กระชากหน้ากาก “เจ้ามือ” ในตลาดหุ้น มี 5 พฤติกรรมปั่น หลอกแมงเม่าเข้าปิ้ง เผยวิธีดู Bid-Offer ที่จะได้รู้ทัน “เจ้ามือ” เอกยุทธเตือนรายย่อยเล่นหุ้น อย่าโลภ-อย่าเป็นเสือหวน
นายเอกยุทธ อัญชันบุตร ประธานบริหารเครือโอเรียนเต็ล มาร์ท กรุ๊ป ประเทศอังกฤษ เปิดเผยว่า อยากแนะนำวิธีในการพิจารณาดู Bid-Offer (ฝั่งซ้าย-ฝั่งขวา) ให้กับนักลงทุนรายย่อยว่า จะมองอย่างไรถึงจะรู้ว่า ราคาหุ้นจะวิ่งขึ้น-วิ่งลง ซึ่งข้อมูลทั้งหมด ขอยืนยันว่า ไม่ใช่สูตรสำเร็จตายตัว แต่เป็นเพียงมุมมองหนึ่งที่ศึกษาจากประสบการณ์ส่วนตัวที่คลุกคลีอยู่ในแวดวงตลาดหุ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทำให้เห็นภาพอะไรบางอย่างชัดเจนว่า ตลาดหุ้นแต่ละประเทศจะมีรูปแบบการเล่นที่ไม่เหมือนกัน
“โดยเฉพาะกับตลาดหุ้นในเมืองไทย ที่ต้องยอมรับกันว่า ทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ภายใต้การกำหนดเกมของ “เจ้ามือ” เป็นหลัก จึงจะขอวิเคราะห์จากตลาดเมืองไทยเป็นหลัก และนี่ก็ไม่ใช่ตำราที่จะนำไปใช้อ้างอิงใดๆ เป็นเพียงมุมมองของคนที่อยู่ในแวดวงตลาดหุ้น ที่ไม่อยากให้นักลงทุนรายย่อยทั้งหลายต้องตกเป็น “เหยื่อ” อันโอชะให้ “เจ้ามือ” ทั้งหลายกอบโกย...เฉพาะอย่างยิ่งกับ “เจ้ามือ” ที่อาศัยฐานอำนาจรัฐมาเป็นเกราะป้องกันให้ตัวเอง สร้างความร่ำรวยบนความทุกข์ระทมของคนอื่น”นายเอกยุทธกล่าว
สำหรับ 5 หลักการคร่าวๆ ที่ขอแนะนำให้นักลงทุนรายย่อยได้พึงสังเกตพฤติกรรมและวิธีการเล่นของ “เจ้ามือ” ว่าเป็นอย่างไร เนื่องจากหุ้นแต่ละตัวนั้น จะมีปัจจัยพื้นฐานและความน่าสนใจที่แตกต่างกัน จึงต้องมีรูปแบบการเล่นที่ไม่เหมือนกัน ดังนี้...คือ
1.พฤติกรรมย่ำราคา โดยสังเกตได้จาก Bid ด้านซ้าย จะหนามากๆ และมีปริมาณการซื้อ-ขายที่มาก ในระดับราคาที่ยืนอยู่นิ่งๆ นานๆ โดยแนะนำให้สังเกตดูเป็นรายชั่วโมง เพราะจะสามารถแยกรูปแบบการเล่นนี้ ออกได้เป็น 2 ลักษณะคือ
1.1 ย่ำราคาเพื่อเรียกร้องความสนใจ...จะเป็นการสร้าง Volume แบบหนามากๆ ตลอดเวลา โดยราคาไม่ได้พุ่งขึ้นตามไป ถือว่าเป็นการ “โชว์” ให้นักลงทุนได้เห็นว่า หุ้นตัวนั้นๆ มีแนวโน้มที่จะ “เล่น” กันในระยะเวลาอันใกล้นี้ เปรียบได้กับเป็นอีกรูปแบบที่ “เจ้ามือ” ทยอยเก็บของ เพราะหาก “เจ้ามือ” ซัดช่องขวาเข้าไปเมื่อไหร่ ราคาจะวิ่งขึ้นทันที
1.2 ย่ำราคาเพื่อทุบลง...เป็นการสร้าง Volume แบบหนาๆ เพื่อหลอกล่อให้นักลงทุนเข้ามาเล่น จากนั้นหากได้จังหวะ ก็จะยก Bid ทิ้งออกไป เพื่อตบราคาให้ร่วงลงมา หากนักลงทุนรายใด “ตกใจ” และ “เทขาย” ของออกมา ก็จะทำให้ “เจ้ามือ” เก็บของในราคาที่ถูกลงได้อีก
“พฤติกรรมย่ำราคานี้ ให้สังเกตดีๆ ว่า จะมี Volume หนาแน่นมาก 2-3 ช่องในด้านซ้าย (Bid) ซึ่งไม่ใช่สัญญาณที่ดีนัก”
2.พฤติกรรมสร้าง Volume มากๆ แบบผิดสังเกต โดยที่ราคาไม่ได้เปลี่ยนแปลงมากนัก อาจขึ้น-ลง แค่ 1-2 ช่อง...วิธีนี้ให้นักลงทุนรีบย้อนหลังกลับไปดู Volume การซื้อ-ขายอย่างต่ำ 1-2 เดือน เพราะหากดูประวัติย้อนหลังแล้วพบว่า Volume การซื้อ-ขายน้อยมาก หรือแทบจะไม่มีเลยนั้น แต่อยู่ๆ กลับมีขึ้นมาอย่างผิดสังเกต ถือว่า “เจ้ามือ” กำลังสร้าง Volume เพื่อเตรียมทำราคา วิธีการนี้หากนักลงทุนรายใด มีหุ้นตัวนั้นๆ อยู่ในมือก็ให้ท่องจำอยู่ในใจว่า “อย่าขาย” เด็ดขาด เพราะมีโอกาสสูงมากที่จะทำราคากันขึ้นไปเล่นในเร็ววัน
“พฤติกรรมสร้าง Volume หนักๆ เช่นนี้ โดยราคายังนิ่งๆ ทั้งที่แต่เดิม Volume ของหุ้นนั้นแทบจะมีน้อยมาก หรือไม่มีเลย ทำให้นักลงทุนบางคนอาจตื่นตระหนก แล้วรีบเทขายออกมา เพราะเห็นว่า หุ้นที่ตัวเองถืออยู่นี้ ราคาไม่ได้วิ่งมานาน จึงกลัวจะต้องถือยาวกว่านี้ เมื่อเทขายหุ้นออกมา ก็เข้าทาง “เจ้ามือ” ที่วางกลอุบายเอาไว้แล้ว และสามารถเก็บของได้เพิ่มขึ้นอีก”
3.พฤติกรรมลากไปติดดอย มีวิธีสังเกตคือ ฝั่ง Offer จะหนามาก ในขณะที่ Bid จะเบาบาง และมีราคาวิ่งขึ้นตลอด ถือว่าเป็นยุทธวิธีที่ “เจ้ามือ” วางกับดักล่อ โดยจะกินช่องขวา (Offer) ตลอด เมื่อมีคนแห่เข้ามาเล่นตามในช่องขวาเป็นจำนวนมาก ถึงจุดหนึ่งที่ “เจ้ามือ” จะออกของก็จะไล่ราคาร่วงลงมาได้ในทุกระดับ เพราะเจ้ามือสามารถออกของได้ทุกระดับราคาอยู่แล้ว โยนออกมาไม้ไหนก็มีแต่กำไร
“พฤติกรรมนี้ ให้นักลงทุนสังเกตให้ดีๆ ว่า หากมีการไล่ราคาในช่องขวา (Offer) ขึ้นไปกันหลายช่องและวิ่งขึ้นตลอด อย่าเข้าไปซื้อเด็ดขาด เพราะถ้าเข้าไปก็มีสิทธิติดยอดดอยกันได้ วิธีที่ดีที่สุดคือ รอให้มีการทุบราคาลงมาจนเห็นสีแดงนานๆ ก็อาจเข้าไปซื้อได้ แต่ต้องดูประวัติย้อนหลังของหุ้นตัวนั้นๆ ด้วยว่า น่าเล่นหรือไม่”
4.พฤติกรรมเจ้ามือใหญ่เล่นหุ้นปั่นตลอด ให้สังเกตว่า Volume ทั้งด้านซ้าย (Bid) และด้านขวา (Offer) จะหนามากๆ และตลอดเวลา อีกทั้งราคาจะมีการวิ่งขึ้น-ลง วันละ 10-20 ช่องตลอด ซึ่งรูปแบบการเล่นเช่นนี้ ขึ้นกับนักลงทุนเองว่า จะมีความเร็วในการ “เข้า-ออก” หรือไม่ เพราะราคาจะสวิงขึ้น-ลงตลอด แต่สิ่งหนึ่งที่ต้องสังเกตเป็นพิเศษคือ หากราคาไปหยุดนิ่งอยู่ที่ระดับไหนนานๆ ให้ตระหนักไว้เลยว่า มีสิทธิที่จะลากขึ้นไปไกล หรือทุบลงมาอย่างแรงได้ทั้งสองทาง จึงขึ้นกับความไวของตัวนักลงทุนเอง
