นดั่งแผ่นภูผาเราก็จะอยู่ในทุกสภาวะของชีวิต

กรณีสาหรับคนที่ตกงาน มีวิธีคิดอย่างไรไม่ให้เครียด?

1. ต้องหางานทํา
2. หาแล้วไม่ได้ต้องสร้างงานขึ้นมา ตกงานได้แต่อย่างให้ใจตก เพราะถ้าใจตกชีวิตจะตกต่าทันทีดังนั้นไม่ต้องเสียใจ คนที่ รวยที่สุดในโลกตอนนี้ สตีฟ จอบส์ ก็เคยตกงาน แต่ว่าเขาตกงานแล้วไม่ตกใจจึงลุกขึ้นมาสร้างบริษัทใหม่ในที่สุดก็ประสบความสาเร็จได้ ฉะนั้นเราตกงานได้แต่ไม่ได้หมายความว่าความรู้ความสามารถของเราตกไปด้วย มันยังอยู่กับตัวเรา ก็เอาความรู้ความสามารถที่อยู่ในเนื้อในตัวเราลุกขึ้นมาสร้างงานใหม่ทาอย่างนี้แล้วเราจะประสบความสาเร็จได้ โอกาสยังคงมีเสมอสาหรับผู้ที่ไม่ปิดกั้นตัวเอง ต้องหาความรู้เพิ่มเติมให้ถือหลักพึ่งตนเองอย่ารอพึ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ในบรรยากาศที่บ้านเมืองอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่ปกติการพึ่งตนเองสาคัญที่สุดเลย

ถ้ายังไม่ได้งานแล้วหันไปพงึ่ สิ่งศักด์ิสิทธ์ิ ผิดหรือเปล่า?

เอาวันเวลาที่ไปบนบานสานกล่าวสิ่งศักดิ์สิทธิ์นั้น มาพินิจ พิจารณาหาช่องทางทํากิน สิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยเราได้ในทางจิตวิทยาคือทาให้เราเคลิ้มๆแต่ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาที่แท้จริง พูดอีกอย่างหนึ่ง สิ่งศักดิ์สิทธิ์เป็นยาทา การใช้ปัญญาเป็นยากิน การรักษาโลกต้องใช้ยากิน การใช้ยาทาก็เป็นการรักษาแต่ภายนอก สิ่งศักดิ์สิทธิ์ถ้าศักดิ์สิทธิ์จริงประเทศไทยจะมีคนจนไหม ไม่มีุประเทศที่มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์มากที่สุดในโลกคืออินเดีย ปรากฏว่ามีประชากรกว่าร้อยล้านคนตกงานนี้คือบทเรียนของการรอพึ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ฉะนั้นให้หันมาพึ่ง ลาแข้ง ลาขา สติปัญญาของตัวเองจึงจะดีที่สุด

น้อยใจทํางานมานานแล้วไม่มีโบนัส มีวิธีคิดอย่างไร…?

ถ้าโบนัสไม่มาเอาเท่าที่มีก่อนก็ได้ มีคนอีกมากที่ตกงานแต่เรายังมีงานทํา มองเป็นก็จะเห็นธรรมแต่ถ้ามองไม่เป็นก็จะมาน้อยใจ เวลาที่เรารู้สึกแย่มองคนที่แย่กว่าเรา แล้วเราจะรู้สึกว่าเรายังได้เปรียบอยู่

ถ้าเป็นพวกที่บ้างานหนัก จะทาอย่างไร?

ต้องแสวงหาทางสายกลาง พวกที่เป็นโรค Workaholic ทั้งหลาย จะต้องแสวงหาทางสายกลางในการทํางาน การทํางานต้องประสานกับคุณภาพของชีวิตคือผลสัมฤทธิ์ของมือทํางานระดับอาชีพการทํางานประสานกับคุณภาพของชีวิตคือผลสัมฤทธิ์ของคนทํางานมืออาชีพ ฉะนั้นอย่างเป็นคนบ้างานจนหลงลืมคุณภาพของชีวิต จะต้องรักษาสมดุลของงานสมดุลชีวิตให้ลงตัวพอเหมาะพอดี

เราจะคานวณสัดส่วนสมดุลในการทางานคืออะไร?

ใช้ทางสายกลางในการทํางานและการดารงชีวิต 50-50 คืองานกับชีวิตจะต้องสมดุลกันในลักษณะ 50-50 บ้างานมากเกินไปสิ่งที่ได้กลับมาก็คือความเครียดและสุขภาพไม่ดี บ้าใช้ชีวิตมากเกินไปสิ่งที่ได้กลับมาก็คือจะอดตายเอา ไม่มีเงินกิน ไม่มีเงินใช้ ฉะนั้นต้องให้ทั้งสองส่วนมาสมดุลกัน 50-50 นี่คือทางสายกลางสาหรับคนทํางาน

ประสบการณ์ของพระอาจารย์ มีคนบ้างานจนถึงขั้นเสียชีวิตบ้างหรือเปล่า?

