Friday, September 30, 2011

ข่าวร้าย โดย ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

ผมไม่ทราบว่ามีใครเคยทำวิจัยหรือไม่ ว่าข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์โดยเฉพาะแนวธุรกิจมีข่าวร้ายมากกว่าข่าวดีมากน้อยแค่ไหน แต่ผมพนันได้ว่า ข่าวร้ายมีมากกว่าหลายเท่า

คำว่า ข่าวร้ายนั้น ในความหมายของผมก็คือ ข่าวที่คนอ่านแล้วคิดว่ามันจะมีผลที่ทำให้ภาวะเศรษฐกิจถดถอยลง กำไรของธุรกิจต่างๆลดลง ตลาดหลักทรัพย์ตกต่ำลง และหุ้นบางตัวจะมีราคาลดลง ทำให้คนรู้สึกวิตกกังวล และอาจจะต้องทำอะไรบางอย่างเพื่อคลายความวิตกกังวลนั้น เช่น ลดการบริโภค หรือขายหุ้นทิ้ง

แต่ในความเป็นจริง ข่าวร้ายที่ปรากฏนั้นอาจจะไม่เป็นจริง หรือถ้าเป็นจริงก็อาจจะไม่มีผลต่อเศรษฐกิจ ต่อยอดขายหรือกำไรของกิจการต่างๆ ดังนั้น พื้นฐานของเศรษฐกิจและกิจการต่างๆอาจไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง แม้ว่าจิตใจของคนรับข่าวอาจเปลี่ยนและราคาหุ้นอาจปรับตัวลงเนื่องจากปฎิกริยาของคนอ่านที่บังเอิญซื้อขายหุ้นอยู่ในตลาดหลักทรัพย์

ลองมาดูสิครับว่ามันน่าเป็นอย่างนั้นไหม?

ก่อนหน้านี้เพียงปีสองปี เราวิตกกันว่าอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำติดดินจะทำให้เกิดภาวะเงินฝืด ราคาข้าวของไม่ขึ้นเลยเพราะเงินเฟ้อต่ำมาก เรากลัวว่าคนจะไม่ยอมใช้จ่ายเงินเพื่อการบริโภคและจะทำให้เกิดภาวะเงินฝืด ซึ่งจะกระทบกับภาวะเศรษฐกิจอย่างรุนแรง
เดี๋ยวนี้อัตราดอกเบี้ยกำลังเพิ่มขึ้น ราคาสินค้ากำลังเริ่มปรับตัวขึ้น ราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ เงินเฟ้อกำลังมา นี่เป็นข่าวร้ายที่น่าวิตกว่าจะมีผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจอย่างรุนแรง

ผมไม่รู้ว่าข่าวดอกเบี้ยลง หรือข่าวดอกเบี้ยขึ้นเป็นข่าวร้ายที่แท้จริงกันแน่ หรือทั้งสองข่าวต่างก็ไม่ใช่ข่าวร้ายทั้งคู่ รู้แต่ว่าคนอ่านข่าวโดยเฉพาะที่เป็นนักเล่นหุ้นจำนวนมากต่างก็วิตกกังวลทั้ง 2 เรื่อง เห็นได้จากการซื้อขายหุ้นมหาศาลในแต่ละวันโดยเฉพาะในวันที่มีข่าวพาดหัวตัวใหญ่และดัชนีหุ้นวิ่งขึ้นลงเหมือนลูกดิ่ง

ค่าเงินบาทเทียบกับเงินสกุลดอลลาร์ ก็เป็นสิ่งที่เข้าใจยากไม่แพ้กัน เพราะในช่วงเกิดวิกฤติใหม่ๆที่ค่าเงินบาทอ่อนมาก คนต่างก็วิตกกันว่าเราคงต้องล้มละลายกันทั้งประเทศ เพราะบริษัทต่างก็ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนมหาศาล นี่เป็นข่าวร้ายแน่นอนในช่วงนั้น แต่พอตอนหลัง ค่าเงินบาทแข็งขึ้นเรื่อยๆ คนก็เริ่มบ่นและเริ่มวิตกกันว่า ค่าเงินบาทที่แข็งเกินไปจะทำให้ธุรกิจไม่สามารถส่งออกสินค้าได้เนื่องจากสินค้าของเราจะแพงขึ้นเมื่อเทียบกับคู่แข่ง เพราะฉะนั้น ข่าวค่าเงินบาทก็สามารถเป็นข่าวร้ายได้ในทุกกรณี

บางช่วงที่ค่าเงินบาทนิ่งและอัตราดอกเบี้ยก็ไม่ขยับ เราก็มีข่าวร้ายเรื่องสงครามและการก่อการร้ายในต่างประเทศ ไล่ตั้งแต่สงครามในตะวันออกกลางซึ่งที่จริงเกิดขึ้นเกือบทุกวันอยู่แล้ว ไปจนถึงการถล่มตึกเวิร์ลเทรดเซ็นเตอร์ การโจมตีในบาหลี ยุโรป และรัสเซีย และสุดท้ายก็คือ การก่อการร้ายในภาคใต้ของเราเอง ซึ่งก็ยังไม่รู้ว่าจะพัฒนาไปอย่างไร แต่ก็เป็นความเสี่ยงที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้

แต่ถ้าถามว่า การก่อการร้ายกระทบอะไรกับเศรษฐกิจและตลาดหุ้น คำอธิบายอาจจะมีได้เป็นสิบๆหน้า แต่เกือบทั้งหมดเป็นการกระทบ ทางอ้อมที่ไม่รู้ว่าจะมีผลแค่ไหน แต่สำหรับธุรกิจการท่องเที่ยวและโรงแรมแล้วละก็ เขาบอกว่าน่าจะมีผลโดยตรง เพราะฉะนั้นหลีกเลี่ยงหุ้นเหล่านั้นจะดีกว่า แต่ผมก็ยังเห็นเครื่องบินมีผู้โดยสารเต็มแน่นกันทุกเที่ยว นักท่องเที่ยวก็ยังคงมากันตามปกติ แม้แต่บาหลีผมก็ได้ข่าวว่าคนกลับไปอย่างเดิมแล้ว ดูที่ผลการดำเนินงานของบริษัทที่เกี่ยวกับโรงแรมและการขนส่งก็ดูดีเป็นปกติ เพียงแต่หุ้นยังไม่ไปไหนเพราะคนอาจจะยังวิตกกับการก่อการร้ายอยู่

ข่าวร้ายที่เกี่ยวกับคนบางทีก็ยังพอคาดการณ์ได้บ้าง แต่เรื่องของธรรมชาตินั้นก็ทำให้คนช็อคได้ไม่แพ้กัน เริ่มตั้งแต่โรคซาร์เมื่อปีสองปีก่อนซึ่งช็อคคนทั้งโลก โดยเฉพาะคนที่ต้องเดินทางทำธุระหรือท่องเที่ยว คนต่างกลัวกันว่านี่อาจจะเป็นหายนะของมนุษย์ถ้าควบคุมไม่ได้ และก็จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างใหญ่หลวง และแน่นอน คนเล่นหุ้นก็ต้องทิ้งหุ้นก่อนเพื่อความปลอดภัย
เรื่องของโรคซาร์จบไป ก็ตามด้วยโรคไข้หวัดนก ซึ่งผลกระทบหรือเป็นข่าวร้ายน้อยกว่า แต่ก็กระทบโดยตรงกับผู้ผลิตไก่เต็มๆและก็แน่นอน หุ้นในกลุ่มนี้ก็ถูกเทขายเพื่อความปลอดภัย

น้ำมันแพง ดูเหมือนจะเป็นข่าวร้ายที่รุนแรงและอาจ ทำลายเศรษฐกิจโลกและโดยเฉพาะประเทศที่ต้องพึ่งพิงน้ำมันอย่างไทย เศรษฐกิจของประเทศจะถูกกระทบ ดุลการค้าอาจจะขาดดุล บริษัทที่ต้องใช้น้ำมันมาก เช่น ซีเมนต์ การขนส่ง หรือแม้แต่ธุรกิจเกี่ยวกับรถยนต์ที่ใช้น้ำมันในการขับเคลื่อนจะถูกกระทบอย่างหนัก โดยรวมแล้ว นี่เป็นความเสี่ยงที่ยิ่งใหญ่ เพราะฉะนั้นการถือหุ้นยาวในช่วงนี้เป็นเรื่องที่อันตรายมาก

ข่าวร้ายที่กระทบกับธุรกิจหรืออุตสาหกรรมเฉพาะอย่างนั้น ยิ่งมีมากจนนับไม่ถ้วน บางเรื่องก็เป็นจริง แต่ส่วนใหญ่แล้วก็เป็นเรื่องที่นักลงทุนปริวิตกกันเกินเหตุซึ่งเป็นผลจากแนวโน้มเล็กๆหรือ แฟชั่นที่เกิดขึ้นและมี นักอนาคตศาสตร์ช่วยรับรองว่าเป็นจริง