“วิธีนี้ขึ้นกับตัวเจ้ามือแล้วว่า จะทำให้นักลงทุนติดยอดดอยกันในระดับราคาไหน เพราะเขาสามารถออกของได้ทุกระดับราคา จากนั้นเมื่อทุบร่วงลงมาก็จะเข้าไปช้อนซื้อเก็บไว้ จากนั้นก็จะนำกลับมาเล่นกันใหม่ หุ้นลักษณะนี้จะพบว่า มีการเล่นกันตลอดทั้งสัปดาห์ อาจมีหยุดบ้างก็ 1-2 วัน แต่ Volume ก็ยังมีให้เห็นอยู่”
5.พฤติกรรมเจ้ามือใหญ่เล่นหุ้นปั่นเป็นรอบ วิธีนี้จะเล่นกันสัปดาห์ละครั้ง หรือสองครั้ง จึงขอให้นักลงทุนต้องย้อนกลับไปดูประวัติย้อนหลังของหุ้นที่อยู่ในระดับต่ำสุดที่นิ่งนานๆ บวกกับการดูราคาที่วิ่งขึ้นไปสูงสุดว่าอยู่ที่เท่าไหร่ แล้วนำมาหารครึ่ง เพื่อดูราคาว่า ระดับไหนถึงจะซื้อได้ ตัวอย่างเช่น หากหุ้นตัวนั้น เคยอยู่ที่ระดับต่ำนิ่งๆ ประมาณ 4 บาท แต่มีการทำราคาไล่ขึ้นไปแตะสูงสุดที่ 12 บาท ดังนั้น ราคาที่เหมาะสมที่น่าจะซื้อได้จึงอยู่ที่ระดับ 8 บาทต่อหุ้น (12-4 = 8)
“พฤติกรรมการเล่นเป็นรอบนี้ นักลงทุนต้องพึงระวังว่า เจ้ามืออาจจะกลับมาเล่น หรือไม่เล่นเมื่อไหร่ก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นกับความน่าสนใจของหุ้นตัวๆ นั้นว่า เป็นที่สนใจของนักลงทุนหรือไม่”
นายเอกยุทธ กล่าวต่อว่า วิธีการทั้งหมดนี้...อยากบอกว่า เป็นเรื่องที่นักลงทุนต้องใช้เวลาในการศึกษาและติดตามอย่างใกล้ชิด ตนไม่สามารถยกตัวอย่างหุ้นเป็นรายตัวออกมาให้เห็นได้ เพราะเกรงจะมีข้อกฎหมายตามมาภายหลัง แต่เชื่อว่า หากนักลงทุนที่เล่นหุ้นกันอยู่ในตลาดหุ้นไทย คงรับทราบดีว่า หุ้นตัวไหน เป็นหุ้นที่เข้าข่ายใด ใน 5 พฤติกรรมข้างต้น เพื่อที่จะได้รู้ว่า ตัวเราเองจะเล่นแบบไหน และจะสังเกตวิธีการที่เจ้ามือเล่นกันได้อย่างไร แต่ที่สำคัญคือ นักลงทุนต้องพึงระลึกว่า “อย่าโลภ” ถ้าอยากเล่นหุ้นปั่น หากได้กำไรแค่ไหน จงนึกเสมอว่า...อย่าเป็น “เสือหวน” เด็ดขาด
“เชื่อว่า หากนักลงทุนเข้าใจในหลักการนี้แล้ว ต่อไป...บรรดา “เจ้ามือ” ทั้งหลายก็คงต้องมีวิวัฒนาการใหม่ๆ ออกมา เพื่อไม่ให้ “รายย่อย” ได้ตามทัน มิเช่นนั้น... “เจ้ามือ” เองก็คงไม่สามารถ “ล่อ” แมงเม่าให้เข้ามาในกองไฟได้อีก โดยเฉพาะกับ “เจ้ามือหน้าเหลี่ยม” และลูกน้องทั้งหลาย!!!”นายเอกยุทธกล่าวทิ้งท้าย
Source: ThaiInsider โดย...เอกยุทธ อัญชันบุตร
Idea Library: ถ่ายทอดความคิดและมุมมองผ่าน ชีวิตนักลงทุน ที่มีต่อตลาดทุน และ ชีวิตการทำงาน ในสังคมประเทศไทย..!
Friday, March 30, 2012
Thursday, March 22, 2012
ความมั่งคั่งของมนุษย์เงินเดือน
ถ้าถามคนทั่วไปว่า เขามีเงินหรือความมั่งคั่งแค่ไหน ผมเชื่อว่าคนส่วนใหญ่ต้องใช้เวลาคิด ไม่ใช่ว่าเขามีมากเสียจนนับไม่ไหว แต่เป็นเพราะว่าคนทั่วไปมักจะไม่ได้สนใจคำนวณ หรือติดตามว่าทรัพย์สมบัติของตนนับแล้วที่เท่าไร คนส่วนมากคงรู้ว่าเงินในบัญชีของตนเป็นเท่าไรในแต่ละช่วง แต่ทรัพย์สมบัติอย่างอื่นทั้งหมดเมื่อนำมารวมกันหักด้วยหนี้สิน ซึ่งจะทำให้ได้ค่าของความมั่งคั่งนั้น คนจำนวนมากไม่ได้คิดถึง
เรื่องของความมั่งคั่ง โดยเฉพาะของคนที่เป็นลูกจ้างกินเงินเดือนประจำที่เป็นกลุ่มคนชั้นกลางของไทยนั้น ผมคิดว่ามีคนศึกษาน้อยมาก ว่าที่จริง เรื่องที่เกี่ยวกับเงินๆทองๆของคนชั้นกลาง ซึ่งเติบโตขึ้นเรื่อยๆและมีความสำคัญต่อธุรกิจที่ขายของให้กับคนชั้นกลางนั้น เรายังมีความรู้น้อยมาก ผมเองไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ข้อมูลความมั่งคั่งของใครในอาชีพของตนเอง แต่บางครั้งก็อยากจะรู้เหมือนกันว่าเพื่อนที่มีพื้นฐานการเรียน การทำงาน และอาชีพคล้ายๆกัน หลังจากทำงานมากว่า 20 ปี บัดนี้มีทรัพย์สมบัติที่เกิดจากความมั่งคั่งเท่าไรแล้ว เหตุผลหนึ่งก็เพื่อจะได้เปรียบเทียบความมั่งคั่งของตนเอง เพื่อจะดูว่าเราทำได้ดีแค่ไหนทางการเงิน พูดง่ายๆก็คือ อยากจะมีดัชนีชี้วัดความมั่งคั่งเอาไว้เป็นมาตรฐานเปรียบเทียบ
การหาดัชนีวัดความมั่งคั่งของมนุษย์เงินเดือนนั้น ถ้าจะให้ถูกต้องก็คงต้องมีการออกสำรวจ สอบถามคนจำนวนมากเป็นเรื่องเป็นราว ผมเองยังไม่เห็นการศึกษาแบบนั้น แต่จากการคุยกับเพื่อนบ้าง จากการศึกษาและการคำนวณบนกระดาษโดยใช้สมมุติฐานบางอย่างผมก็ได้สมการซึ่งน่าจะนำมาใช้อ้างอิงได้อย่างหยาบๆว่า คนที่มีรายได้ประจำแต่ละคน หรือแต่ละครอบครัวควรมีความมั่งคั่งเท่าไร
สูตรของผมก็คือ ความมั่งคั่งของคนมีรายได้ประจำควรมีช่วงระหว่าง 0.1 x รายได้ต่อปี x อายุ ถึง 0.15 x รายได้ต่อปี x อายุ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณเป็นผู้บริหารระดับสูงของสถาบันการเงินมีเงินเดือนเดือนละ 200,000 บาท มีโบนัสปีละสองเดือน และคุณอายุ 50 ปี คุณควรจะมีความมั่งคั่งระหว่าง 0.1 x (200,000 x 14) x 50 หรือ 14 ล้านถึง 21 ล้านบาท