มีลูกศิษย์ที่ทํางานหนัก เงินเดือนแค่ 50,000 แต่ทํางานเหมือนตัวเองได้เงินเดือน 3 แสน ผลคือเป็นโรคมะเร็งและรักษาอยู่ที่โรงพยาบาลหมอบอกว่าไม่พบสาเหตุจากพันธุกรรม พบอยู่สาเหตุเดียวคือแบกความเครียดนานเกินไปเงินที่หามาทั้งชีวิตต้องนามารักษาโรคมะเร็งทั้งหมด ฉะนั้นสาเหตุหลักของมะเร็งในตอนนี้คือความเครียดนี่คือตัวอย่างของโรค Workaholic โรคบ้างานทํางานมากเกินไปสุดท้ายต้องไปใช้เงินในโรงพยาบาล ไม่ได้ใช้เงินอย่างมีความสุข

อยากให้พระอาจารย์แนะนา วิธีผ่อนคลายในการทํางานของพวกมนุษย์เงินเดือน

ถ้าเราทํางานแล้วคุณภาพชีวิตไม่ดีแสดงว่าเรากาลังเดินผิดทางมันกาลังสุดโต่ง ฉะนั้นเวลาทํางานอย่ามัวแต่ทํางานให้สังเกตคุณภาพชีวิตของตัวเองด้วย เมื่อเราทํางาน มีเวลากินข้าวกับครอบครัว
ไหม เรามีเวลาพักผ่อนวันเสาร์วันอาทิตย์ไหม เรามีเวลาอยู่กับลูกและภรรยาไหม เรามีเวลาไปเที่ยวต่างจังหวัดบ้างหรือเปล่า ถ้าสิ่งเหล่านี้ได้หายไปในชีวิตแสดงว่าคุณได้เสียสมดุลชีวิตไปแล้ว ถ้าไม่ปรับมาสู่ทางสายกลางแสดงว่าอนาคตอันใกล้คุณกาลังปูวย เอาเงินที่หามาทั้งชีวิตมาใช้ในโรงพยาบาล นี่เป็น โรคอารยธรรม ที่กาลังเกิดขึ้นกับมนุษย์ในยุคทุนนิยมทั่วโลก ที่อเมริกา ที่ญี่ปุูนปูวยด้วยโรค Workaholic เป็นอันดับต้น ๆ ของโลก ประเทศไทยอันดับต้นๆของเอเชีย เพราะเราเครียดจากการเมือง เครียดจากเศรษฐกิจ เครียดจากแข่งขันในระบบทุนนิยมด้วยดังนั้นใครที่เป็นโรคบ้างานจะต้องระมัดระวังถามตัวเองด้วยว่า เรามีภาวะสมดุลงานสมดุลชีวิตแล้วหรือยัง อย่าทางานจนปูวยตาย อย่าหลงเสน่ห์อบายมุข อย่ามีความสุขจนลืมศีลธรรม

ถ้ามีคนถามพระอาจารย์ว่า งานจาเป็นต่อชีวิตหรือไม่…?

งานจาเป็นต่อชีวิตเพราะทุกคนต้องกินต้องใช้แต่ต้องไม่ลืมว่าถ้าไม่มีชีวิตมีงานก็สูญเปล่า

ความหมายของงานในแบบของพระอาจารย์คืออะไร…?

งานของเราก็คือการทําให้เขามีความสุข ทุกวันอาตมามีความสุขมากเพราะเป็นงานที่ไม่ได้ทําร้ายใครเลย อาตมาไปเทศน์ไปสอนไปบรรยายก็เหมือนเป็นการเอาความสุขไปโปรยให้กับคนทั่วทั้งสากลโลก ฉะนั้นทุก ๆ วันที่เดินทางออกจากวัดอาตมามีความสุขมาก ทางานเหมือนแสงเดือนแสงตะวันที่ชโลมผืนโลก ทาไปไม่หวังผลประโยชน์ หวังแค่ประโยชน์สุขที่เกิดขึ้นกับมนุษย์อาตมามีความสุขที่เห็นคนอื่นมีความสุข เป็นความสุขที่เกิดขึ้นจากการทําให้คนอื่นมีความสุขเรียกว่าให้สุขแก่ท่านสุขนั้นถึงตัว ฉะนั้นชีวิตการทํางานของอาตมาก็ถือว่ามีความสุข เพราะได้ทํางานที่ตัวเองรัก และปรัชญาในการทํางานของอาตมาก็คือ งานของเราคือการทําให้เขามีความสุข

แล้วงานที่ดีที่สุด...คืออะไร…?