หลายปีก่อนที่วิดีโอกำลังเฟื่อง คนก็พูดกันว่าโรงภาพยนต์จะต้องเจ๊งกันหมดเพราะวิดีโอจะถูกกว่า สะดวกกว่า และมีประสิทธิภาพดีขึ้นเรื่อยๆจนไม่มีใครอยากเข้าโรงหนัง

หนังสือพิมพ์ นิตยสารเองก็จะต้องเจ๊ง เพราะว่าอินเตอร์เน็ทจะเข้ามาแทนที่ คนไม่ต้องเสียเงินซื้อหนังสือพิมพ์เพราะสามารถอ่านได้จากคอมพิวเตอร์

เช่นเดียวกัน ธุรกิจเพลงจะตกต่ำลงเพราะวัยรุ่นหรือคนซื้อเทปเดี๋ยวนี้สามารถดาวโหลดเพลงเฉพาะที่ตนเองชอบทางอินเตอร์เน็ท เพราะฉะนั้นใครจะซื้อซีดีเพลง

คนรุ่นใหม่ดูแลรักษาสุขภาพกันมาก และนี่เป็นแนวโน้มใหญ่ เพราะฉะนั้นธุรกิจเหล้า บุหรี่ และแม้แต่น้ำอัดลมจะค่อยๆหดตัวลง และธุรกิจอย่างชาเขียวและน้ำผลไม้จะรุ่งเรือง เออ แต่เรื่องชีวจิตที่เคยดังระเบิดคงไม่เหมาะกับคนส่วนใหญ่กระมัง จึงเงียบๆไป

ไม่ว่า ข่าวร้ายจะเป็นจริงหรือไม่ หรือจะมีผลหรือไม่มีผล แต่ ข่าวร้ายในอนาคตก็คงจะมีมากเหมือนเดิม ถ้าไม่มากขึ้น นักเล่นหุ้นเองก็จะยังคงวิตกกังวลกันทุกวัน และก็ซื้อและเทขายหุ้นตามข่าวอย่างไร้เหตุผลเหมือนเดิม

Value Investor ที่ดีนั้น ต้องวิเคราะห์ข่าวอย่างใจเย็น ส่วนใหญ่แล้ว ข่าวร้ายไม่ใช่เรื่องอันตรายที่จะต้องทำอะไร แต่มันคือโอกาสที่จะเก็บหุ้นดีที่มีราคาถูกลงมากเพราะเป็นข่าวร้ายที่ไม่ร้ายนักในระยะยาว

Know How & Know Who ยุคนี้อะไรสำคัญกว่า ??

สำหรับประด็นนี้ ส่วนตัวผมมองว่าไม่มีคำตอบไหนที่เป็น คำตอบที่ถูกต้องที่สุดเนื่องจากผมมองว่าเราควรต้องตั้งคำถามเพิ่มเติมว่า นิยามของ Know How & Know Who นั้นแต่ละคนตีความหมายกันว่าอย่างไรบ้าง ?? ..แต่ถ้าจะให้ผมเลือก ก็คงต้องเลือกตอบทั้งสองอย่างว่า “Know persons who Know How”  

จากการที่มีโอกาสสัมผัสกับการทำงานในสิ่งแวดล้อมที่ต่างกันทำให้เรียนรู้อะไรได้มาก..ไม่ว่าจะเป็นวิธีคิด การมองปัญหาต่างๆ การบริหารจัดการในเรื่องต่างๆ..ได้พบปะผู้คนมากหน้าหลายตา และได้เรียนรู้ว่าระยะหลังๆโดยเฉพาะในสังคมการทำงานเมืองไทยเรานี้ Know Who มีความสำคัญมากกว่า Know How

ต้องขอบอกก่อนเลยว่า Know Who ในที่นี่ ไม่ได้หมายถึง การรู้จักและให้ประโยชน์แต่ตนเองและพวกพ้องพวกเรา ใช้เส้นสายแบ่งพรรคแบ่งพวกแบบไม่มีคุณธรรมซึ่งผมคิดว่ามันเป็นสิ่งที่ทุกคนคงเคยพบกันมาบ้าง…ซึ่งเป็นเรื่องที่พบเห็นกันส่วนมากในทุกๆที่รวมถึงในสังคมการทำงานอย่างพี่ไทยเรา

แต่ Know Who ในที่นี้หมายถึง การมีเพื่อนช่วยคิด ช่วยทำ ตลอดจนคอยให้คำแนะนำ และถ่ายทอดประสบการณ์ซึ่งกันและกัน เพื่อให้สามารถทำงานได้ง่ายขึ้น หรือมีโอกาสสำเร็จมากขึ้นความหมายจริงๆของ Know Who คือ มีความรู้ มีฝีมืออย่างเดียว ไม่สามารถทำให้ประสบความสำเร็จได้ สิ่งสำคัญต้องขึ้นอยู่กับว่า คุณรู้จักและมีคอนเนคชั่นกับใครด้วย สำหรับผมแล้วคิดว่าประเด็นนี้โดยส่วนตัวแล้วเห็นด้วย แต่การที่จะมองให้ครบทุกมิตินั้นเราต้อง ….รู้จักใช้คนใช้คนให้ถูกกับงานฃึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ ฃึ่งก็คือ “Know persons who Know How”  ถามว่าทำไม..??

คนเราอยู่คนเดียวในสังคมไม่ได้ ต้องพบปะคนอื่น อย่างน้อยเพื่อฟังความคิดเห็นเพราะคนเราไม่ได้เก่งไปทุกอย่างในทางกลับกันถ้าเราไม่รู้จักใคร เวลาจะทำอะไร ต้องคิด ต้องทำคนเดียว ไม่มีคนคอยให้คำแนะนำ ช่องทางที่จะได้งานหรือเปอร์เซ็นต์ในการทำสิ่งที่เราคิด เราต้องการให้ประสบสำเร็จก็มีน้อยลงไปด้วย ผมคิดว่าการรู้จักคนเยอะ เราจะได้พบผู้คนที่มีประสบการณ์หลากหลาย และถ้าเราทำตัวดี เขาก็จะสอน จะเล่าประสบการณ์ ถ่ายทอดความรู้ให้แบบไม่รู้ตัว สิ่งเหล่านี้ช่วยเราได้ในยามที่เราต้องการใช้

การที่เราได้เรียนรู้จากคนอื่นแล้วนำมาปรับใช้กับตัวเรามันเป็นการ short cut เวลาในการเรียนรู้โดยที่เราไม่ต้องไปเสี่ยงเอง….ส่วนจะนำสิ่งที่ได้พบได้ยินมาทำอย่างไรให้สำเร็จ ต้องคิดต้องวางแผน.....จากประสบการณ์แล้วพูดได้เลยว่า คนไม่เคยล้ม ไม่มีวันประสบความสำเร็จสังเกตุดีๆนะคร้าบ ถ้าไม่นับพวกคาบช้อนเงินช้อนทองออกมาตอนเกิด..มีใครบ้างไหมที่ประสบความสำเร็จแล้วไม่เคยล้มมาก่อนบ้าง..?? มีใครที่เส้นทางโรยด้วยกลีบกุหลาบไปซะทุกเรื่องบ้าง…?? .อันนี้น่าคิดต่อนะคร้าบ..!!

กลับมาเรื่องเรา..Know Who นี่ผมว่ามันเกี่ยวข้องกับเรื่องคอนเนคชั่นซึ่งเหมาะกับพี่ไทยอย่างยิ่ง เพราะพี่ไทยเราเป็นเมืองที่มีความสัมพันธ์แบบครอบครัว เพราะคนไทยนิสัยชอบช่วยเหลือกันอยู่แล้ว....>  ในการทำงานนี่ผมคิดว่า การจะหาคนที่ Know Who กะ Know How นี่ ไม่น่าจะยากเกินไปสำหรับยุคนี้สมัยนี้... แต่การที่จะหาคนที่ "รู้จักใช้คนอื่นอย่างเหมาะสมและถูกต้อง - Know persons who Know How” นี่ซิ คงไม่ได้มีมากซักเท่าไรยิ่งเดี๋ยวนี้สังคมไทยเราเปลี่ยนไปมาก ชอบยึดและหาเหตุผลเข้าข้างตัวเองเสมอเลยทำให้ Know Who แบบพวกใช้เส้นสายหรือเล่นพรรคเล่นพวกแบบไม่มีคุณธรรม มีมากขึ้นทุกวันลองหาดีๆคร้าบ ถ้าองค์กรไหนเจอคนที่เป็นแบบ “Know persons who Know How” แล้วล่ะก็...>>  สังเกตุคร้าบว่าคนแบบนี้อยู่ที่ไหนก็นำความเจริญมาสู่ที่นั่นคร้าบถ้าเรารู้จักใช้คนเหล่านี้ให้เป็น !!!..>>> แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเราต้องเป็นแบบ Know persons who Know How ก่อนคร้าบ!!...
Kumpol [Sep-2011]

Thursday, September 29, 2011

Dow Jones นั้นสำคัญไฉน ทำไมต้องดู โดย Mr.Messenger แห่ง Pantip

วันนี้ขอนำบทความนึงเรื่อง Downjone เกี่ยวอะไรกับตลาดหุ้นไทย เขียนโดยคุณ ชยนนท์ รักกาญจนันท์ รู้จักกันในนามแฝงในเว็บบอร์ดพันทิพย์ ห้องสินธร ว่า “Mr.Messenger”ปัจจุบันเป็น Head, Investment Consultants ของแผนก Citigold ธนาคารซิตี้แบงก์ (ประเทศไทย)เห็นว่าเป็นประโยชน์เลยขออนุญาตินำมาเผยแพร่ต่อ...