ถ้าข้อเท็จจริงก็คือ คุณมีทรัพย์สมบัติทั้งหมดหลังจากหักหนี้สินที่มีอยู่น้อยกว่า 14 ล้านบาท ผมคิดว่า คุณคงจะเป็นคนที่ ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย หรือไม่ก็คงจะมีภาระในการเลี้ยงดูลูกเมีย หรือสนับสนุนคนอื่นมากจนทำให้คุณมีความมั่งคั่งต่ำกว่าเพื่อนๆที่มีสถานะในระดับเดียวกัน
ตรงกันข้าม ถ้าคนมีความมั่งคั่งมากกว่า 21 ล้านบาท ผมคิดว่าคุณคงเป็นคนที่มัธยัส หรือมีภาระที่จะต้องใช้จ่ายเงินน้อย หรืออาจจะมีความสามารถในการหารายได้อื่น หรือประสบความสำเร็จจากการลงทุนในเงินที่มีอยู่
แน่นอนว่าคนที่มีภรรยาทำงานประจำด้วย และมีลูกน้อยคน โอกาสที่ความมั่งคั่งจะสูงกว่าครอบครัวที่สามีทำงานเพียงคนเดียว และมีลูกหลายคนก็คงจะมีมาก เพราะรายได้จะเป็นสองคนในขณะที่รายจ่ายกลับน้อยกว่า
สูตรความมั่งคั่งข้างต้นนั้นคงจะใช้ได้ดีสำหรับคนที่มีอายุเกิน 35 -40 ปีขึ้นไปแล้ว สำหรับคนที่อายุน้อยเพิ่งทำงานได้เพียงไม่กี่ปี สูตรนี้คงจะต้องปรับลดลงมา เหตุเพราะว่าคนที่อายุการทำงานน้อยโอกาสที่จะสะสมเงินจะยังมีน้อย และที่สำคัญไม่น้อยไปกว่ากันก็คือ เงินสะสมและนำไปลงทุนนั้นยังมีเวลาเติบโตน้อย หรือถ้าเป็นการลงทุนซื้อบ้านราคาก็ยังไม่ปรับตัวขึ้นมามากที่จะทำให้ความมั่งคั่งเพิ่มสูงขึ้น
นอกจากมีข้อจำกัดเรื่องอายุแล้ว สมการความมั่งคั่งดังกล่าวยังเป็นเรื่องที่คิดจากอดีตที่ผ่านมา ซึ่งภาวะเศรษฐกิจไทยเติบโตเร็วมาก และที่สำคัญผลตอบแทนจากการฝากเงินธนาคารอยู่ในระดับที่สูงมาก จนมนุษย์เงินเดือนไม่จำเป็นต้องบริหารเงินเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่เหมาะสม
ดังนั้น คนที่จะใช้ดัชนีชี้วัดความมั่งคั่งดังกล่าวในอนาคต เพื่อที่จะวัดผลงานของตนเองจะต้องตระหนักว่า การลงทุนในทรัพย์ที่เก็บออมไว้จะต้องมีการศึกษา และวางแผนเป็นอย่างดี โดยหลักการใหญ่ก็คือจะต้องพยายามให้ได้ผลตอบแทนประมาณ 10% ต่อปีโดยเฉลี่ยทุกปีของความมั่งคั่งทั้งหมด นอกจากนั้น จะต้องกระจายการถือครองทรัพย์สมบัติอย่างเหมาะสมทั้งที่เป็นที่ดิน บ้าน ตราสารการเงิน หุ้น เงินฝากธนาคาร และรวมถึงการกู้เงินถ้ามี
นับจากนี้ไปมนุษย์เงินเดือนที่หวังจะสร้างความมั่งคั่งให้กับตนเอง ในอนาคตจะต้องศึกษาเรื่องการเงินส่วนบุคคลอย่างจริงจัง ซึ่งรวมไปถึงการคิดคำนวณรายได้ และค่าใช้จ่ายอย่างเป็นระบบ โดยมีกฎเหล็กก็คือรายได้จะต้องมากกว่ารายจ่าย และเหลือเงินเก็บไม่น้อยกว่า 10% โดยที่วิธีเพิ่มรายได้ถ้าจำเป็นนั้นมีวิธีการมากมาย เช่นเดียวกับการตัดรายจ่ายต่างๆ ซึ่งก็ง่ายไม่แพ้กันถ้ามีความตั้งใจจริง
เรื่องสำคัญไม่น้อยไปกว่ารายได้และค่าใช้จ่ายก็คือ การลงทุน ซึ่งมนุษย์เงินเดือนยุคใหม่จะต้องเรียนรู้ เริ่มตั้งแต่การซื้อบ้าน ซึ่งในอดีตมักจะมองแต่เฉพาะความสามารถในการผ่อน และขึ้นอยู่กับความพึงพอใจ ผมคิดว่าจะต้องเปลี่ยนไปเป็น การพิจารณาในประเด็นของความเหมาะสมในแง่ของการลงทุนด้วย เพราะการซื้อบ้านที่ใหญ่เกินไปและลงทุนมากเกินสมควร ในที่สุดจะเป็นภาระและดึงให้ผลตอบแทนของทรัพย์สินรวมต่ำลง
การลงทุนที่สำคัญที่สุด สำหรับคนกินเงินเดือนในอนาคตก็คือเรื่องเกี่ยวกับหุ้น เพราะผมคิดว่าการฝากเงินในธนาคารนับจากนี้ไปคงให้ผลตอบแทนที่ต่ำไปอีกนานมาก คล้ายๆกับในประเทศอย่างญี่ปุ่น หรือเกาหลี ที่อัตราดอกเบี้ยต่ำเป็นสิบๆปี เพราะประเทศมีเงินเหลือเฟือ ดังนั้นการที่จะสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับเงินในอนาคต จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องลงทุนในหุ้น
การลงทุนในหุ้น ที่จะให้ผลตอบแทนที่เหมาะสมคืออย่างน้อยประมาณ 10 % ต่อปี ผมคิดว่ามีเพียงสองวิธีถ้าคุณไม่ใช่เซียนเล่นหุ้นจริงๆก็คือ การลงทุนในหน่วยลงทุนหุ้นที่มีอยู่มากมาย พยายามเลือกหน่วยลงทุนที่กระจายการลงทุนมากที่สุด อย่าลงในกองทุนที่ลงเฉพาะหุ้นบางประเภท เช่น หุ้นไฮเทค หุ้นพลังงาน หรือแม้แต่หุ้นปันผล เมื่อเลือกบริษัทที่ดีมีมาตราฐานแล้ว ก็ถือหน่วยลงทุนไว้ยาวนาน หรือตลอดไป
ถ้าต้องการผลตอบแทนที่ดีขึ้นจากการลงทุนในหุ้น คุณจะต้องศึกษาวิธีการลงทุนอย่างลึกซึ้ง และแน่นอนต้องเป็นการลงทุนแบบ Value Investment ที่จะช่วยลดความเสี่ยงจากการลงทุน จนคุณรู้สึกสบายใจที่จะลงทุนเอง และถือหุ้นไว้ยาวนานแทบจะตลอดชีวิต
ทำได้ดังที่ว่า ผมเชื่อว่า คุณจะเป็นมนุษย์เงินเดือนผู้มั่งคั่ง และมีทรัพย์สินเหนือกว่าดัชนีอย่างแน่นอน
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
คนไทยกับสตาร์บัคส์
เชื่อว่าผู้อ่านทุกท่านคงรู้จักร้านกาแฟสัญชาติอเมริกันยี่ห้อ “สตาร์บัคส์” กันเป็นอย่างดี บางท่านอาจเป็นแฟนอย่างเหนียวแน่น ขณะที่บางท่านอาจไม่ชื่นชอบสักเท่าไหร่ ซึ่งก็เป็นเรื่องนานาจิตตังของแต่ละคน แต่คงไม่มีใครปฏิเสธว่ากาแฟสตาร์บัคส์นั้นได้รับความนิยมไม่น้อยในประเทศไทย ร้านสตาร์บัคส์สาขาต่างๆ พลุกพล่านไปด้วยผู้คนเสมอ หลายครั้งที่เราเห็นคนต่อแถวยาวเหยียดเพื่อซื้อเครื่องดื่มสตาร์บัคส์ในวันที่จัดโปรโมชั่น
แล้วจริงๆ คนไทยบริโภคกาแฟสตาร์บัคส์มากหรือน้อยแค่ไหน?