งานที่จะทําให้เราอยู่ได้ในทางเศรษฐกิจและมีชีวิตที่มีความร่มเย็นในจิตใจ คืองานในอุดมคติที่มนุษย์ทุกคนพึงสร้างสรรค์พัฒนาขึ้นมาให้ได้ ย้าอีกครั้งหนึ่งคือ สามารถอยู่ได้ในทางเศรษฐกิจมีชีวิตที่ร่มเย็นในจิตใจ เรียกว่าในทางกายภาพก็อยู่ได้ ในทางใจก็ร่มเย็นเป็นสุขุ
สุดท้ายให้ก็ขอมอบพร 4 ประการให้กับคนไทย พลังทั้ง 4 เพื่อความสวัสดีของชีวิตคนไทย
1. พลังปัญญาของให้คนไทยลดความรู้สึกลงกลับมาใช้เหตุผลให้มากขึ้น
2. พลังความเพียรขอให้คนไทยพึ่งตนเองลดการพึ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์
3. พลังความสุจริตขอให้คนไทยร่วมกันต่อต้านคอรัปชั่นทุกรูปแบบแล้วหันมาเชื่อมั่นในความสุจริตโปร่งใส
4. พลังความสามัคคี ขอให้คนไทยเลิกเห็นแก่ตัวจนไม่เห็นหัวคนอื่น มาถือหลักธรรมใหม่ๆ ว่าส่วนไหนๆ ก็ไม่ยิ่งใหญ่เท่าส่วนรวม ลด ละ เลิก การแบ่งแยก ไทยเหลือง ไทยแดง ไทยน้าเงินให้เหลือเป็นไทยแลนด์ที่เป็นหนึ่งเดียว เท่านี้ชีวิตก็จะมีความสุข คนไทยทั้งประเทศก็จะมีความสุข เพื่อความสวัสดีของคนไทยให้เป็นพรปีใหม่ของเราชาวไทยทุกๆคน

ชมในรูปแบบ Clip vdo http://www.youtube.com/watch?v=aUaeueX3V5M

Wednesday, February 15, 2012

เข้าใจวิกฤตเศรษกิจแบบง่ายๆ


ผมมีความเชื่อส่วนตัวว่า ทุกอย่างในโลกนี้มี Cycles ของมันเองและก็เชื่อต่อไปด้วยว่า ถ้าเราเรียนรู้จากความผิดพลาดในอดีตแล้ว มันจะสามารถให้ข้อมูลเราในการเตรียมตัวสิ่งที่จะเกิดขึ้นไม่มากก็น้อย เพราะผมเชื่อว่า history repeats itself วันนี้เลยอยากลองเขียนเรื่องวิกฤตเศรษกิจที่ผ่านมาดู เพื่อจะเก็บไว้ใน library นี้เป็นข้อมูลตามความเข้าใจของเรา
ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าคำว่า history repeats itself ในแง่วิกฤตเศรษกิจนี่ไม่ได้หมายความว่ามันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติประมาณว่ายังไงซะมันต้องเกิด แต่มันเป็นเพราะ ความโลภ ของมนุษย์เองที่สร้างมันขึ้นมาและก็  enjoy กับสิ่งต่างๆที่เราสร้างมา ทุกอย่างดูเหมือนจะดี แต่ปัญหา !! อยู่ที่นี่คร้าบ ในแง่การลงทุนหรือการเงินนี่ ส่วนตัมผมมมองมันคือ Money Games ที่ Winners take All คืออะไร ก็ปลาใหญ่กินปลาเล็ก คนที่โลภและอยู่ในวงจรนี้ รู้ไม่ทันหรือออกมาไม่ทันก็จะกลายเป็นเหยื่อให้กับผู้ที่สามารถควบคุมกระแสเงินหรือควบคุม Games ได้

 เอาละยกตัวอย่างให้เห็นภาพ Subprime Crisis ตอนปี 2008 ที่เกิดขึ้นเพราะ ความโลภและการการคอรัปชัน อย่างเป็นระบบในสหรัฐอเมริกาโดยภาคธุรกิจการเงิน และผลพวงของมัน วิกฤต Subprime จะไม่เกิดขึ้นเลย หากผู้ที่ควบคุมกฎกติกา ทำงานอย่างจริงจังโดยไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว
ในช่วง ค.. 1940 -1980 เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาเจริญเติบโตอย่างไม่หยุดยัง โดยไม่มีวิกฤตการเงินแม้แต่ครังเดียว เพราะว่าภาคธุรกิจการเงินถูกควบคุมโดยกฎเกณฑ์อย่างแน่นแฟ้น ในทศวรรษ 1980 ภาคธุรกิจการเงินขยายตัวอย่างรวดเร็ว แต่ปรากฏว่าในช่วง 1981-2011 กลับกลายเป็นยุคเสรีที่ผ่อนปรนกฎเกณฑ์ควบคุม (deregulation) ภาคธุรกิจการเงินจนเกิดวิกฤตย่อยในปลายทศวรรษ 1980 ธุรกิจการเงินหลายแห่งรวมตัวกันกลายเป็นยักษ์ใหญ่ไม่กี่แห่ง