ใครที่สนใจและอยู่ในตลาดทุนมาระยะหนึ่ง จะพบว่ามีดัชนีตัวหนึ่งของอเมริกาที่สำนักข่าวทุกแห่งให้ความสนใจ และต้องรายงานความเคลื่อนไหวกันตลอด แถมพอดัชนีตัวนี้ตกลงมาแรงๆ ก็ทำให้ตลาดอื่นๆในโลกการลงทุนสะเทือนทั้งหมด ในทางตรงกันข้าม ถ้า Dow Jones สามารถบวกแบบเขียวเข้มๆให้ได้เห็นคืนใด เช้าวันนั้นตลาดหุ้นในเอเชียจะสดใสขึ้นมาทันที (ถ้าไม่มีปัญหาอื่นแทรกแซง) ถ้า Dow Jones สำคัญอย่างนั้นจริง เราก็จำเป็นต้องรู้ซักหน่อยว่าเพราะอะไร จริงไหมครับ

                ขอเล่าถึงจุดเริ่มต้นของดัชนี Dow Jones กันซักหน่อย ชื่อเต็มของดัชนีตัวนี้ก็คือ Dow Jones Industrial Average เราจะเห็นชื่อย่อในสำนักข่าวต่างประเทศว่า “DJIA” ส่วนตัวผมขอเรียกมันว่า Dow Jones แล้วกันครับ

                ดัชนี Dow Jones เป็นดัชนีตราสาทุน หรือ หุ้น ซึ่งประกอบด้วยหุ้นทั้งหมด 30 ตัว เป็นหนึ่งในหลายดัชนีที่คำนวณโดย Wall Street Journal และ Dow Jones & Company และถือเป็นดัชนีที่เก่าแก่ที่สุดอันดับ 2 ของตลาดหุ้นอเมริกา เป็นรองก็แค่ Dow Jones Transportation Average ซึ่งปัจจุบันก็ยังมีการคำนวณอยู่เช่นกันครับ เช่นเดียวกับดัชนีหุ้นตัวอื่นๆในโลก Dow Jones จะมีการคำนวณเพื่อดูว่าต้องปรับตัวไหนออก และเอาหุ้นตัวไหนเข้ามาเพิ่มแทน เหมือนอย่างปีที่แล้วที่หุ้น General Motors และ Citigroup โดนถอดออกจากการคำนวณ เนื่องจากราคาหุ้น และขนาดทุนจดทะเบียนต่ำกว่าเกณฑ์การคำนวณนั้นเอง จากนั้นก็ถูกแทนที่โดย Travelers Companies และ Cisco Systems

                เปรียบเทียบดัชนีดังๆของอเมริกาอย่าง S&P500, NASDAQ หรือ Russell 2000 แล้ว หุ้นทั้งหมด 30 ตัวในดัชนี Dow Jones ได้รับการยอมรับสูงสุดว่าเป็นตัวแทนของเศรษฐกิจอเมริกาในภาพรวมได้ดี เพราะเป็นบริษัทที่มีอิทธิพลต่อคนอเมริกา สร้างงาน สร้างรายได้ และเป็นบริษัทชั้นนำในอุตสาหกรรมนั้นๆ ยกตัวอย่างเช่น American Express บริษัทยักษ์ด้านบัตรเครดิต,  Coca-Cola เครื่องดื่มที่ไม่มีใครไม่รู้จัก, Microsoft ของ Bill Gates บริษัทที่ทรงอิทธิพลที่สุดในโลก (ณ ขณะนี้) และอีกหลายๆบริษัทด้วยกัน ความแตกต่างของบริษัทที่ถูกนำคำนวณในดัชนี Dow Jones อีกอย่างก็คือ บริษัทส่วนใหญ่มีแหล่งรายได้ หรือ มีอิทธิพล กับไม่ใช่เฉพาะคนอเมริกาเท่านั้น แต่ยังเป็นบริษัทข้ามชาติที่รับรู้รายรับจากทั่วทุกมุมโลกที่สามารถไปถึงได้ ดังนั้นยอดขายที่สูงขึ้น หรือลดลง ของบริษัทเหล่านี้ ก็ถือเป็นตัวแทนของเศรษฐกิจโลกกลายๆด้วยเช่นเดียวกัน

                ข้อสำคัญอีกอย่างในเชิงสถิติก็คือ เนื่องจากดัชนี Dow Jones ถือเป็นหนึ่งในดัชนีตลาดหุ้นในอเมริกาที่มีอายุมายาวนานที่สุด โดนคำนวณครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1896 มีการเปลี่ยนแปลงหุ้นในดัชนีมาทั้งหมด 48 ครั้งใน 114 ปี ที่ผ่านมา ด้วยข้อมูลสถิติการขึ้นลงของดัชนีที่มากขนาดนี้ ประกอบกับผ่านวิกฤตและวงจรเศรษฐกิจน้อยใหญ่มามากมาย จึงทำให้ Dow Jones ถูกเอาข้อมูลในอดีตมาเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ปัจจุบัน และพยายามพยากรณ์อนาคตของตลาดโลกว่าจะเป็นไปในทิศทางใดบ่อยครั้ง
                รู้กันหรือเปล่าครับว่า วันแรกที่ Dow Jones ถูกคำนวณขึ้นมา มีหุ้นแค่ 12 ตัวในดัชนี และไม่ได้เริ่มต้นที่ 100 จุดครับ แต่เริ่มต้นที่ 40.94 จุด แปลกดี ลองมองอีกมุมหนึ่งเล่นๆ ผมลงทุนในดัชนี Dow Jones ณ วันแรกที่คำนวณ ด้วยเงิน $100 มาถึงวันนี้ (ใช้ดัชนีวันที่ 13 ส.ค. 2553) ผมจะมีเงิน $25,158 หรือคิดเป็น 25,058% ทีเดียว!! สุดยอด (ว่าแต่ใครจะอายุยืนมาได้ใช้เงินวันนี้ ก็คงไม่มี ^^)
                คราวนี้มาลองดูความสัมพันธ์ของดัชนี Dow Jones (เส้นสีส้ม) กับ SET Index (เส้นสีเขียว) ของบ้านเราหน่อยว่าเป็นยังไง ตามรูปครับ


จะเห็นว่าแนวโน้มหลักของดัชนีหุ้นทั้งสองตัวเป็นไปในทิศทางเดียวกัน แต่การขึ้นลงระหว่างทาง แรงเบาไม่เท่ากัน ก็เป็นธรรมดาเพราะว่าอยู่คนละตลาดและปัจจัยที่มากระทบกับ Sentiment ก็ไม่เหมือนกันทั้งหมด แต่อย่างช่วงวิกฤต Subprime ที่ผ่านมา หากใครยังจำได้ เราแทบจะใช้ Dow Jones ในการดูแนวโน้มของตลาดอื่นๆทั่วโลกแบบ 100% เพราะปัญหาเกิดขึ้นที่อเมริกาเป็นหลัก และกลายเป็นวิกฤตการเงินครั้งใหญ่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ทีเดียว

                ทั้งหมดนี้ก็คือความสำคัญของดัชนี Dow Jones Industrial Average นักลงทุนสามารถติดตามความเคลื่อนไหวของดัชนีตัวนี้ได้ตามหน้าเว็บไซต์การลงทุนต่างๆ เช่น Bloomberg, CNBC หรือ MarketWatch สุดท้าย Dow Jones ให้แค่ข้อมูลบางส่วนเพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุนเท่านั้น แต่ไม่ใช่ทั้งหมดที่นักลงทุนจะต้องรู้นะครับ การเรียนรู้และทำงานอย่างหนักจะให้ผลลัพธ์ที่ดีเสมอ ไม่ช้าก็เร็ว

โชคดีในการลงทุนครับ

รายละเอียออ่านต่อได้ที่นี่คร้าบ http://fundmanagertalk.com/investment-talk-why-is-dow-jones-important/

Sunday, September 25, 2011

ความสำคัญของ "กระดุมเม็ดแรก"...วินทร์ เลียววาริณ

เคยไหมที่คุณตื่นนอนยามเช้า ครึ่งหลับครึ่งตื่น สวมเสื้อราวกับคนไร้วิญญาณ เมื่อกลัดกระดุมเสร็จแล้วก็พบว่า ชายเสื้อทั้งสองข้างไม่เท่ากัน คุณกลัดกระดุมผิดทั้งแถว!