การจะวัดว่าคนไทยบริโภคกาแฟสตาร์บัคส์มากหรือน้อยแค่ไหนในเชิงปริมาณนั้นทำได้ยาก (จะนับตามปริมาณหัวกาแฟเท่านั้น หรือปริมาณเครื่องดื่มกาแฟทั้งแก้ว แล้วเครื่องดื่มอื่นๆ เช่น ชา หรือ ช็อคโกแล็ต จะนับด้วยหรือไม่ ฯลฯ) ดังนั้นทางหนึ่งที่อาจทำได้คือการวัดขนาดของธุรกิจสตาร์บัคส์ในประเทศไทยเมื่อเทียบกับประเทศอื่น
จากข้อมูลผลประกอบการประจำปี 2011 ของสตาร์บัคส์สำนักงานใหญ่ในสหรัฐอเมริกา [1] ซึ่งนับข้อมูลจนถึงสิ้นปีงบประมาณในวันที่ 2 ตุลาคม 2011 พบว่า สตาร์บัคส์มีร้านกาแฟ (Starbucks Store) อยู่ทั่วโลกทั้งหมด 17,003 ร้าน แบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ ร้านที่สตาร์บัคส์บริหารงานเองทั้งหมด (Company-operated Stores) และร้านที่สตาร์บัคส์ออกใบอนุญาตให้พาร์ทเนอร์ในแต่ละประเทศบริหารงานแทน (Licensed Stores) โดยสัดส่วนจำนวนร้านทั้งหมดคิดเป็น 53% ต่อ 47% ตามลำดับ
ร้านที่สตาร์บัคส์บริหารงานเอง มีจำนวนทั้งสิ้น 9,031 ร้านกระจายอยู่ทั่วโลก ซึ่งแบ่งตามประเทศต่างๆ ได้ดังนี้
สหราชอาณาจักร607 ร้านจีน278 ร้านเยอรมนี150 ร้านไทย141 ร้านอื่นๆ314 ร้าน
สหรัฐอเมริกา | 6,705 ร้าน |
แคนาดา | 846 ร้าน |
สหราชอาณาจักร | 607 ร้าน |
จีน | 278 ร้าน |
เยอรมนี | 150 ร้าน |
ไทย | 141 ร้าน |
อื่นๆ | 314 ร้าน |
ร้านที่พาร์ทเนอร์บริหารงานแทน นับเฉพาะเฉพาะในเอเชีย มีทั้งสิ้น 2,334 ร้าน แยกตามประเทศได้ดังนี้
ญี่ปุ่น | 935 ร้าน |
เกาหลีใต้ | 367 ร้าน |
ไต้หวัน | 249 ร้าน |
จีน | 218 ร้าน |
ฟิลิปปินส์ | 183 ร้าน |
มาเลเซีย | 121 ร้าน |
ฮ่องกง | 117 ร้าน |
อินโดนิเซีย | 109 ร้าน |
นิวซีแลนด์ | 35 ร้าน |
ร้านที่สตาร์บัคส์บริหารงานเองนั้นมีความสำคัญต่อธุรกิจของสตาร์บัคส์มาก เนื่องจากรายได้ทั้งหมดทั่วโลกมาจากร้านที่บริหารเอง 82% ขณะที่ร้านแบบให้พาร์ทเนอร์บริหารแทนนั้นสร้างรายได้เพียง 9% และอีก 9% มาจากสินค้าอื่นๆ เช่น กาแฟสำเร็จรูป VIA ถ้วยกาแฟ หรือ ของที่ระลึกต่างๆ
จะเห็นว่าไทยมีจำนวนร้านสตาร์บัคส์ใกล้เคียงกับเยอรมนี มากกว่ามาเลเซีย ฮ่องกง อินโดนิเซีย และเป็นที่น่าสังเกตว่าหากไม่นับจีนซึ่งเป็นตลาดใหญ่พิเศษแล้ว ไทย คือประเทศในเอเชียเพียงประเทศเดียวที่มีชื่ออยู่ในกลุ่มร้านที่สตาร์บัคส์บริหารงานเอง ซึ่งแม้ประเทศเอเชียอื่นๆอาจมีร้านอยู่ในกลุ่มนี้บ้าง แต่คาดได้ว่ามีจำนวนน้อยจนถูกจัดรวมอยู่ในกลุ่ม “อื่นๆ” เท่านั้น ไม่ได้แยกออกมาเป็นหนึ่งประเทศโดดๆ อย่างไทย
ธุรกิจของสตาร์บัคส์นั้นประสบความสำเร็จอย่างมากในไทย และจากข้อมูลข้างต้นก็อาจนับได้ว่าสูงกว่าเพื่อนบ้านในเอเชียอย่างมีนัยยะสำคัญ ซึ่งดูจะสะท้อนลักษณะบางประการของสังคมไทยได้ดีในระดับหนึ่ง เช่น แนวนโยบายที่เปิดกว้างต่อธุรกิจต่างประเทศ หรือการเป็นสังคมที่เปิดกว้างต่อวัฒนธรรมหรือไลฟ์สไตล์แบบตะวันตก เพราะต้องไม่ลืมว่าไทยไม่ใช่ประเทศที่มีวัฒนธรรมกาแฟที่ฝังรากลึกมาตั้งแต่ในอดีตเหมือนประเทศในทวีปยุโรป หรือเพื่อนบ้านเราอย่าง เวียดนาม
ความสำเร็จของสตาร์บัคส์ในประเทศไทยนั้นย่อมมีทั้งข้อดีและข้อเสีย หลายคนอาจมองว่ามันเป็นกระแสฉาบฉวย ฟุ่มเฟือย และทำให้เงินไหลออกนอกประเทศ หลายคนอาจมองว่าเราเปิดกว้างในทางธุรกิจมากเกินไป (ในประเทศอื่น สตาร์บัคส์ทำได้แค่ออกใบอนุญาตแฟรนไชส์เท่านั้น แต่ในไทยสามารถดำเนินกิจการเองได้ทั้งหมด) ในทางกลับกัน หลายคนมองว่าสตาร์บัคส์ได้สร้างอุตสาหกรรมกาแฟสมัยใหม่ให้เกิดขึ้นในไทย สร้างงาน สร้างวัฒนธรรมกาแฟ สร้างเศรษฐกิจต่อเนื่องอีกมากมายตลอดหลายปีที่ผ่านมา
Source: http://www.whereisthailand.info/2012
http://investor.starbucks.com/phoenix.zhtml?c=99518&p=irol-reportsAnnual
Monday, March 12, 2012
Halo Effect ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
เวลาที่บริษัทกำลังรุ่ง ผลกำไรเติบโตติดต่อกันมาหลายปี เรามักจะคิดว่าบริษัทนั้นมีคุณสมบัติดีเยี่ยมในด้านต่าง ๆ อาจจะเริ่มตั้งแต่ความสามารถพิเศษของบริษัทที่คู่แข่งไม่สามารถทำหรือเลียนแบบได้ ผู้บริหารที่มีความสามารถเหนือกว่าธรรมดา ความได้เปรียบของบริษัทต่อคู่แข่งที่ยั่งยืน และกลยุทธ์ที่เหนือกว่าอีกหลาย ๆ อย่าง ทั้งหมดนั้น ที่จริงเราอาจจะไม่ได้คิดเอง แต่มาจากคำบอกเล่าที่ผู้บริหารของบริษัทที่ชี้แจงต่อนักลงทุนในโอกาสต่าง ๆ เราเชื่อ เพราะถ้าไม่ดีจริง “ยอดขายและกำไรจะโตอย่างนั้นได้อย่างไร?”
คุณไว Vi ) นักลงทุนหนุ่มไฟแรง ลงทุนมา 5 ปี ผลตอบแทนที่ทำได้โดยเฉลี่ยปีละไม่ต่ำกว่า 60-70% ทบต้น ทำให้พอร์ตหุ้นโตขึ้นกว่า 10 เท่า เขาบอกว่าวิธีที่จะทำกำไรจากตลาดหุ้นอย่างรวดเร็วได้นั้น คุณไม่สามารถที่จะลงทุนแบบซื้อแล้วเก็บไว้นาน ๆ เพราะนั่นจะทำให้ผลตอบแทนต่อปีมักจะทำได้อย่างมากก็แค่ปีละ 15-20% การที่จะทำกำไรได้แบบก้าวกระโดดนั้น เราจะต้องซื้อหุ้นของบริษัทที่กำลัง “โต” หรือผลการดำเนินงานกำลังอยู่ในช่วงขาขึ้นถ้าเป็นกิจการที่เป็นวัฏจักร ซื้อแล้วเมื่อผลการดำเนินงานประกาศออกมา หรือเริ่มมีคนสนใจเข้าเล่นทำให้ราคาหุ้นดีดตัวขึ้นมา เราก็จะต้องขายไป แล้วก็ไปหาหุ้นตัวใหม่ที่มีคุณสมบัติแบบนั้นอีก นอกจากเรื่องของตัวหุ้น คุณไวยังเปิดเผยกลยุทธ์ในการลงทุนต่าง ๆ อีกมากมายที่น่าประทับใจ นักลงทุนต่างเชื่อว่า สิ่งที่คุณไวพูดนั้น เป็นเรื่องที่ถูกต้อง คุณไวเป็น “เซียน” คนหนึ่ง ก็ถ้าไม่ใช่แล้ว “เขาจะทำกำไรจากหุ้นขนาดนั้นได้อย่างไร?”