มีการแก้ไขกฎหมายเพื่อผ่อนปรนกฎเกณฑ์ควบคุม เพราะเชื่อทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ที่ว่าการมีกฎเกณฑ์น้อยลงทำให้เกิดความคล่องตัวทางธุรกิจ ต้นทุนจะต่ำลงกลไกตลาดที่สาธารณชนเห็นการทำงานอย่างชัดเจนจะผลักดันให้เกิดประสิทธิภาพ และผู้ได้รับประโยชน์คือประชาชน

การกู้ยืมอย่างเสรีโดยธุรกิจการเงินนำไปสู่การผสมกันของธุรกิจไฮเท็คและกฎเกณฑ์ที่หย่อนยานจนเกิดสิ่งที่เรียกว่าอนุพันธ์ทางการเงิน (derivatives) ซึ่งมีความซับซ้อนโยงใยกันระหว่างหลายธุรกรรมเพื่อการสร้างกำไรของธุรกิจการเงิน ตัวอย่างเช่นมีการออกตราสารการเงินที่ีมูลค่าขึ้น อยู่กับปริมาณหิมะตก ฝนตก การเปลี่ียนแปลงของอัตราดอกเบีย ดัชนีราคาหุ้น ฯลฯ พูดง่าย ๆ ก็คือสามารถเอาทุกสิ่งมาเล่นพนันได้ผ่านตราสารการเงินที่มีหลากหลายรูปแบบ

ช่วงต้นทศวรรษ 2000 ภาคธุรกิจการเงินถูกครอบงำโดย 5 ยักษ์ใหญ่ Investment Banks (วานิชธนกิจ ซึ่ึงเป็นธนาคารที่ีทำหลากหลายธุรกรรมกว่าธนาคารธรรมดาที่เรารู้จักกัน) คือ Goldman Sachs/ Morgan Stanley/ Lehman Brothers/ Merrill Lynch/ และ Bear Stearns บวกสองยักษ์ใหญ่ทางการเงินคือ Citigroup และ J.P. Morgan บวกสาม บริษัทประกันคือ AIG/ MBIA/ AMBAC และสามผู้ประเมิน (Rating Agencies) คือ Moody’s/ Standar Poors/ Fitch ทั้งหมดนี้ร่วมกันหากินคล้ายการเป็นวงจรอาหารของสัตว์ กล่าวคือธนาคาร ทั้งหลายที่ปล่อยเงินกู้ให้แก่ประชาชนอย่างไม่พิจารณาเข้มข้น (sub-prime loans) ขายหนีให้แก่วานิชธนกิจ ซึ่งเอามารวมกันกับหนี้อย่างอื่นๆ ให้เป็นหลักทรัพย์คำประกันการออกตราสารอนุพันธ์ซึ่งเรียกว่า CDO’s (Collateralized Debt Obligations) แล้วเอาไปขายให้นักลงทุนทั่วโลก ประชาชน, นักลงทุนหรือ กองทุนลงทุน ก็ให้เงินกู้แก่วานิชธนกิจซึ่ึงก็คือการซืออนุพันธ์นี้เพราะได้ดอกเบีย ในอัตราน่าสนใจ

นักลงทุนเหล่านีก็มั่นใจในอนุพันธ์นี้ว่าเป็นการให้กู้ที่เชื่อได้ว่าจะได้เงินคืนในอนาคตแน่นอนเพราะสามยักษ์คือ Moody’s/ Standard & Poors และ Fitch มักประเมินให้ในระดับ AAA เสมอ วานิชธนกิจยักษ์ก็ได้กำไรจากการซือหนี้และหลักทรัพย์มาและเอามาเป็นหลักทรัพย์และออกอนุพันธ์ได้เงินกู้มา บริษัทประกันก็ได้จากการที่ีวานิชธนกิจเหล่านีเอา CDO’s มาประกัน สาม Rating Agencies ก็ได้จากการประเมินอนุพันธ์ ถ้าประเมินว่าดีก็ได้ค่าธรรมเนียมสูง ทุกคนได้หมดยกเว้นผู้ลงทุนปลายทางที่มีอยู่ทั่วโลกโดยเฉพาะในยุโรปใน

ตอนท้ายเมื่อต้นน้ำคือผู้กู้เงินมาซือบ้านไม่มีปัญญาผ่อนส่งเพราะเศรษฐกิจเกิดผันผวนการสะดุดขึ้นเช่นนีก็ส่งผลกระทบต่อไปเป็นลูกโซ่ เมื่ือบ้านถูกยึดและปล่อยเข้าตลาดมากขึนราคาหลักทรัพย์ก็ตกลง หลักทรัพย์คำประกัน CDO’s ก็มีค่าลดลง ส่งผลให้มูลค่าอนุพันธ์มีค่าลดลง ใครซื้อไว้ก็มีมูลค่าลดลงจนเป็นศูนย์ วานิชธนกิจยักษ์ใหญ่การเงินตลอดจนบริษัทประกันก็ถูกกระทบเพราะหลักทรัพย์ที่ีตนถือไว้มีค่าลดลง ผู้คนตื่ืนตระหนักพากันขาย CDO’s แต่หาคนซื้อไม่ได้ สถานการณ์ก็เลวร้ายลงทุกที ผู้ซื้ออนุพันธ์ต่างสูญเงินกันยับเยิน