มันเริ่มจากการที่คุณไม่รู้ว่า คุณกลัดเม็ดแรกผิด แล้วกลัดต่อไปทีละเม็ดอย่างถูกต้อง เมื่อกลัดกระดุมเสร็จสิ้น ก็ผิดทั้งหมด ในตัวอย่างนี้ ความไม่รู้ทำให้คุณ 'กลัดกระดุม' ผิดทั้งแถว!

เคยไหมที่คุณเก็บเนื้อในตู้เย็นนานข้ามปี จนเนื้อหมดอายุ แต่ไม่ยอมทิ้ง เพราะเป็นเนื้อจากต่างประเทศ ราคาแพง คุณปรุงอาหารจนเสร็จ เมื่อกินแล้วไม่อร่อยหรืออาหารเป็นพิษ ในตัวอย่างนี้ ความเสียดายทำให้คุณ 'กลัดกระดุม' ต่อไป ทั้งที่รู้ว่าเม็ดแรกผิดรู!

เคยไหมที่คุณสมัครเรียนสายวิชาที่คุณไม่ชอบ ไม่ว่าเพราะพ่อแม่บังคับ หรือไม่รู้จะเรียนอะไรนอกเหนือจากสายนั้น คุณสอบได้ ลงทะเบียน เรียนผ่านไปทีละเทอม ทีละปี จนจบ คุณได้รับปริญญาบัตร หางานที่เกี่ยวข้องกับสายวิชาที่ร่ำเรียนมา แล้วทำงานไปทีละวันๆ ทีละเดือนๆ ทีละปีๆ จนวันหนึ่งคุณก็หมดแรงและยอมรับว่าคุณ 'กลัดกระดุม' ผิดมาตั้งแต่เม็ดแรก ในตัวอย่างนี้ ความละเลยทำให้คุณดันทุรัง 'กลัดกระดุม'เม็ดต่อไปทั้งที่รู้ดีว่ากลัดเม็ดแรกผิด

กระดุมเม็ดแรกสำคัญอย่างยิ่ง มันเป็นรากฐานของกระดุมเม็ดที่สอง สาม สี่...กลัดกระดุมเม็ดแรกผิด ก็ผิดหมดทั้งแถว ผิดทั้งยวง และอาจจะผิดทั้งชีวิต!

ตึกรามบ้านช่องไม่ว่าจะออกแบบสวยงามเพียงไร หากคำนวณฐานรากไม่ถูกต้อง วันหนึ่งก็เอียงล้ม เด็กไม่ว่าฉลาดเพียงไร หากเอาแต่เล่นเกม ดูแต่หนังรุนแรง เอาแต่ใจตัวเอง โตขึ้นก็อาจเป็นปัญหาภาระที่สังคมต้องแบกรับ

ซื้อรองเท้ายี่ห้อดังมาแล้ว ถึงคับก็ทนสวม ไม่นานก็ต้องแก้ปัญหาเรื่องเท้าเจ็บ เพื่อนให้ขนมเค้กจากร้านที่มีชื่อเสียง จะให้คนอื่นก็เสียดาย จึงฝืนกินเข้าไปทั้งที่อ้วนอยู่แล้ว ผลที่ตามมาคือร่างกายเสียหาย คุณอาจยอมปล่อยบางปัญหาไป หลับตาข้างหนึ่งแล้วหวังว่า ปัญหานั้นจะละลายหายไปเอง แต่ท้ายที่สุดก็ต้องแก้ปัญหานั้นอยู่ดี ทั้งยังต้องจ่ายราคาค่าแก้ปัญหามากกว่าเดิม

ไม่ว่าจะเป็นระดับปัจเจก เช่น การใช้ชีวิต การศึกษา การทำงาน ความรัก ไปจนถึงระดับมหภาคเช่น เศรษฐกิจ สังคม การเมือง ไม่ว่าจะด้วยความไม่รู้ ความปล่อยปละละเลย หรือความเสียดาย หรือเหตุผลใดก็ตาม หากกลัด 'กระดุม' เม็ดแรกผิด ทุกสิ่งที่ทำถูกต้องหลังจากนั้นจะกลายเป็นผิดไป!

การแก้ปัญหาของการ 'กลัดกระดุมผิดเม็ด' นี้มีทางเดียว คือ ปลด 'กระดุม' ทั้งหมดออกมาก่อน แล้วกลัดใหม่ การไม่รู้เป็นเรื่องหนึ่ง การรู้แล้วยังทำต่อไปเป็นอีกเรื่องหนึ่ง หลายคนทำงานตามคำสั่งทั้งที่รู้ว่า 'กระดุมเม็ดแรก'ไม่ตรงรูกระดุมของมัน กว่าจะรู้ตัว ก็กลายเป็นปัญหาลูกโซ่
หลายๆ ระบบในสังคมเช่น ระบบการเมือง การศึกษา ฯลฯ ดำเนินมานานปี ทั้งที่เรามองเห็นปัญหา แต่ก็ดำเนินต่อไปทั้งด้วยความไม่รู้ ความเขลา ความปล่อยปละละเลย ด้วยความเชื่ออย่างนกกระจอกเทศว่า มุดหัวลงดินสักพัก เดี๋ยวปัญหาก็หายไป แต่ปัญหาไม่เคยหายไป มีแต่สะสมด้วยดอกเบี้ยทบต้น ยิ่งแก้ไขช้า ราคาแก้ไขยิ่งแพง

บางครั้งการตัดใจเข้าห้องผ่าตัดปฏิรูปตัวเองก็เป็นทางแก้ที่ถูกต้อง ยอมตัดใจตัดวงจรเดิมนั้นทิ้ง แล้วเริ่มต้นใหม่ เพราะความเสียหายในระยะยาวน้อยกว่า ประหยัดเวลาโดยรวมมากกว่า

ทุกๆ หลายก้าวที่เดินหน้า เราควรหยุดและทบทวนดู 'กระดุม' ของเรา หรือของสังคมว่า กลัดถูกรูไหม ถ้าไม่ก็อย่ารอช้า ปลด 'กระดุม' ทั้งหมดออกมาก่อน แล้วกลัดใหม่

ผู้ทำผิดแล้วไม่แก้ไข กำลังทำผิดอีกครั้งหนึ่ง...ขงจื๊อ

Source: วินทร์ เลียววาริณ

เทคนิคการหาหุ้น 10 เด้ง (Rakesh J's Tips on How to find Multibagger Stocks)

มีใครรู้จัก Rakesh Jhunjhunwala ใหมครับ เขาถูกขนานนามว่าเป็น Warren Buffet India จากเงินลงทุนในคร้งแรก ปี 1985 ตอนนี้เขามีทรัพย์สินมากกว่า 1000 ล้านเหรียญ จากการลงทุนแบบเน้นคุณค่าของเขา นิตยสาร Forbes ปีล่าสุด 2010 เขาติดอันดับคนที่รวยที่สุดในอินเดีย อันดับ 51 และ อันดับโลกที่ 1062

ผมมีบทความของเขามาฝาก เรื่อง เทคนิคการมองหาหุ้นหลายเด้ง (Rakesh J! hunjhunwala’s tips on how to find multi bagger stocks)

Tip No. 1: Don’t Look For Multi-baggers

เขียนไม่ผิดครับ เทคนิคแรกสำหรับการมองหาหุ้นสิบเด้ง ก็คือ อย่ามองหาหุ้นสิบเด้ง อิอิ งงไหม Rakesh บอกว่า อย่าปักธงว่าเราจะมองหาและเลือกลงทุนในหุ้น 2 เด้ง 3 เด้ง 10 เด้งเท่านั้น สิ่งที่ดีกว่าคือ การกลับไปใช้วิธีการลงทุนแบบดั้งเดิมยึดหลักของปรมาจารย์ทั้งหลาย อาทิ Benjamin Graham! ,Peter Lynch และ Warren Buffet การบ้านที่คุณต้องทำก็คือ เลือกลงทุนในหุ้นที่ปัจจัยพื้นฐานดี และมีการเติบโตในอนาคต พอร์ตของหุ้นก็จะเติบโต หลายเด้งเองเมื่อเวลาผ่านไป

Tip No. 2: Don’t Look for Profits; Look For Sources Of Profits :อย่ามองที่กำไร จงมองหาแหล่งที่มาของกำไร

Rakesh ให้ข้อคิดที่ว่านักลงทุนทั่วไป มักจะยึดติดเกินไปกับยอดขายและกำไรรายไตรมาสและ สนใจกำไรในระยะสั้นๆ อาจทำให้เราหลุดจากการมองภาพใหญ่ได้ ("That’s missing the wood for the trees") Rakesh แนะนำว่า "Look at the sources of Profits. What are the reasons that will give rise to Profits in the medium and long-term term","Look at the factors and circumstances that will create an opportunity for business in the sector".