ความจริงก็คือ บริษัทที่มีผลกำไรเติบโตติดต่อกันมาหลายปีนั้น ไม่ได้มีความสามารถพิเศษต่างจากคู่แข่ง ผู้บริหารก็ไม่ได้มีความสามารถเหนือกว่าธรรมดาแม้ว่าความสามารถในการอธิบายความสามารถของบริษัทจะสูงกว่าปกติ สิ่งที่ทำให้บริษัทมีกำไรดีผิดปกตินั้นอาจจะมาจากหลาย ๆ เรื่องที่ไม่มีใครรู้ แต่เรื่องหนึ่งที่อาจจะเป็นสาเหตุก็คือ บริษัทได้เข้าไปจับตลาดสินค้ากลุ่มหนึ่งที่ไม่มีใครสนใจเมื่อ 4-5 ปีก่อน ช่วงแรก ๆ ก็มีผลการดำเนินงานไม่ดีนัก แต่หลังจากนั้น ราคาวัตถุดิบก็ปรับตัวขึ้นติดต่อกันมา 3-4 ปี ทำให้ราคาสินค้าของบริษัทปรับตัวขึ้นไปด้วย โชคดีที่บริษัทต้องสต็อกวัตถุดิบนั้นไว้ค่อนข้างมากในการผลิตทำให้บริษัทมีกำไรจากสต็อกต่อเนื่องมาตลอด 3-4 ปีที่ผ่านมา และนี่อาจจะเป็นเหตุผลที่ทำให้ผลการดำเนินงานของบริษัทสวยหรูมาตลอดในช่วงที่ผ่านมาเร็ว ๆ นี้ อย่างไรก็ตาม เวลาจะอธิบายความสำเร็จนั้น ไม่มีใครบอกว่าเป็นเพราะเขา “โชคดี” ทุกอย่างต้องเกิดจาก “ฝีมือ” ล้วน ๆ เหนือสิ่งอื่นใด เวลาที่ทุกอย่างกำลังดี พูดอย่างไรก็ถูก พูดอย่างไรคนก็เชื่อ
เช่นเดียวกัน คุณไวสามารถทำกำไรได้สูงมากอย่างน่ามหัศจรรย์ แต่นั่นไม่ได้มาจากกลยุทธ์ที่ใช้แต่มาจากหลายสิ่งหลายอย่างรวมทั้งการที่ตลาดหุ้นวิ่งขึ้นเป็นกระทิงในช่วงที่ผ่านมา กลยุทธ์ของคุณไวที่ใช้นั้น อาจจะเหมาะสมกับสถานการณ์หลาย ๆ อย่างที่ไม่มีใครรู้แม้แต่ตัวคุณไว แต่คุณไวนั้นเชื่อว่าเป็นเรื่องของ “ฝีมือ” ล้วน ๆ และคุณไวเชื่อว่าการทำกำไรทบต้นปีละ 40-50% ด้วยวิธีและกลยุทธที่ใช้อยู่นั้นเป็นเรื่องที่ทำได้ไม่ยาก ว่าที่จริงเขาทำได้มากกว่านั้นและทำได้โดยเฉลี่ยติดต่อกันมา 5 ปีแล้ว และนี่เป็นกลยุทธ์ที่เหมาะสำหรับการลงทุนสำหรับคนหนุ่มสาวที่ยังมีพอร์ตไม่ใหญ่นัก อาจจะเป็นว่า ทำพอร์ตให้โตเป็นสักร้อยล้านบาทก่อนที่จะเริ่มปรับเปลี่ยนแนวการลงทุนให้ปลอดภัยมากขึ้น เขารู้ว่าวิธีที่เขาใช้อาจจะเป็นวิธีที่เสี่ยงเนื่องจากบางช่วงเขาก็เคย “ขาดทุนหนัก” อยู่เหมือนกัน อย่างไรก็ตาม ด้วยกลยุทธที่เหนือกว่า เขาก็ผ่านมันมาได้ เหนือสิ่งอื่นใด เวลาที่คุณทำกำไรได้มากมาย ลบสถิติแม้แต่ของ วอเร็น บัฟเฟตต์ ปีเตอร์ ลินช์ หรือ จอร์จ โซรอส คุณพูดอย่างไรก็ถูก พูดอย่างไรคนก็เชื่อ เพราะคุณกำลังมี “รัศมีที่เปล่งประกาย” หรือที่ในภาษาอังกฤษเรียกว่า “Halo Effect”
เฮโล เอฟเฟค นั้น ทำให้เราเรียนรู้ในสิ่งที่อาจจะไม่จริง เพราะตรรกะถูกทำให้บิดเบี้ยวจากผลที่เริดหรู แน่นอน ความสำเร็จนั้น โดยเฉพาะความสำเร็จในระยะยาว มักจะไม่ได้มาด้วยโชค แต่เหตุผลหรือกลยุทธที่ทำให้เกิดความสำเร็จนั้นอาจจะไม่ใช่อย่างที่เรารู้หรือถูกทำให้เชื่อ เหตุแห่งความสำเร็จมักจะถูกแสดงออกมาเพื่อให้ดูดีกับคนที่รับผิดชอบหรือบริษัท ดังนั้น การเรียนรู้ของเราจึงอาจจะผิด และถ้าเราทำอย่างที่เขาพูด เราก็อาจจะไม่ได้ผลลัพธ์อย่างที่เขาได้ เรื่องของเวลาและสถานการณ์ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ทำให้เราไม่ได้ผลอย่างที่เขาเคยทำได้แม้ว่าวิธีที่เขาพูดจะถูกต้อง และถ้าเป็นเรื่องหลังนี้ เขาซึ่งเป็นเซียน ก็อาจจะ “ตกม้าตาย” ในอนาคตแม้ว่าจะใช้กลยุทธเดิมที่เคยประสบความสำเร็จงดงามมาแล้วในอดีต
Halo Effect นั้น ไม่ได้มองเฉพาะด้านที่บริษัทหรือบุคคลกำลังรุ่งเรือง ในกรณีที่กิจการหรือบุคคลกำลังย่ำแย่ “รัศมีที่มัวหมอง” ก็ส่งผลให้เราหาเหตุผลที่ผิดมาอธิบายความย่ำแย่หรือความเลวร้ายที่เกิดขึ้นเช่นกัน เช่น บอกว่าผู้บริหารนั้นไม่มีฝีมือ กลยุทธที่ใช้นั้นผิดพลาดอย่างสิ้นเชิง วิธีการลงทุนที่ใช่นั้นผิด ไม่เหมาะกับสถานการณ์ และอื่น ๆ อีกมาก ทั้งที่ข้อเท็จจริงอาจจะเป็นว่า เขาทำถูก วิธีหรือกลยุทธ์ก็ใช้ได้ แต่อาจจะมีปัจจัยบางอย่างที่มีอิทธิพลรุนแรงทำให้ผลการดำเนินงานตกต่ำลง แต่ใครจะเชื่อ? “ถ้าคุณดีจริง กลยุทธถูกต้องจริง ผลการดำเนินงานจะเน่าขนาดนี้ได้อย่างไร?”
Value Investor ที่ดีจะต้องพยายามมองผ่าน “รัศมีทรงกลด” ที่มักสร้างภาพลวงตาเราให้หลงได้ วิธีง่าย ๆ ก็คือ ทุกครั้งที่ดูหรือฟังเรื่องราวต่าง ๆ ของบริษัทให้นึกดูว่ามันมีเฮโลอยู่หรือเปล่า นี่เป็นเรื่องสำคัญ เพราะนักลงทุนหลายคนชอบหาหุ้นโดยเริ่มจากการดูผลการดำเนินงานที่ปรากฎออกมาย้อนหลังหลายปี วิธีนี้เท่ากับว่าเราเริ่มจากการดูรัศมีทรงกลดแล้วไปหาเหตุผลที่ “ทำให้มันเป็นกิจการหรือหุ้นที่ดี” แบบนี้ก็มีโอกาสสูงที่เราจะ “ถูกแสง” เข้าไปแล้ว เราจะหาจุดอ่อนหรือข้อเสียของบริษัทได้ยาก ดังนั้น สำหรับผมแล้ว ผมมักจะเริ่มหาหุ้นจากสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ของบริษัทก่อน แล้วดูต่อไปที่กลยุทธ ผู้บริหารและคุณสมบัติด้านคุณภาพอื่น ๆ ก่อน สุดท้ายจึงไปดูที่ข้อมูลตัวเลขผลการดำเนินงานที่ควรจะต้องสอดรับกับความเห็นของผมที่มีอยู่ในใจ ด้วยวิธีนี้ “แสงเฮ้ากวง” จะทำอะไรเราได้ยากขึ้น ความเข้าใจของเราต่อตัวกิจการจะถูกต้องมากขึ้น และทำให้เราสามารถลงทุนได้อย่างปลอดภัยและได้ผลตอบแทนที่เหมาะสม
**********************
Source: Halo Effect ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร http://api.settrade.com/blog/nivate/2009/06/15/561
คุณไว Vi ) นักลงทุนหนุ่มไฟแรง ลงทุนมา 5 ปี ผลตอบแทนที่ทำได้โดยเฉลี่ยปีละไม่ต่ำกว่า 60-70% ทบต้น ทำให้พอร์ตหุ้นโตขึ้นกว่า 10 เท่า เขาบอกว่าวิธีที่จะทำกำไรจากตลาดหุ้นอย่างรวดเร็วได้นั้น คุณไม่สามารถที่จะลงทุนแบบซื้อแล้วเก็บไว้นาน ๆ เพราะนั่นจะทำให้ผลตอบแทนต่อปีมักจะทำได้อย่างมากก็แค่ปีละ 15-20% การที่จะทำกำไรได้แบบก้าวกระโดดนั้น เราจะต้องซื้อหุ้นของบริษัทที่กำลัง “โต” หรือผลการดำเนินงานกำลังอยู่ในช่วงขาขึ้นถ้าเป็นกิจการที่เป็นวัฏจักร ซื้อแล้วเมื่อผลการดำเนินงานประกาศออกมา หรือเริ่มมีคนสนใจเข้าเล่นทำให้ราคาหุ้นดีดตัวขึ้นมา เราก็จะต้องขายไป แล้วก็ไปหาหุ้นตัวใหม่ที่มีคุณสมบัติแบบนั้นอีก นอกจากเรื่องของตัวหุ้น คุณไวยังเปิดเผยกลยุทธ์ในการลงทุนต่าง ๆ อีกมากมายที่น่าประทับใจ นักลงทุนต่างเชื่อว่า สิ่งที่คุณไวพูดนั้น เป็นเรื่องที่ถูกต้อง คุณไวเป็น “เซียน” คนหนึ่ง ก็ถ้าไม่ใช่แล้ว “เขาจะทำกำไรจากหุ้นขนาดนั้นได้อย่างไร?”