คำถามก็คือ แล้วทางการสหรัฐปล่อยให้เกิดขึ้นได้อย่างไร? มองไม่เห็นหรือว่าวิกฤตกำลังมาเยือน คำตอบ ก็คือมีคนเห็นว่าการขาดการควบคุมการออกอนุพันธ์และ CDO’s ตลอดจนการขาดกฎเกณฑ์กำหนดต่างๆ ที่เหมาะสมคือจุดเริ่มต้นของความหายนะ แต่ไม่มีการฟังกัน ทางการสหรัฐก็เดินหน้าผ่อนปรนกฎเกณฑ์ต่อไป

เห็นไหมคร้าบว่าการที่ภาคธุรกิจการเงินพยายามปิดกันมิให้มีกฎเกณฑ์ที่แน่นแฟ้นเพราะทำกำไรให้ทุกฝ่ ายอย่างมหาศาล บาง CEO ของยักษ์ทั้งห้าก็หมุนเวียนเปลี่ยนกันมาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจของประธานาธิบดี บางคนก็ไปเป็นกรรมการบริษัทเหล่านี อาจารย์มหาวิทยาลัยที่ีหลายคนเป็นนักเศรษฐศาสตร์มีชื่อของโลก ก็เชียร์การผ่อนปรนกฎเกณฑ์และตัวเองก็ได้ประโยชน์มหาศาลจากนโยบายเหล่านีด้วย

แม้จะเกิด Subprime Crisis แต่ CEOs และผู้เกี่ยวข้องในภาคธุรกิจเหล่านี้ล้วนได้เงินกันไปคนละหลายร้อยล้านเหรียญ ถึงแม้บริษัทจะล้มระเนระนาดก็ตาม และไม่มีใครติดคุกสักคน!!

คราวนี่รู้แล้วใช่ไหมคร้าบว่า ทำไม่ถึงได้มีการก่อกำเนิดกลุ่ม "Occupy Wall Street" ในภายหลังขึ้นเพื่อประท้วงกลุ่มคนเหล่านี้ เพราะผู้คนเริ่มเข้าใจมากขึ้นว่า ความโลภนี้ก่อให้เกิดปัญหาใหญ่กระทบต่อสังคมโดยกว้าง และเห็นถึงความเลวร้ายของระบบที่ีมีความโลภเป็นตัวขับเคลื่อน

ปัจจุบันแม้ Obama จะดูเป็นคนรุ่นใหม่มีแนวคิด Changes ตามที่หาเสียงไว้ก็ตาม แต่อิทธิพลเก่าก็ยังคงกลับมาอีก Wall Street สัญลักษณ์ตัวแทนของยักษ์ใหญ่ธุรกิจการเงิน ยังทรงอำนาจมหาศาลในการเมืองอย่างไม่หายไปไหน

ลองดู Jonathan Jarvis อธิบายเรื่อง  Subprime Credit Crisis แบบง่ายๆข้างล่างนี้ ลองดูคร้าบ


Creditted by: Varaporn Samkosaid, Matichon / Jonathan Jarvis 

kumpol: fEB 15, 2012

Tuesday, February 14, 2012

Become More Optimistic: 6 Smart Tricks


To acquire a more positive attitude, all you really need is a more powerful vocabulary. Try these linguistic shifts.

Some people see the world through a filter of optimism: They always make lemonade from the lemons, no matter what happens. Others see the world through a filter of pessimism; they always find the cloud in the silver lining.

It's a truism of life that the optimists are always more successful than the pessimists, but that raises a crucial questions: how can you change your attitude to be more optimistic? The answer? Change the words that you use every day to describe your experience.

Here are some quick language tricks that can change your attitude.

1. Stop using negative phrases ... such as "I can't," "It's impossible," or "This won't work." Such statements program your mind to look for negative results.

2. When asked "How are you?" ... respond with "Terrific!" or "Fabulous!" or "I've never felt better!" rather than a depressing "OK" or "Getting by."

3. Stop complaining ... about things over which you have no control—such as the economy, your company, or your customers.

4. Stop griping ... about your personal problems and illnesses. What good does it do, other than to depress you and everyone else?

5. Substitute neutral words ... for emotionally loaded ones. For example, rather than saying “I'm enraged!” say “I'm a bit annoyed”—or, better yet, “I've got a real challenge.”

6. Expunge profanity and obscenity ... from your vocabulary. Such words are always signs of a lazy mind that can't think of something really witty to say.

Rules 1 through 4 came from Jeff Keller, author of the bestseller "Attitude Is Everything". Rule 5 come from Tony Robbins. Rule 6, as it happens, comes from Geoffrey James mother.