Tip No. 3: Forget ‘Large Cap, Small Cap’ Nonsense – Look for Scalability Of Operations: ลืมหุ้นใหญ่ ลืมหุ้นเล็กซะ ไร้สา ระ! จงมองหาสิ่งที่มันขยายได้

Rakesh ให้ข้อคิด 2 อย่าง อย่างแรก นักลงทุน นักวิเคราะห์ ทั่วไปมักจะถกเถึยงกันถึงว่า หุ้น large cap, mid cap,small cap อันไหนดีกว่ากัน แต่ Rakesh บอกว่า "Forget all that and Look for Value". "If there is value in Large Cap, buy it. If there is value in Small Cap, buy it. But don’t obsess on irrelevant matters".

Tip No. 4: Give it Time, Be Patient: จงอดทนและให้เวลากับมัน

นักลงทุนผู้ยิ่งใหญ่เช่น Warren Buffet เคยบอกว่า ระยะเวลาที่เราชอบในการถือครอง (หุ้น ) คือตลอดไป" Rakesh ก็เช่นเดียวกัน แนะนำว่า "Give your investments time to mature. Be Patient for the World to discover your gems".

Tip No. 5: Don’t get carried away by short-term aberrations: อย่าใส่ใจมากนักกับการเบี่ยงเบนระยะสั้น

นักลงทุนทั่วไปมักสนใจแนวโน้มระยะสั้น เช่นผลประกอบการรายไตรมาส Rakesh ตรงข้ามไม่ให้ความสนใจ มากนักกับผลประกอบการรายไตรมาส ส่งที่เขาจะทำคือ การมองหา trend ผลประกอบการรายไตรมาส จะบ่งขอกถึง trend ว่าอย่างไร

Tip No. 6: Invest in a business that you can understand: จงลงทุนในธุรกิจที่คุณเข้าใจ

เหมือน VI ท่านอื่น คือเลือกลงทุนเฉพาะธุรกิจที่เราเข้าใจเท่านั้น

Tip No. 7: Don’t worry about the macro stuff like fiscal deficit, inflation etc which are unknowable. Focus on what is knowable: อย่ากังวลกับปัจจัยมหภาคมากนัก

เช่น การขาดดุลการคลัง เงินเฟ้อ อื่นๆที่ไม่สามารถรู้ได้ จงสนใจกับสิ่งทีสามารถรู้ได้ Rakesh แนะนำว่า อย่าสนใจกับสิ่งที่ไม่สามารถรู้ได้ หรือแม้นว่ารู้แล้วก็ไม่สามารถทำอะไรได้ แต่จงมุ่งมั่ทุ่มเทพลังงานของคุณทั้งหมด ไปกับสิ่งที่คุณสามารถเรียนรู้ได้ดีเพียงพอ เช่นธุรกิจของบริษัทที่คุณลงทุน

Tip No. 8: Don’t Try To Time The Market: อย่าจับจังหวะตลาด

อย่าจับจังหวะตลาด เพราะคุณจะไม่สามารถหาจุดต่ำสุดของตลาดได้ ถ้าคุณหาหุ้นที่ถูกเมื่อเทียบกับมูลค่าแท้จริง ซื้อมันซะ!

Tip No. 9: If it’s cheap, buy it- Don’t pass up something cheap today in the hope that it will get cheaper tomorrow: ถ้ามันถูกก็ซื้อมันซะ อย่าปล่อยสิ่งที่คิดว่าถูกวันนี้โดยคาดหวังว่า! มันจะถูกกว่าในวันพรุ่งนี้

ถ้าคุณเห็นโอกาสในวันนี้ จงคว้ามันไว้ซะ! โอกาสดีเยี่ยมหลายครั้งหลุดลอยไปเพียงเพราะการผลัดวันประกันพรุ่ง

Tip No. 10: Don’t buy stocks that have a fixed return: อย่าซื้อหุ้นที่มีรายได้คงที่

คำแนะนำอันนี้ ตอนแรกดูเหมือนน่าขำ เพราะคงไม่มีใครอยากซื้อหุ้นที่อยู่กับที่หรอก แต่พบว่า นักลงทุนส่วนใหญ่กับมองข้ามข้อแนะนำอันนี้ Rakesh ยกตัวอย่างของหุ้นพวกนี้เป้นพวกหุ้น ของพวกบริษัทเช่นพวกขายไฟฟ้าหรือสาธารณูปโภคไม่สามารถที่จะมีกำไรมากกว่าที่กฏหมายกำหนดไว้เท่านั้น

Tip No. 11: Ride your winners!! : ปล่อยให้หุ้นวิ่งทำกำไร

Rakesh แนะนำว่า อย่าขายหุ้นสิบเด้งของคุณทิ้งไปเพียงเพราะคุณคิดว่าหุ้นสิบเด้งของวันนี้จะไม่สามารถเป็นหุ้นยี่สิบเด้งได้ในวันพรุ่งนี้

Tip No. 12: Concentrate, concentrate & concentrate!! : มุ่งมั่น มุ่งมั่น และ มุ่งมั่น

เป็นที่ถกเถียงกันในหมู่นักลงทุนว่าการลงทุนแบบกระจายความเสี่ยงแบบไข่ในตระกร้าห! ลายใบหรือตระกร้าใบเดียว อันไหนดีกว่ากัน Rakesh เป็นพวกที่เน้นแนะนำให้ลงทุนที่เรามั่นใจเท่านั้นว่าจะมีผลตอบแทนดีกว่าหุ้นตัวอื่นๆ ไม่สนใจการกระจายความเสี่ยง ในหุ้นหลายตัวเพียงเพราะต้องการปกป้องพอร์ต

Source: FW Email

Saturday, September 24, 2011

หมดยุคหุ้นวัฏจักร โดย ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

การลงทุนในหุ้นวัฎจักร นั่นคือหุ้นของกิจการที่มีผลการดำเนินงานที่ขึ้นลงเป็นรอบ ๆ รอบละหลายปีนั้นเป็นศิลปะที่ผมคิดว่าต้องอาศัยความสามารถและพลังของจิตใจแบบสุดยอด คนที่ประสบความสำเร็จ ก็จะประสบความสำเร็จสุดยอด ตรงกันข้าม คนที่ล้มเหลวก็จะเสียหายหนักไม่แพ้กัน ผมคิดว่าคนที่สำเร็จน่าจะต้องเป็นคนที่รู้จักธุรกิจเป็นอย่างดีเช่นเดียวกับการที่ต้องรู้จักเรื่องพฤติกรรมของหุ้นในกลุ่มนี้ ส่วนคนที่ล้มเหลวก็น่าจะเป็นคนที่ไม่รู้อะไรเลยหรือรู้ไม่ครบทั้งเรื่องของกิจการและพฤติกรรมของหุ้น

ลองมาดูกรณีของหุ้นอะโรเมติกส์หรือ ATC ซึ่งผมคิดว่าเป็นหุ้นวัฎจักรตัวหนึ่งที่สามารถที่จะเป็นตัวแทนของหุ้นวัฎจักรได้ค่อนข้างดี โดยบริษัทนี้ผลิตสินค้าปิโตรเคมีหลายชนิดที่มักมีราคาขึ้นลงเป็นวัฎจักร

ถ้าคุณติดตามบริษัทมานานพอคุณจะรู้ว่าบริษัทประสบกับความยากลำบากมานานหลายปีนับจากปีที่เกิดภาวะวิกฤตเศรษฐกิจคือปี 2540 ซึ่งบริษัทขาดทุนกว่าหมื่นล้านบาทซึ่งน่าจะเป็นผลจากการลดค่าเงินบาทที่ทำให้บริษัทขาดทุนมหาศาล หลังจากนั้นบริษัทก็มักจะขาดทุนมาเกือบทุกปี ปีละหลายพันล้านบาท ซึ่งแน่นอนว่าคุณคงไม่อยากลงทุนในหุ้นที่ประสบปัญหาผลการดำเนินงานอย่างนั้น แต่ถ้าพอถึงสิ้นปี 2544 คุณรู้ว่าราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีเริ่มปรับตัวดีขึ้นและผลการดำเนินงานของบริษัทน่าจะดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในปี 2545 คุณตัดสินใจซื้อหุ้น ATC ที่ราคาประมาณ 2.3 บาท