ความจริงก็คือ บริษัทที่มีผลกำไรเติบโตติดต่อกันมาหลายปีนั้น ไม่ได้มีความสามารถพิเศษต่างจากคู่แข่ง ผู้บริหารก็ไม่ได้มีความสามารถเหนือกว่าธรรมดาแม้ว่าความสามารถในการอธิบายความสามารถของบริษัทจะสูงกว่าปกติ สิ่งที่ทำให้บริษัทมีกำไรดีผิดปกตินั้นอาจจะมาจากหลาย ๆ เรื่องที่ไม่มีใครรู้ แต่เรื่องหนึ่งที่อาจจะเป็นสาเหตุก็คือ บริษัทได้เข้าไปจับตลาดสินค้ากลุ่มหนึ่งที่ไม่มีใครสนใจเมื่อ 4-5 ปีก่อน ช่วงแรก ๆ ก็มีผลการดำเนินงานไม่ดีนัก แต่หลังจากนั้น ราคาวัตถุดิบก็ปรับตัวขึ้นติดต่อกันมา 3-4 ปี ทำให้ราคาสินค้าของบริษัทปรับตัวขึ้นไปด้วย โชคดีที่บริษัทต้องสต็อกวัตถุดิบนั้นไว้ค่อนข้างมากในการผลิตทำให้บริษัทมีกำไรจากสต็อกต่อเนื่องมาตลอด 3-4 ปีที่ผ่านมา และนี่อาจจะเป็นเหตุผลที่ทำให้ผลการดำเนินงานของบริษัทสวยหรูมาตลอดในช่วงที่ผ่านมาเร็ว ๆ นี้ อย่างไรก็ตาม เวลาจะอธิบายความสำเร็จนั้น ไม่มีใครบอกว่าเป็นเพราะเขา “โชคดี” ทุกอย่างต้องเกิดจาก “ฝีมือ” ล้วน ๆ เหนือสิ่งอื่นใด เวลาที่ทุกอย่างกำลังดี พูดอย่างไรก็ถูก พูดอย่างไรคนก็เชื่อ
เช่นเดียวกัน คุณไวสามารถทำกำไรได้สูงมากอย่างน่ามหัศจรรย์ แต่นั่นไม่ได้มาจากกลยุทธ์ที่ใช้แต่มาจากหลายสิ่งหลายอย่างรวมทั้งการที่ตลาดหุ้นวิ่งขึ้นเป็นกระทิงในช่วงที่ผ่านมา กลยุทธ์ของคุณไวที่ใช้นั้น อาจจะเหมาะสมกับสถานการณ์หลาย ๆ อย่างที่ไม่มีใครรู้แม้แต่ตัวคุณไว แต่คุณไวนั้นเชื่อว่าเป็นเรื่องของ “ฝีมือ” ล้วน ๆ และคุณไวเชื่อว่าการทำกำไรทบต้นปีละ 40-50% ด้วยวิธีและกลยุทธที่ใช้อยู่นั้นเป็นเรื่องที่ทำได้ไม่ยาก ว่าที่จริงเขาทำได้มากกว่านั้นและทำได้โดยเฉลี่ยติดต่อกันมา 5 ปีแล้ว และนี่เป็นกลยุทธ์ที่เหมาะสำหรับการลงทุนสำหรับคนหนุ่มสาวที่ยังมีพอร์ตไม่ใหญ่นัก อาจจะเป็นว่า ทำพอร์ตให้โตเป็นสักร้อยล้านบาทก่อนที่จะเริ่มปรับเปลี่ยนแนวการลงทุนให้ปลอดภัยมากขึ้น เขารู้ว่าวิธีที่เขาใช้อาจจะเป็นวิธีที่เสี่ยงเนื่องจากบางช่วงเขาก็เคย “ขาดทุนหนัก” อยู่เหมือนกัน อย่างไรก็ตาม ด้วยกลยุทธที่เหนือกว่า เขาก็ผ่านมันมาได้ เหนือสิ่งอื่นใด เวลาที่คุณทำกำไรได้มากมาย ลบสถิติแม้แต่ของ วอเร็น บัฟเฟตต์ ปีเตอร์ ลินช์ หรือ จอร์จ โซรอส คุณพูดอย่างไรก็ถูก พูดอย่างไรคนก็เชื่อ เพราะคุณกำลังมี “รัศมีที่เปล่งประกาย” หรือที่ในภาษาอังกฤษเรียกว่า “Halo Effect”
เฮโล เอฟเฟค นั้น ทำให้เราเรียนรู้ในสิ่งที่อาจจะไม่จริง เพราะตรรกะถูกทำให้บิดเบี้ยวจากผลที่เริดหรู แน่นอน ความสำเร็จนั้น โดยเฉพาะความสำเร็จในระยะยาว มักจะไม่ได้มาด้วยโชค แต่เหตุผลหรือกลยุทธที่ทำให้เกิดความสำเร็จนั้นอาจจะไม่ใช่อย่างที่เรารู้หรือถูกทำให้เชื่อ เหตุแห่งความสำเร็จมักจะถูกแสดงออกมาเพื่อให้ดูดีกับคนที่รับผิดชอบหรือบริษัท ดังนั้น การเรียนรู้ของเราจึงอาจจะผิด และถ้าเราทำอย่างที่เขาพูด เราก็อาจจะไม่ได้ผลลัพธ์อย่างที่เขาได้ เรื่องของเวลาและสถานการณ์ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ทำให้เราไม่ได้ผลอย่างที่เขาเคยทำได้แม้ว่าวิธีที่เขาพูดจะถูกต้อง และถ้าเป็นเรื่องหลังนี้ เขาซึ่งเป็นเซียน ก็อาจจะ “ตกม้าตาย” ในอนาคตแม้ว่าจะใช้กลยุทธเดิมที่เคยประสบความสำเร็จงดงามมาแล้วในอดีต
Halo Effect นั้น ไม่ได้มองเฉพาะด้านที่บริษัทหรือบุคคลกำลังรุ่งเรือง ในกรณีที่กิจการหรือบุคคลกำลังย่ำแย่ “รัศมีที่มัวหมอง” ก็ส่งผลให้เราหาเหตุผลที่ผิดมาอธิบายความย่ำแย่หรือความเลวร้ายที่เกิดขึ้นเช่นกัน เช่น บอกว่าผู้บริหารนั้นไม่มีฝีมือ กลยุทธที่ใช้นั้นผิดพลาดอย่างสิ้นเชิง วิธีการลงทุนที่ใช่นั้นผิด ไม่เหมาะกับสถานการณ์ และอื่น ๆ อีกมาก ทั้งที่ข้อเท็จจริงอาจจะเป็นว่า เขาทำถูก วิธีหรือกลยุทธ์ก็ใช้ได้ แต่อาจจะมีปัจจัยบางอย่างที่มีอิทธิพลรุนแรงทำให้ผลการดำเนินงานตกต่ำลง แต่ใครจะเชื่อ? “ถ้าคุณดีจริง กลยุทธถูกต้องจริง ผลการดำเนินงานจะเน่าขนาดนี้ได้อย่างไร?”