Source:  http://www.inc.com/ Sales Source, the article is written by Geoffrey James, Feb 13 2012

Wednesday, February 8, 2012

ประสบการณ์ Ph.D. Student ตอน 3


การเรียนปริญญาเอกนี่สำหรับผมส่วนตัว ไม่เคยมีความคิดที่จะไปสนิท กับเจ้าหลักสูตรนี้มาก่อนเนี่องจากได้ยินกิตติศัพท์ มันมาตลอดว่ายากมาก และก็ใช้เวลามาก เลยทำให้เราเชื่อและคล้อยตามมาจนถึงปัจจุบัน

แต่ก็เหมือนคำพังเพยว่า ไม่ชอบอย่างไรก็ได้อย่างนั้น 555 ถึงตอนนี้ผมกำลังทำ paper ตัวสุดท้ายอยู่และก็รู้ซึ้งถึงสิ่งที่ หลายๆคนพูดถึงคือ นอกจากความกว้างและลึกของเนื้อหาที่ต้องค้นคว้าแล้ว  สิ่งทีต้องใช้อย่างมากคือ กำลังใจ และ ความมุ่งมั่น และบอกตัวเองอยู่เสมอว่าเราทำได้ ซึ่งโดยส่วนตัวผมไม่มีปัญหากับเรื่องนี้ เพราะผมเตรียมตัวเตรียมใจมาก่อนว่าจะเจอกับอะไรบ้าง

สิ่งที่สำคัญที่สุดจากประสบการณ์ส่วนตัวผม ในการทำปริญญาเอกนี่ Advisor เราสำคัญที่สุดคร้าบ ผมโชคดีที่ Advisor ผม เราเข้าใจกันได้ดีและผมก็แสดงให้เห็นว่าผมรู้อะไร และไม่รู้อะไร!!  การเปิดใจทั้งของผมกับ Advisor ผมตั้งแต่แรกทำให้ทุกอย่างง่ายขึ้นสำหรับผม

Advisor ผมบอกว่าให้เราสังเกตุตัวเองดีๆว่าเราจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆในสายตาคนรอบข้างเรา เนื่องจากว่าความคิดความอ่านเราจาก การทำป.เอกนี่ จะทำให้มุมมองเราเปลี่ยนไปมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "การตั้งคำถาม" ต่อสิ่งต่างๆ เช่น เมื่อก่อนผมอาจจะสงสัยในเรื่องต่างๆว่า เพราะอะไรมันถึงเป็นแบบนี้และผมก็คาดหวังว่าจะได้รับคำตอบ แต่ตอนนี้ คำถามผมจะเปลี่ยนไปส่วนมากจะถามว่า ทำไม แทนที่จะเป็นอะไร และก็มุ่งเน้นที่การที่จะถามคำถาม มากกว่าการที่จะคาดหวังที่จะได้รับคำตอบ

สำหรับผมคนเก่ง กับ คนฉลาดนั้นต่างกัน "คนที่เก่งทุกคนไม่จำเป็นต้องฉลาด กลับกัน คนฉลาดส่วนมากมักจะเก่ง" ถามว่าทำไม..?? ถ้าให้ผมต้องเลือก ผมเลือก "คนฉลาด" เพราะ คนฉลาดจะรู้ตัวเองอยู่เสมอว่าตัวเองรู้น้อยมาก และชอบเรียนรู้สิ่งใหม่และพร้อมจะเปิดใจรับฟัง พยายามทำความเข้าใจเรื่องต่างๆโดยไม่ไปคิดหรือตัดสินอะไรไว้ล่วงหน้า แต่จะค่อยๆคิดวิเคราะห์เรื่องต่างๆอย่างรอบคอบอย่างมีเหตุมีผล

ข้อสังเกตุส่วนตัวของผมคือ แม้ผมจะมองคนที่เจตนาเป็นหลัก แต่สิ่งสำคัญ ผมจะมองคนจาก "การตั้งคำถามของเค้าและวัดคว่ามฉลาดเค้าจากการตั้งคำถาม" ไม่ใช่จากการตอบคำถาม ถามว่าเพราะอะไร?  ผมคิดว่า คนที่คิดว่าตัวเองเก่ง บ่อยครั้งจะใช้ตัวเองเป็นศูนย์กลางในการตัดสินคนอื่น เพราะคิดว่าเราเก่งและอยากจะช่วยหรือแสดงความเห็นต่อคนอื่น แม้จะเป็นเรื่องที่เราไม่ถนัดแต่ก็ยังไปตัดสินเค้า กลับกัน คนฉลาดสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมได้จากการตั้งคำถามอันชาญฉลาดของเค้า

ส่วนตัวผมกำลังเรียนรู้ จากประสบการณ์คนรอบข้าง และ หวังว่าซักวันนึงจะสามารถ ตั้งคำถาม ต่อสิ่งต่างๆได้อย่างฉลาด เผื่อว่าซักวันจะได้เข้าเกณฑ์เป็นคนฉลาดกะเค้าบ้างครับ

คลิกอ่านตอน 1 ได้ที่นี่ครับ ประสบการณ์ Ph.D. Student ตอน 1
คลิกอ่านตอน 2 ได้ที่นี่ครับ ประสบการณ์ Ph.D. Student ตอน 2