ปี 2545 ผลการดำเนินงานของบริษัทดีขึ้นตามคาด ถึงสิ้นปีการขาดทุนของบริษัทลดลงเหลือเพียงประมาณ 200 ล้านบาท ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นมาเป็นประมาณ 5.2 บาท คุณสามารถทำกำไรได้ 126% ในเวลาเพียง 1 ปี นี่เป็นการใช้ความรู้ในเรื่องของธุรกิจของบริษัท ไม่ว่าจะเป็นเพราะคุณเป็นพนักงานที่ทำหน้าที่ขายหรือซื้อสินค้าของบริษัท หรือจะเป็นฝ่ายบัญชี หรืออาจจะเป็นเพราะคุณทราบมาจากแหล่งที่เชื่อถือได้ก็ตาม คุณไม่จำเป็นต้องรู้เรื่องของการวิเคราะห์เรื่องความถูกหรือแพงของหุ้นเลย ว่าที่จริงถ้าคุณใช้สูตรในการคิดคำนวณราคาหุ้นต่าง ๆ ผลก็จะออกมาว่าราคาหุ้นที่ 2.3 บาทนั้นเป็นราคาที่แพงเกินไป ค่า PE ยังติดลบ ปันผลก็ยังไม่จ่าย และอื่น ๆ ซึ่งจะทำให้คุณสรุปว่าหุ้นยังไม่น่าซื้อ

ถ้าคุณไม่ได้เข้ามาซื้อหุ้นในตอนสิ้นปี 2544 เพราะคุณดูงบกำไรขาดทุนของบริษัทและพบว่าบริษัทยังขาดทุนถึงกว่า 3,500 ล้านบาท และคุณก็ไม่รู้ว่าราคาปิโตรเคมีกำลังเพิ่มขึ้น แต่คุณมาเห็นว่าเมื่อสิ้นปี 2545 บริษัทมีขาดทุนเพียงประมาณ 200 ล้านบาทและคุณเชื่อว่าราคาปิโตรเคมีน่าจะเป็น “ขาขึ้น” แล้ว คุณจึงตัดสินใจซื้อหุ้น ATC ที่ราคาหุ้นละ 5.2 และถือไว้จนถึงสิ้นปี 2546 คุณก็จะได้กำไรถึง 1,121 % หรือ 11.21 เท่าในเวลาเพียงปีเดียวเพราะราคาหุ้น ATC เพิ่มขึ้นเป็น 63.5 บาทต่อหุ้น และถ้าคุณเป็นคนเดียวกับคนที่รู้เรื่องปิโตรเคมีดีที่ซื้อหุ้นตั้งแต่สิ้นปี 2544 คุณก็ได้กำไรถึง 26.6 เท่าในเวลาเพียง 2 ปี

ผลการดำเนินงานของปี 2546 ของบริษัทดีกว่าที่ทุกคนคาด บริษัทมีกำไรถึงประมาณ 4,000 ล้านบาท และแนวโน้มของราคาผลิตภัณฑ์ของบริษัทนั้นทุกคนคาดว่าจะดีขึ้นต่อเนื่อง นักวิเคราะห์เกือบทุกคนแนะนำให้ซื้อ สถาบันลงทุนต่างก็ต้องมีหุ้นตัวนี้เก็บเข้าพอร์ต หุ้นตัวนี้เป็น “ดาว” อย่างแท้จริง นักลงทุนทั่วไปต่างก็เข้ามาซื้อที่ราคา 63.5 บาทโดยหวังว่าจะได้กำไรอย่างรวดเร็ว เป้าหมายราคานั้น “100 บาทก็อาจจะไม่แพง” เมื่อคำนึงถึง “การเจริญเติบโตอย่างก้าวกระโดดและอนาคตที่สดใส”

ผลการดำเนินงานในปี 2547 ของบริษัทเป็นไปตามคาดหรือน่าจะพูดว่าดีกว่าที่คาดไว้มาก เพราะบริษัททำกำไรถึงกว่า 10,000 ล้านบาท จากยอดขายกว่า 50,000 ล้านบาท แต่ราคาหุ้นกลับไม่ไปไหน สิ้นปี 2547 ราคาหุ้นอยู่ที่ 62.5 บาท ขาดทุนอยู่ 1-2% แต่หลาย ๆ แห่งก็ยังแนะนำให้ซื้อเพราะเมื่อดูตาม “พื้นฐาน” แล้ว หุ้นมีราคาถูกมาก ค่า PE เหลือเพียง 5.8 เท่า แม้ว่าราคาผลิตภัณฑ์จะอ่อนตัวลงบ้าง แต่กำไรก็ยังน่าจะสูงมากอยู่ดี คนที่ซื้อไว้ก็ยังไม่ถอย Value Investor หลายคนเข้ามาซื้อเพราะหุ้นทั้ง “ถูกสุดยอดและดี กำไรลดยังไงก็คุ้ม”

กำไรในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมาของบริษัทยังดีตามคาด และแม้ว่าจะลดลงจากปี 2547 แต่ก็ยังสูงถึง 4,544 ล้านบาท คิดเป็นกำไรต่อหุ้นถึง 4.71 บาท แต่ราคาหุ้นของบริษัทกลับลดลงอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดอยู่ที่ 33.5 บาท เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2548 หรือลดลงไปจากสิ้นปีที่แล้วถึง 46.4% และนี่คือผลของการวิเคราะห์หุ้นวัฎจักรโดยใช้วิธีการวิเคราะห์หุ้นแบบปกติ และทำโดยคนที่ไม่รู้จักธุรกิจและพฤติกรรมของหุ้นกลุ่มนี้

ที่พูดมาทั้งหมดนี้ ไม่ได้หมายความว่าหุ้น ATC ในขณะนี้ถูก หรือแพง หรือแนะนำให้ซื้อหรือขาย แต่ประการใดทั้งสิ้น เพราะผมเองไม่มีความสามารถจะบอกได้เนื่องจากไม่รู้จักธุรกิจนี้ดีพอ แต่ในแง่ของพฤติกรรมหุ้นนั้น ผมคิดว่า เราไม่สามารถหวังว่าหุ้นจะขึ้นไปรุนแรงอย่างที่มันเคยเป็นในช่วงดีดตัวขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนวัฎจักร แต่ถ้าถามว่า “ขาลง” ของหุ้นสิ้นสุดหรือยัง คำตอบก็แบบเดิมนั่นคือ บอกไม่ได้ เพราะราคาของหุ้นวัฎจักรนั้น มันไม่ได้ตามวัฎจักรของราคาผลิตภัณฑ์ในเวลาที่ตรงกัน เกมของหุ้นวัฎจักรนั้นเป็นเกมที่ ความเสี่ยงสูง – ผลตอบแทนสูง ขึ้นอยู่กับว่าคุณอยู่ในฐานะไหนของเกม

Thursday, September 22, 2011

บทเรียนจากความผิดพลาดของ Sony ต่อ Apple

ย้อนหลังกลับไปสมัยที่ผลิตภัณฑ์ Sony ยังครองตลาดอยู่หลายคนตอนนั้นอาจจะเห็นอะไรๆก็เป็น Sony ไปหมดไม่ว่าจะเป็น TV, Camera, Walkman, Portable devices อื่นๆอีกมากมาย…..แต่ถ้ามาถามคำถามนี้กับคนรุ่น Gen-Y ว่าเค้ารู้จักอะไรบ้างที่เป็นของ Sony …???  เราอาจจะต้องแปลกใจกับคำตอบต่างๆของ Gen-Y นี้ส่วนมากจะรู้จักจากเกมล์มั่ง…TV บ้างถามว่าทำไม..?? ก็เค้าเห็นอะไรสัมผัสอะไรเค้าก็….มีประสบการณ์กับ Brand นั้น..แค่ที่เค้าใช้เท่านั้นน่ะซิ……แสดงว่า Products ของ Sony เริ่มหายไปจากตลาดรึเปล่า ??? ….ประเด็นอยู่ที่นี่ละคร้าบ…!!! 