Value Investor ที่ดีจะต้องพยายามมองผ่าน “รัศมีทรงกลด” ที่มักสร้างภาพลวงตาเราให้หลงได้ วิธีง่าย ๆ ก็คือ ทุกครั้งที่ดูหรือฟังเรื่องราวต่าง ๆ ของบริษัทให้นึกดูว่ามันมีเฮโลอยู่หรือเปล่า นี่เป็นเรื่องสำคัญ เพราะนักลงทุนหลายคนชอบหาหุ้นโดยเริ่มจากการดูผลการดำเนินงานที่ปรากฎออกมาย้อนหลังหลายปี วิธีนี้เท่ากับว่าเราเริ่มจากการดูรัศมีทรงกลดแล้วไปหาเหตุผลที่ “ทำให้มันเป็นกิจการหรือหุ้นที่ดี” แบบนี้ก็มีโอกาสสูงที่เราจะ “ถูกแสง” เข้าไปแล้ว เราจะหาจุดอ่อนหรือข้อเสียของบริษัทได้ยาก ดังนั้น สำหรับผมแล้ว ผมมักจะเริ่มหาหุ้นจากสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ของบริษัทก่อน แล้วดูต่อไปที่กลยุทธ ผู้บริหารและคุณสมบัติด้านคุณภาพอื่น ๆ ก่อน สุดท้ายจึงไปดูที่ข้อมูลตัวเลขผลการดำเนินงานที่ควรจะต้องสอดรับกับความเห็นของผมที่มีอยู่ในใจ ด้วยวิธีนี้ “แสงเฮ้ากวง” จะทำอะไรเราได้ยากขึ้น ความเข้าใจของเราต่อตัวกิจการจะถูกต้องมากขึ้น และทำให้เราสามารถลงทุนได้อย่างปลอดภัยและได้ผลตอบแทนที่เหมาะสม
**********************
Source: Halo Effect ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร http://api.settrade.com/blog/nivate/2009/06/15/561
ระบบนิเวศ"หัวใจแห่งความสำเร็จของแอปเปิล
อะไรทำให้ “แอปเปิล” ประสบความสำเร็จอย่างถล่มทลาย และอะไรทำให้แบรนด์ดังเจ้าของสุดยอดนวัตกรรมเพลี่ยงพล้ำ
ความแตกต่างไม่ใช่แค่สินค้าสุดเจ๋ง แต่เคล็บลับอยู่ที่ “ระบบนิเวศ” ที่เอื้อให้ “นวัตกรรม” เหล่านั้นอยู่ยงคงกระพัน และต่อยอดธุรกิจได้ไม่สิ้นสุด“ฟอร์บส” หยิบยกตัวอย่างของ “มิชลิน” ผู้ผลิตยางรถยนต์ชั้นนำของโลก ที่ปฏิวัติวงการขับขี่ในยุค 1990 ด้วยยางรถยนต์รุ่นใหม่ ซึ่งมีระบบเซ็นเซอร์ และสามารถวิ่งได้ปกติเป็นระยะทาง 125 ไมล์ หลังจากเกิดอาการยางรั่ว ซึ่งเทคโนโลยีล่าสุด ช่วยให้ลูกค้าขับขี่ได้สะดวกและปลอดภัยมากขึ้น รวมถึงน่าจะทำเงินได้เป็นกอบเป็นกำ
มิชลินจับมือกับ “กู๊ดเยียร์” บริษัทยางอีกราย รวมทั้ง “เมอร์เซเดส” และรถยนต์แบรนด์อื่นๆ อาทิเช่น ออดี้ ฮอนด้า เพื่อผลักดันยางรุ่นใหม่ จนกระทั่งปี 2550 ยางรุ่นนี้ ก็มีอันล้มหายตายจากไป เพราะมิชลินจำเป็นต้องละทิ้งนวัตกรรมดังกล่าว
ทำไมมิชลินต้องทำเช่นนั้น สาเหตุเป็นเพราะบริษัท ไม่ได้คำนึงถึงระบบนิเวศทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับยางที่ตัวเองผลิต บริษัทมองข้ามอู่ซ่อมรถ ที่พลอยได้รับผลพวงจากความไฮเทคของยางรุ่นดังกล่าว เพราะอู่ซ่อมรถจำเป็นต้องเปลี่ยนมาใช้อุปกรณ์ใหม่ ที่มีราคาแพงขึ้น เพื่อจะซ่อมยางขั้นเทพของมิชลิน ขณะที่เจ้าของอู่ ไม่อยากควักเงินไปกับเรื่องนี้
กรณีของมิชลิน เป็นตัวอย่างจากหนังสือ “เดอะ ไวด์ เลนส์: อะ นิว สเตรติจี้ ฟอร์ อินโนเวชั่น” ของ “รอน แอดเนอร์” อาจารย์ด้านกลยุทธ์ธุรกิจของทัค บิสซิเนส สกูล มหาวิทยาลัยดาร์ตมัธ ที่สะท้อนว่า ความยิ่งใหญ่ของนวัตกรรมเพียงอย่างเดียวยังไม่พอ เพราะเราเป็นผู้เล่นรายหนึ่ง ในระบบนิเวศที่กว้างใหญ่ ดังนั้น จำเป็นต้องมองเห็น และเข้าใจระบบนิเวศทางธุรกิจ เพื่อจะบริหารจัดการนวัตกรรมได้
แต่นี่ไม่ใช่สิ่งที่ทำได้ง่ายๆ แม้แต่แบรนด์ใหญ่ๆ ก็อาจมองไม่เห็นสิ่งเหล่านี้ เช่นกรณีของ “ฮอลลีวูด” ที่นำเสนอภาพยนตร์ดิจิทัลในโรงหนังมาตั้งแต่ปี 2542 ทว่ากระทั่ง 7 ปีต่อมา อัตราของโรงหนังที่ฉายจอดิจิทัลมีเพียง 5% สาเหตุเป็นเพราะต้นทุนของโรงหนังที่เพิ่มขึ้น จากค่าฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์อีกราว 70,000 ดอลลาร์ จนกระทั่งฮอลลีวูด ยอมควักเงินอุดหนุน จึงทำให้เทคโนโลยีนี้แพร่หลาย
หรืออย่างกรณีของ “โซนี่” ยักษ์อิเล็กทรอนิกส์จากญี่ปุ่น ที่ล้มเหลวกับการเรื่องระบบนิเวศ เมื่อครั้งเปิดตัวเครื่องอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรืออี-รีดเดอร์ ในปี 2549 เพราะไม่ได้ใส่ใจกับลิขสิทธิ์ดิจิทัล ซึ่งเป็นความท้าทาย ทั้งในแง่เศรษฐกิจและกฎหมาย ทำให้เกิดแรงต้านจากบรรดานักเขียน และสำนักพิมพ์ รวมทั้งไม่รู้วิธีสร้างร้านค้าออนไลน์ให้ได้ผล
ขณะที่ ปีต่อมา ค่ายอะเมซอนเจ้าของ “คินเดิล” สามารถแก้ปมเรื่องเหล่านี้ จนได้รับการยอมรับ ทั้งจากสำนักพิมพ์และผู้อ่าน โดยไม่ใช่แค่อี-รีดเดอร์สุดเจ๋ง แต่ยังรวมถึงแพลตฟอร์ม ที่สามารถโหลดเนื้อหาได้จากร้านออนไลน์ “อะเมซอนดอทคอม”
น่าสนใจว่า บริษัทที่สร้างความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ จากจุดแข็งเรื่องระบบนิเวศทางธุรกิจ คือ “แอปเปิล” ยักษ์ไอทีเจ้าของไอพอด ไอโฟน และไอแพด
ความแตกต่างไม่ใช่แค่สินค้าสุดเจ๋ง แต่เคล็บลับอยู่ที่ “ระบบนิเวศ” ที่เอื้อให้ “นวัตกรรม” เหล่านั้นอยู่ยงคงกระพัน และต่อยอดธุรกิจได้ไม่สิ้นสุด“ฟอร์บส” หยิบยกตัวอย่างของ “มิชลิน” ผู้ผลิตยางรถยนต์ชั้นนำของโลก ที่ปฏิวัติวงการขับขี่ในยุค 1990 ด้วยยางรถยนต์รุ่นใหม่ ซึ่งมีระบบเซ็นเซอร์ และสามารถวิ่งได้ปกติเป็นระยะทาง 125 ไมล์ หลังจากเกิดอาการยางรั่ว ซึ่งเทคโนโลยีล่าสุด ช่วยให้ลูกค้าขับขี่ได้สะดวกและปลอดภัยมากขึ้น รวมถึงน่าจะทำเงินได้เป็นกอบเป็นกำ
มิชลินจับมือกับ “กู๊ดเยียร์” บริษัทยางอีกราย รวมทั้ง “เมอร์เซเดส” และรถยนต์แบรนด์อื่นๆ อาทิเช่น ออดี้ ฮอนด้า เพื่อผลักดันยางรุ่นใหม่ จนกระทั่งปี 2550 ยางรุ่นนี้ ก็มีอันล้มหายตายจากไป เพราะมิชลินจำเป็นต้องละทิ้งนวัตกรรมดังกล่าว
ทำไมมิชลินต้องทำเช่นนั้น สาเหตุเป็นเพราะบริษัท ไม่ได้คำนึงถึงระบบนิเวศทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับยางที่ตัวเองผลิต บริษัทมองข้ามอู่ซ่อมรถ ที่พลอยได้รับผลพวงจากความไฮเทคของยางรุ่นดังกล่าว เพราะอู่ซ่อมรถจำเป็นต้องเปลี่ยนมาใช้อุปกรณ์ใหม่ ที่มีราคาแพงขึ้น เพื่อจะซ่อมยางขั้นเทพของมิชลิน ขณะที่เจ้าของอู่ ไม่อยากควักเงินไปกับเรื่องนี้