Kumpol: Feb 08, 2012

Friday, February 3, 2012

ประสบการณ์ Ph.D. Student ตอน 2

การเรียนปริญญาเอกนี่ทำให้ผมเรียนรู้อะไรได้หลายอย่างแต่ที่สำคัญที่สุดคือ "เราได้เรียนรู้และรู้จักตัวเราเองมากขึ้น" เพราะการเรียนปริญญาเอกนี่ต่างกันมากกับการเรียนที่ผ่านมาของผม ที่เรียนไปเพื่อความเข้าใจและก็เพื่อสอบเป็นหลัก แต่การเรียนป.เอกนี่มันต้องใช้การบริหารเวลาที่ดีเอามากๆในการจัดระเบียบตัวเอง

หลักๆก็คือการแข่งกับตัวเอง ไม่ได้แข่งกับใครที่ไหน..การที่เราคิดได้แบบนี้มันกลับทำให้เรามองห็นหลายๆอย่างเปลี่ยนไปและผ่านเรื่องราวต่างๆมาได้ ป.เอกนี่มีทุกรูปแบบคร้าบ บ่อยครั้งที่เพื่อนที่เรียนหรือรุ่นก่อนๆมีการขู่ไว้ก่อนว่าอ.คนนี้ดีไม่ดี ต้องทำอะไรบ้าง หนักแค่ไหน ลำบากยังไง...หุหุ เค้าไม่รู้หรอกว่าเรามันประเภท ถ้าตั้งใจทำอะไรแล้ว ต้องทำให้ได้ ประเภทเข้าข้างตัวเองไว้ก่อนว่า ถ้ามีใครทำได้ มันต้องเป็นเรา..โห ego สุดๆแต่คิดแบบนี้มันก็ทำให้เราผ่านมาได้หลายครั้งละขณะที่หลายคนถอดใจไป

ปกติผมไม่ค่อยได้สนิทกับอาจารย์ที่ไหน จะมีก็แต่ครูคนแรกของผมสมัยป1. ซึ่งเราไปมาหาสู่กันทุกปีไม่เคยขาดยกเว้นปีไหนที่ไม่อยู่และต่อมาก็ไม่ได้สนิทกับอาจารย์ที่ไหนอีก จะมีก็ Prof ผมนี่ละ เจอกันที่ไฟแลบ คุยกันตั้งแต่สากะเบือยันเรือรบ ประมาณว่าคุยถูกคอประมาณนั้น เป็นฝรั่งที่เข้าใจคนไทยมากกว่าคนไทยเข้าใจกันเอาซะอีก..ego ส่วนตัวอีกละ..555

มีครั้งนึงผมบอก Prof. ผมว่านับวันยิ่งผ่านไปในระดับ Ph.D รู้สึกว่าเรายิ่งเรียนแล้วยิ่งรู้ตัวว่าเราไม่รู้อะไรเลย ..ประมาณว่า เรายิ่งเรียน ยิ่งโง่ เพราะเหมือนเรามีประสบการณ์ด้านต่างๆมาและ เราคิดว่าเรารู้เรื่องนั้นๆดีแล้ว แต่พอมาอ่านมากๆเข้าเรียนรู้มากๆเข้า กลับกลายเป็นว่า เรารู้น้อยมากๆๆๆเลย อืม..ถึงได้รู้ว่า ความรู้นี่มีมากมายมหาศาลเลย เรยนรู้ไม่มีที่สิ้นสุด และก็มนุษย์เราต้องเรียนรู้อยู่ตลอด

อย่างน้อยถึงตอนนี้ก็ภูมิใจและยอมรับว่าโดยส่วยตัวเรา "ยิ่งเรียนยิ่งโง่จริง" แต่ก็พร้อมที่จะเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา

อ่าน ประสบการณ์ Ph.D. Student ตอน 1 ได้ คลิกตรงนี้ครับ

Kumpol: Feb 3, 2012

ประสบการณ์ Ph.D. Student ตอน 1


ไม่เคยเขียนหรือเล่าเรื่อง ประสบการณ์การเรียนมาก่อน เอาละในเมื่อไม่เคยก็ลองเขียนดูคร้าบ การเรียนไปด้วยทำงานไปด้วย เรียกได้ว่าหนักพอควรแต่ก็ผ่านมาได้ด้วยดี พร้อมกับการเปิดโลกทัศน์น้อยๆของเราให้มากขึ้น ทั้งจากประสบการณ์ของ  Prof. เราและก็เพื่อนเรียน Ph.D. ด้วยกัน

ไม่แน่ใจว่าจะเขียนทั้งหมดกี่ตอน แต่ก็นี่มันคือการถ่ายทอดประสบการณ์ของเราเองนี่ ..พร้อมกับมาเก็บไว้ใน blog นี้จะเขียนกี่ตอนเดี๋ยวก็แล้วแต่ความขี้เกียจของเรา :)