ที่พูดมานั้นน่ะ..>> อีกบริษัทนึงอย่าง Apple เค้าคิดต่างกันครับเค้าทำการบ้านมาดีลองคิดดูดีๆซิคร้าบมีกี่ครั้งกันเชียวเท่าที่เราจำความได้ที่ Global Brands ที่ครองส่วนแบ่งการตลาดไปเกือบหมดใน Sectors นั้นๆจะโดนแย่งลูกค้าชั้นดีไปบ้างใช่คร้าบไม่บ่อยเลย…..สังเกตุไหมคร้าบว่า Apple นี่ไม่ได้ล้มยักษ์อย่าง Sony อย่างเดียวนะคร้าบลองดู ใน Sector Telecom นี่ เจ้า RIM ของ Blackberry ก็โดนด้วยยิ่งคุณปู่ Nokia ด้วยล่ะไม่ต้องพูดถึง….คงจะงง ??? ไม่น้อยที่วันนึงมีคนมาเอา Cake ชิ้นใหญ่ไปแบบว่าโดน take top of the cream ไปหมด…555

ถามว่าทำไม…??  เป็นเพราะ Apple เจ๋งจริง ? หรือ Sony พลาดท่า? …ความเห็นส่วนตัวคงต้องบอกคร้าบว่าทั้งสองอย่าง….แต่เริ่มจากที่ Apple เห็นจุดอ่อนของ Brand อย่าง Sony ดีแล้วเตรียม Positioning ของ Apple เองอย่างถูกต้องและเป็นที่ต้องการของตลาด…..ซึ่งจุดนี้ก็เป็นจุดอ่อนของบริษัทขนาดใหญ่ที่เคยประสบความสำเร็จทั่วโลกที่ มีวิธีคิดแบบ พายเรือถอยหลัง

อย่างที่โฮเวิร์ด สตริงเกอร์ (Howard Stringer) ซีอีโอชาวเวลส์ของโซนี่ ขึ้นกล่าวปาถกฐาที่งานสัมมนาฉลองครบ 100 ปีของ IBM เขาพูดถึง บทเรียนจากโซนี่ ในฐานะมหาอำนาจแห่งยุคแอนะล็อกที่เริ่มปรับตัวไม่ทันยุคดิจิทัล สตริงเกอร์บอกว่าบริษัทขนาดใหญ่ที่เคยประสบความสำเร็จ ย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะมีวิธีคิดแบบ พายเรือถอยหลัง” (rowboat mentality) นั่นคือ องค์กรทำงานหนักเพื่อก้าวไปข้างหน้า แต่คุณก็หันไปหาความสำเร็จที่ผ่านมาแล้วในอดีตตลอดเวลา”….อืมประเด็นนี่น่าคิดนะคร้าบ…!! เขาบอกว่าบริษัทที่เคยประสบความสำเร็จในอดีต มักจะหวนไปนึกถึงความสำเร็จนั้นเสมอ ถึงแม้จะต้องสร้างความสำเร็จใหม่เพื่ออนาคตที่กำลังจะมาถึงก็ตาม และโซนี่ก็เป็นหนึ่งในบริษัทเหล่านั้น

เค้ายอมรับว่าโซนี่ที่เคยเป็นเจ้าพ่อแห่งโลกแอนะล็อก มีผลิตภัณฑ์ยอดฮิตอย่างเครื่องฟังเพลงพกพาตัวแรกของโลก Walkman ปรับตัวเข้าหายุคดิจิทัลได้ช้าเกินไป และเปิดโอกาสให้คู่แข่งอย่างแอปเปิลแซงหน้าไปได้ สตริงเกอร์บอกว่า โซนี่รู้สึกผ่อนคลายและสะดวกสบายมากที่จะอยู่ในยุคแอนะล็อก แต่วันหนึ่งกลับต้องปรับเปลี่ยนตัวเองเพื่อต่อสู้ในยุคดิจิทัล ก็เลยมีปัญหา ต้องรับภาระหนักหน่วงในการเปลี่ยนแปลงองค์กรสู่ยุคสมัยใหม่ ต้องปรับโครงสร้างองค์กรหลายอย่าง รวมถึงออกจากธุรกิจเก่าๆ ที่เคยประสบความสำเร็จอย่าง Walkman ด้วย

 ถึงแม้โซนี่ในยุคหลังจะเข้มแข็งกว่าเดิมมาก แต่ก็ยังไม่สามารถกลับมาได้เต็มร้อยคร้าบ เนื่องจากสถานการณ์วิกฤตเศรษฐกิจโลกที่รุมเร้า รวมถึงเหตุการณ์แผ่นดินไหว-สึนามิที่ประเทศญี่ปุ่น ทำให้การฟื้นตัวของโซนี่ยังต้องใช้เวลา…!! ประเด็นนี้นำไปสู่การที่รัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจของญี่ปุ่นออกมายอมรับความพ่ายแพ้กรณีโซนี่เมื่อปี 2006…. หลังถูกไอพ็อดและไอจูนส์ถล่มยอดขายกระจุยคาแดนปลาดิบ สิ้นลายผู้นำวงการเครื่องเล่นเพลงดิจิตอลของโลกภายใต้โลโก้ยี่ห้อวอล์กแมนที่เคยได้รับความนิยมอย่างสูง……ไม่บ่อยนะคร้าบที่ Brand จากมะกันนี่จะกลับมาชนะพี่ยุ่นปี่เราได้แบบถล่มทลายหมดท่าแบบนี้….ดูกันยาวๆคร้าบว่าจะมีProduct อะไรไหมจากฝั่งพี่ยุ่นปี่เรา….กลับไปล้ม Apple คืนได้บ้าง….!!555

Kumpol [Sep-2011]

บทวิเคราะห์เรื่อง นักลงทุนต่างชาติกับตลาดหลักทรัพย์ไทย: ความเชื่อและความจริง‏

·      บทสรุปผู้บริหาร [ที่มา:  Macroeconomic Analysis Group:: http://www.fpo.go.th/]

                - ในช่วงที่ผ่านมา นักลงทุนต่างชาติได้มีบทบาทสำคัญต่อตลาดทุนไทยเป็นอย่างมาก โดยแม้ว่านักลงทุนต่างชาติจะมีสัดส่วนการลงทุนที่น้อยเพียงร้อยละ 25.0 ของมูลค่ารวมในตลาดหลักทรัพย์ทั้งหมด แต่การซื้อขายของนักลงทุนต่างชาติสามารถอธิบายการเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นไทยได้กว่าครึ่งจากการศึกษาและวิเคราะห์พฤติกรรมของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหุ้นไทยในช่วงครึ่งแรกของปี พ.ศ. 2554 พบว่า

                1) นักลงทุนต่างชาติจะเข้าซื้อสุทธิในมูลค่าเฉลี่ยที่น้อยกว่าและจำนวนวันติดต่อกันที่สั้นกว่าการขายสุทธิ
2) นักลงทุนรายย่อยซื้อขายในทิศทางที่ตรงข้ามกับนักลงทุนต่างชาติอย่างมีนัยสาคัญ ทั้งในช่วงตลาดหุ้นขาขึ้น และในช่วงตลาดหุ้นขาลง
                3) เมื่อนักลงทุนต่างชาติลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ไทยก็จะลงทุนในตลาดตราสารหนี้ไทยในทิศทางเดียวกัน ซึ่งเป็นการสะท้อนว่านักลงทุนต่างชาติแบ่งกลุ่มสินทรัพย์ทั้ง 2 ตลาด ในประเภทสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงไว้ในระดับเดียวกัน

นอกจากนั้น หากวิเคราะห์พฤติกรรมนักลงทุนในการลงทุนในตลาดโลกจะพบว่า หากนักลงทุนมีความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจและการเงินโลก นักลงทุนต่างชาติจะถอนการลงทุนทั้งในตลาดหลักทรัพย์ภูมิภาคเอเชียและประเทศเศรษฐกิจพัฒนาแล้ว และจะนาเงินลงทุนบางส่วนไปลงทุนในสินทรัพย์ที่ปลอดภัยกว่าอย่างพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ระยะสั้นเพื่อรอดูสถานการณ์ อันจะส่งผลให้ตลาดหุ้นทั่วโลกมีการเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกัน

ทั้งนี้ ในการคาดการณ์ทิศทางของตลาดหลักทรัพย์ไทย ควรจับตามองตลาดในภูมิภาคอาเซียนและดัชนี Dow Jones ของสหรัฐฯ เนื่องจากเป็นตลาดที่เคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกันกับตลาดหลักทรัพย์ของไทยในระดับสูง

บทนำ:
                นับตั้งแต่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้เปิดดำเนินการในปี พ.ศ.2518 ตามแผนการจัดตั้งตลาดทุนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 2 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้มีบทบาทสาคัญในฐานะแหล่งระดมทุนของภาคเอกชน และเป็นช่องทางให้นักลงทุนสามารถลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงได้
                ทั้งนี้ ในช่วงที่ผ่านมา นักลงทุนต่างชาติได้มีบทบาทสาคัญต่อตลาดทุนไทยเป็นอย่างมาก2 โดยแม้ว่า นักลงทุนต่างชาติจะมีสัดส่วนการลงทุนที่น้อยเพียงร้อยละ 25.0 ของมูลค่ารวมในตลาดหลักทรัพย์ทั้งหมดแต่การซื้อขายของนักลงทุนต่างชาติสามารถอธิบายการเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นไทยได้กว่าครึ่ง3 บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหุ้นไทย โดยศึกษาข้อมูลเฉพาะ ช่วงครึ่งแรก (มกราคม มิถุนายน) ของปี 2554 เพื่ออธิบายและทาความเข้าใจความเชื่อเกี่ยวกับพฤติกรรม ของนักลงทุนต่างชาติ โดยมีรายละเอียดดังนี้

ความเชื่อที่ 1: นักลงทุนต่างชาติทยอยเข้าซื้อหลักทรัพย์ แต่จะขายในปริมาณที่มากอย่างฉับพลัน