กรณีของมิชลิน เป็นตัวอย่างจากหนังสือ “เดอะ ไวด์ เลนส์: อะ นิว สเตรติจี้ ฟอร์ อินโนเวชั่น” ของ “รอน แอดเนอร์” อาจารย์ด้านกลยุทธ์ธุรกิจของทัค บิสซิเนส สกูล มหาวิทยาลัยดาร์ตมัธ ที่สะท้อนว่า ความยิ่งใหญ่ของนวัตกรรมเพียงอย่างเดียวยังไม่พอ เพราะเราเป็นผู้เล่นรายหนึ่ง ในระบบนิเวศที่กว้างใหญ่ ดังนั้น จำเป็นต้องมองเห็น และเข้าใจระบบนิเวศทางธุรกิจ เพื่อจะบริหารจัดการนวัตกรรมได้
แต่นี่ไม่ใช่สิ่งที่ทำได้ง่ายๆ แม้แต่แบรนด์ใหญ่ๆ ก็อาจมองไม่เห็นสิ่งเหล่านี้ เช่นกรณีของ “ฮอลลีวูด” ที่นำเสนอภาพยนตร์ดิจิทัลในโรงหนังมาตั้งแต่ปี 2542 ทว่ากระทั่ง 7 ปีต่อมา อัตราของโรงหนังที่ฉายจอดิจิทัลมีเพียง 5% สาเหตุเป็นเพราะต้นทุนของโรงหนังที่เพิ่มขึ้น จากค่าฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์อีกราว 70,000 ดอลลาร์ จนกระทั่งฮอลลีวูด ยอมควักเงินอุดหนุน จึงทำให้เทคโนโลยีนี้แพร่หลาย
หรืออย่างกรณีของ “โซนี่” ยักษ์อิเล็กทรอนิกส์จากญี่ปุ่น ที่ล้มเหลวกับการเรื่องระบบนิเวศ เมื่อครั้งเปิดตัวเครื่องอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรืออี-รีดเดอร์ ในปี 2549 เพราะไม่ได้ใส่ใจกับลิขสิทธิ์ดิจิทัล ซึ่งเป็นความท้าทาย ทั้งในแง่เศรษฐกิจและกฎหมาย ทำให้เกิดแรงต้านจากบรรดานักเขียน และสำนักพิมพ์ รวมทั้งไม่รู้วิธีสร้างร้านค้าออนไลน์ให้ได้ผล
ขณะที่ ปีต่อมา ค่ายอะเมซอนเจ้าของ “คินเดิล” สามารถแก้ปมเรื่องเหล่านี้ จนได้รับการยอมรับ ทั้งจากสำนักพิมพ์และผู้อ่าน โดยไม่ใช่แค่อี-รีดเดอร์สุดเจ๋ง แต่ยังรวมถึงแพลตฟอร์ม ที่สามารถโหลดเนื้อหาได้จากร้านออนไลน์ “อะเมซอนดอทคอม”
น่าสนใจว่า บริษัทที่สร้างความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ จากจุดแข็งเรื่องระบบนิเวศทางธุรกิจ คือ “แอปเปิล” ยักษ์ไอทีเจ้าของไอพอด ไอโฟน และไอแพด
แอดเนอร์ อธิบายว่า การที่แอปเปิลเปิดตัว “ไอพอด” ช้ากว่าเครื่องเล่นเอ็มพี 3 หลากหลายแบรนด์มีที่มาที่ไป ไม่ใช่แค่ต้องการให้ไอพอดใช้งานง่ายและสะดวกสำหรับผู้บริโภคมากที่สุด หากแต่ “สตีฟ จ็อบส์” ผู้ล่วงลับ รอจนกระทั่งเทคโนโลยีบรอดแบนด์ มีความพร้อมมากพอ สำหรับการถ่ายโอนข้อมูลเพลง ซึ่งเป็นสิ่งที่แอปเปิล ต้องพึ่งพาอาศัยเพื่อให้ไอพอดเติบโตต่อไป
พร้อมกันนี้ แอปเปิล ยังสร้างระบบนิเวศของตัวเอง ด้วยการเปิดตัวร้านเพลงออนไลน์ “ไอจูนส์ มิวสิก สโตร์” และขยายระบบนิเวศออกไป จากการเปิดกว้างให้อุปกรณ์ดังกล่าว ใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์พีซีได้ นอกเหนือจากเครื่องแมค
ขณะที่ กุญแจสู่ความสำเร็จครั้งต่อมาของสมาร์ทโฟนยอดนิยม “ไอโฟน” ก็ไม่ได้อยู่ที่ดีไซน์สวยงาม หรือการใช้งานร่วมกับไอพอดและไอจูนส์ได้เท่านั้น แต่เป็นการผนวกเอาระบบนิเวศทั้งหมดของไอพอดมาใส่ไว้ในมือถือรุ่นนี้
ยิ่งไปกว่านั้น แอปเปิล ยังเปลี่ยนรูปแบบการขายมือถือผ่านผู้ให้บริการไปยังผู้บริโภคไปจากเดิม นั่นคือระบบนิเวศอันทรงพลัง ที่แอปเปิลคิดค้นสำหรับไอโฟน ที่เปลี่ยนให้บริษัทผู้ให้บริการมือถือยอมร่วมมือ เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ ที่คนพูดถึงมากที่สุดผ่านรูปแบบเฉพาะ โดยให้ผู้บริโภค ได้รับข้อเสนอเฉพาะจากการทำสัญญาใช้งานกับค่ายเอทีแอนด์ทีนาน 2 ปี มูลค่า 2,000 ดอลลาร์ หรือคิดเป็นค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 83 ดอลลาร์ต่อเดือน เช่นเดียวกับเมื่อเปิดตัว “ไอแพด” แอปเปิล ก็ทำให้แทบเล็ตรุ่นนี้ประสบความสำเร็จได้ไม่ยาก
เมื่อดูพัฒนาการของไอพอด ที่เริ่มต้นจากดีไซน์เรียบหรูดูดี ซอฟต์แวร์ขั้นเทพ เมื่อประกอบกับบรอดแบนด์ทรงศักยภาพ คอนเซ็ปต์ร้านไอจูนส์ และการต่อยอดไปยังเครื่องพีซีนอกตระกูลแมค จนกระทั่งระบบนิเวศมีความพร้อมมากพอ ค่อยเปิดตัวไอโฟน และไอแพด ทั้งหมดนี้สะท้อนว่า ความสำเร็จของแอปเปิลมาจากระบบนิเวศมากกว่าสิ่งอื่นใด
พร้อมกันนี้ แอปเปิล ยังสร้างระบบนิเวศของตัวเอง ด้วยการเปิดตัวร้านเพลงออนไลน์ “ไอจูนส์ มิวสิก สโตร์” และขยายระบบนิเวศออกไป จากการเปิดกว้างให้อุปกรณ์ดังกล่าว ใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์พีซีได้ นอกเหนือจากเครื่องแมค
ขณะที่ กุญแจสู่ความสำเร็จครั้งต่อมาของสมาร์ทโฟนยอดนิยม “ไอโฟน” ก็ไม่ได้อยู่ที่ดีไซน์สวยงาม หรือการใช้งานร่วมกับไอพอดและไอจูนส์ได้เท่านั้น แต่เป็นการผนวกเอาระบบนิเวศทั้งหมดของไอพอดมาใส่ไว้ในมือถือรุ่นนี้
ยิ่งไปกว่านั้น แอปเปิล ยังเปลี่ยนรูปแบบการขายมือถือผ่านผู้ให้บริการไปยังผู้บริโภคไปจากเดิม นั่นคือระบบนิเวศอันทรงพลัง ที่แอปเปิลคิดค้นสำหรับไอโฟน ที่เปลี่ยนให้บริษัทผู้ให้บริการมือถือยอมร่วมมือ เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ ที่คนพูดถึงมากที่สุดผ่านรูปแบบเฉพาะ โดยให้ผู้บริโภค ได้รับข้อเสนอเฉพาะจากการทำสัญญาใช้งานกับค่ายเอทีแอนด์ทีนาน 2 ปี มูลค่า 2,000 ดอลลาร์ หรือคิดเป็นค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 83 ดอลลาร์ต่อเดือน เช่นเดียวกับเมื่อเปิดตัว “ไอแพด” แอปเปิล ก็ทำให้แทบเล็ตรุ่นนี้ประสบความสำเร็จได้ไม่ยาก
เมื่อดูพัฒนาการของไอพอด ที่เริ่มต้นจากดีไซน์เรียบหรูดูดี ซอฟต์แวร์ขั้นเทพ เมื่อประกอบกับบรอดแบนด์ทรงศักยภาพ คอนเซ็ปต์ร้านไอจูนส์ และการต่อยอดไปยังเครื่องพีซีนอกตระกูลแมค จนกระทั่งระบบนิเวศมีความพร้อมมากพอ ค่อยเปิดตัวไอโฟน และไอแพด ทั้งหมดนี้สะท้อนว่า ความสำเร็จของแอปเปิลมาจากระบบนิเวศมากกว่าสิ่งอื่นใด
Source: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
Subscribe to:
Posts (Atom)