ไม่บ่อยนักคร้าบเท่าที่ผมรู้มาสำหรับการทำงานประจำพร้อมกับการเรียน Ph.D. program เท่าที่รู้มาก็มีทุกแนวคร้าบ  ปลายทาง ไม่ว่าจะ สำเร็จได้ด้วยดี แนวหายสาบสูญก็มี แนวถอดใจก็เยอะ ยังไม่แน่ว่าเราจะจบแนวไหน 555

เรียกได้ว่าคุ้มค่าคร้าบกับ การใช้วันลาทั้งหมดในการทำงานมาใช้ในการเรียน แต่ก็หนักเอาการอยู่ ลองนึกภาพ คนต้องทำงานด้วยตกเย็นกลับบ้านต้องทำค้นคว้าต่อ  เช้าต้องตื่นเช้ากว่าปกติมาอ่านหนังสือก่อนออกไปทำงาน เสาร์ อาทิตย์ไม่มีวันพักกะเค้าคร้าบ ไปสิงสถิตย์อยู่ตามร้านกาแฟเพื่อจะตั้งหน้าตั้งตาอ่าน อ่าน แล้วก็ อ่าน ตอนแรกก็ไม่คิดว่าตัวเองจะผ่านไปได้แต่สุดท้ายผลออกมาก็หายเหนื่อยคร้าบ 

ตลอดช่วงการเรียนและสอบและทำ papers รวมถึง present งาน สิ่งที่ทำให้ผมผ่านมาได้ผมคิดว่าเป็นเพราะ attitude ที่ถูกต้องประกอบกับคำแนะนำที่ มีประโยชน์จาก Prof.ผม เช่น "you are going to have serious problems for your study if you aim for the best and try to understand every thing you read" ผมเห็นเพื่อนๆที่เรียน หลายคนติดกับดักตัวเองในข้อนี้ ด้วยความที่ว่าต้องรู้ทุกอย่าง พยายามที่จะเข้าใจ ทุกเรื่องที่เราเรียนรู้ แต่สิ่งสำคัญผมคิดว่าคือการ bridge ความรู้นั้นรวมถึงประสบการณืต่างๆให้เข้ากับสถานการณ์จริง หลายคนมีปัญหานี้คร้าบ อาจเป็นเพราะเค้ามองลงลึกแต่ผมมันประเภทมองภาพ กว้างก่อนแล้วค่อย focus ลงไป ส่วนผมอาจจะได้เปรียบคนอื่นตรงนี้คร้าบ แต่ก็แพ้เค้าเรื่องเวลาเรียนเพราะส่วนมากจะเป็น full time student ส่วนมากประเภทใช้ทุนมาจากประเภทโน้นประเทศนี้ เห็นแล้วก็อิจฉาคร้าบว่าทำไม่เค้าสบายแบบนี้ ออกแนวเรียนแบบ สบายๆ ไม่เหมือนเราที่สวมหมวกหลายใบคร้าบ...เหนื่อยแต่ก็คุ้มค่านะ

ผ่านมาทุกด่านละเหลือแค่ paper ตัวใหญ่ตัวสุดท้ายซึ่งเป็นด่านที่หนักที่สุดคร้าบ จะต้องเจอกับการ หมดกำลังใจ ปัญหาต่างๆในการค้นคว้า อื่นๆอีกมากมาย ซึ่งคิดว่าคงต้องเจอแน่ๆแต่เรามาถึงจุดที่ใช้คำว่า  Ph.D Candidate ได้เต็มปาก มันก็ทำให้มีฮึดสู้ต่อได้เหมือนกัน สู้ไหวไม่ไหวเดี๋ยวก๊รู้คร้าบ..555          

ส่วนตัวหลักๆผมคิดว่าการเรียนปริญญาเอก คือ การเรียนรู้ปรัชญาของชีวิตไม่ว่าจะ เรียนรู้ที่ค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง, เรียนรู้ที่จะปรับตัวให้เข้ากับการเรียนแบบ กล้าแสดงออก กล้าคิด และ กล้าทำ, เรียนรู้ที่จะต้องรับผิดชอบต่ออนาคตตนเองและประเทศชาติ, เรียนรู้ที่คิดอย่างเป็นระบบตามหลักวิทยาศาสตร์เพื่อการค้นคว้าหาแก่นของความรู้, เรียนรู้ที่จะต่อยอดความรู้ของผู้อื่นเพื่อสร้างสรรค์ความคิดใหม่ๆ, เรียนรู้ที่จะเคารพในการเรียนรู้ของผู้อื่น, เรียนรู้ที่จะเชื่อมั่นในตัวอาจารย์ที่ปรึกษา, เรียนรู้ที่สร้างและรักษาสัมพันธภาพที่ดีกับครอบครัวของอาจารย์ที่ปรึกษา ฯลฯ และ ที่สำคัญ เรียนรู้ว่า ปริญญาเอกเป็นเรื่องที่ทุกคนไขว่คว้ามาได้ หากพร้อมที่จะ "เรียนรู้"

Kumpol: Feb 3, 2012