                หากพิจารณาจากมูลค่าซื้อ-ขายสุทธิเฉลี่ยของนักลงทุนต่างชาติ ในช่วงครึ่งแรกของปี 2554 แล้ว จะพบว่า สาหรับวันที่นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ มูลค่าซื้อสุทธิเฉลี่ยจะอยู่ที่ 1,785.8 ล้านบาท ในขณะที่วันที่นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ มูลค่าขายสุทธิเฉลี่ยจะอยู่ที่ 1,904.0 ล้านบาท (ภาพที่ 2) มูลค่าขายสุทธิที่มากกว่ามูลค่าซื้อสุทธินี้ สอดคล้องกับความเชื่อที่ 1 ที่ว่านักลงทุนต่างชาติทยอยเข้าซื้อหลักทรัพย์ แต่จะขายในปริมาณที่มากอย่างฉับพลัน

อย่างไรก็ตาม หากเราทดสอบด้วยวิธีทางสถิติ จะพบว่ามูลค่าซื้อ-ขายสุทธิเฉลี่ยนี้ ไม่มีความแตกต่าง อย่างมีนัยสำคัญเชิงสถิติ จึงไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่านักลงทุนต่างชาติจะขายสุทธิด้วยมูลค่าที่สูงกว่ามูลค่าซื้อสุทธิ

นอกจากนี้ หากพิจารณาในแง่ของจำนวนวันเฉลี่ยที่นักลงทุนต่างชาติซื้อ-ขายสุทธิติดต่อกันในช่วงครึ่งแรกของปี 2554 แล้ว จะพบว่านักลงทุนต่างชาติโดยเฉลี่ยจะซื้อสุทธิติดต่อกัน 2.71 วัน ในขณะที่จะขายสุทธิเฉลี่ยติดต่อกัน 3.1 วัน (ซึ่งจานวนวันที่นักลงทุนเข้าซื้อ-ขายสุทธินี้ ไม่สอดคล้องกับความเชื่อที่ว่านักลงทุนต่างชาติจะทยอยเข้าซื้อ แต่จะขายหลักทรัพย์ออกอย่างรวดเร็ว เนื่องจากโดยเฉลี่ยแล้ว นักลงทุนต่างชาติจะขายสุทธิติดต่อกันเป็นระยะเวลาที่นานกว่า

อย่างไรก็ตาม หากเราทดสอบด้วยวิธีทางสถิติ4 จะพบว่าจานวนวันเฉลี่ยที่นักลงทุนต่างชาติซื้อ-ขายสุทธินี้ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญเชิงสถิติ จึงไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่านักลงทุนต่างชาติขายสุทธิติดต่อกันเป็นระยะเวลาที่นานกว่า

                ดังนั้น จึงอาจสรุปได้ว่า ความเชื่อที่ว่านักลงทุนต่างชาติทยอยเข้าซื้อหลักทรัพย์ แต่จะขายในปริมาณที่มากอย่างฉับพลันนั้น เป็นความเชื่อที่ไม่สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยนักลงทุนต่างชาติจะเข้าซื้อสุทธิในมูลค่าเฉลี่ยที่น้อยกว่าและจานวนวันติดต่อกันที่สั้นกว่าการขายสุทธิ ซึ่งสอดคล้องกับมูลค่าซื้อขายสุทธิสะสมของนักลงทุนต่างชาติในช่วงครึ่งแรกของปี 2554 ที่นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิถึง 14,677 ล้านบาท

ความเชื่อที่ 2: นักลงทุนรายย่อยในประเทศซื้อขายหลักทรัพย์ตามทิศทางของนักลงทุนต่างชาติ

                เนื่องจากนักลงทุนต่างชาติสามารถทาให้ตลาดเคลื่อนไหว โดยถึงแม้การซื้อขายหลักทรัพย์ของนักลงทุนต่างชาติจะมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 25.0 ของมูลค่าการซื้อขายรวม แต่สามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ในช่วงครึ่งแรกของปี 2554 ได้ถึงร้อยละ 54.9 จนอาจกล่าวได้ว่านักลงทุนต่างชาติเป็นผู้กาหนดทิศทางของตลาด (Market mover) จึงทาให้มีความเชื่อโดยทั่วไปว่านักลงทุนรายย่อยในประเทศมักทาการซื้อขายหลักทรัพย์ตามนักลงทุนต่างชาติ ทั้งการซื้อขายภายในวันเดียวกัน หรือบางครั้งใช้สัญญาณจากการซื้อขายของนักลงทุนต่างชาติในวันก่อนหน้าเป็นส่วนช่วยในการตัดสินใจ และจะตัดสินใจซื้อขายหลักทรัพย์ตามสัญญาณดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาจากข้อมูลเชิงประจักษ์แล้ว จะพบว่าในช่วงครึ่งแรกของปี 2554 นักลงทุนรายย่อยในประเทศมักจะมีทิศทางการซื้อขายหลักทรัพย์ที่ตรงกันข้ามกับนักลงทุนต่างชาติ โดยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างมูลค่าซื้อขายสุทธิของนักลงทุนรายย่อยในประเทศกับมูลค่าซื้อขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในช่วงครึ่งแรกของปี 2554 อยู่ที่ -0.884 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า กว่าร้อยละ 88.4 ของการซื้อขายของนักลงทุนรายย่อย เป็นไปในทิศทางตรงข้ามกับการซื้อขายของนักลงทุนต่างชาติ และเมื่อพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างมูลค่าซื้อขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติวันก่อนหน้ากับมูลค่าซื้อขายสุทธิของนักลงทุนรายย่อยในประเทศจะพบว่ายังคงมีค่าเป็นลบที่ -0.4499

นอกจากนี้ หากแยกพิจารณาพฤติกรรมของนักลงทุนรายย่อยออกเป็นช่วงหุ้นขาขึ้นและขาลง จะพบว่าไม่ว่าเมื่อดัชนีตลาดหลักทรัพย์อยู่ใน ขาขึ้นกล่าวคือ ดัชนีของวันนี้สูงกว่าดัชนีของวันก่อนหน้า หรือขาลงกล่าวคือดัชนีของวันนี้มีค่าต่ากว่าวันก่อนหน้า นักลงทุนรายย่อยยังคงซื้อขายในทิศทางที่ตรงกันข้ามกับนักลงทุนต่างชาติ

                ดังนั้น จึงสามารถสรุปได้ว่า ความเชื่อที่ว่านักลงทุนรายย่อยในประเทศซื้อขายหลักทรัพย์ตามทิศทางของนักลงทุนต่างชาตินั้น เป็นความเชื่อที่ไม่สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพฤติกรรมของนักลงทุนรายย่อยมักจะเป็นไปในทิศทางตรงข้ามกับนักลงทุนต่างชาติ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า เมื่อนักลงทุนต่างชาติเข้าซื้อสุทธิ ดัชนีตลาดหลักทรัพย์มักปรับตัวสูงขึ้น ทาให้นักลงทุนรายย่อยขายสุทธิเพื่อทากาไร และในทางกลับกัน เมื่อนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิและทาให้ดัชนีฯ ปรับตัวลดลง นักลงทุนรายย่อยจะเข้าซื้อเพื่อทากาไรในอนาคต จึงอาจกล่าวได้ว่า นักลงทุนรายย่อยเน้นการซื้อ-ขายหลักทรัพย์เพื่อทากาไรระยะสั้นมากกว่าจะซื้อ-ขายเพื่อรับเงินปันผล

อย่างไรก็ดี ผลการวิเคราะห์ข้างต้นอาจได้รับอิทธิพลจากธรรมชาติของตลาดหลักทรัพย์ไทย เนื่องจากการซื้อขายหลักทรัพย์รวมสุทธิจะมีลักษณะเป็นแบบ Zero-sum กล่าวคือ เมื่อมีผู้ขายจะต้องมีผู้ซื้อเสมอ จึงจะเป็นการซื้อขายที่สมบูรณ์ ดังนั้น เมื่อนักลงทุนต่างชาติซึ่งเป็นนักลงทุนกลุ่มใหญ่ลาดับที่ 2 ขายหลักทรัพย์ นักลงทุนรายย่อยในประเทศซึ่งเป็นนักลงทุนกลุ่มใหญ่ที่สุดจึงมักเป็นผู้เข้าซื้อ หรือในทางกลับกัน เมื่อนักลงทุนรายย่อยขายหลักทรัพย์ นักลงทุนต่างชาติก็มักเป็นผู้เข้าซื้อสุทธิด้วยเช่นกัน

ความเชื่อที่ 3: เมื่อนักลงทุนต่างชาติปรับพอร์ทการลงทุน จะถอนเงินออกจากตลาดหลัททรัพย์ไทยแล้วย้ายไปพักเงินลงทุนยังตลาดตราสารหนี้ไทย

                เนื่องจากพันธบัตรรัฐบาลเป็นสินทรัพย์ที่ความเสี่ยงต่ากว่าเมื่อเทียบกับหุ้นสามัญ จึงมีความเชื่อว่าในช่วงที่นักลงทุนต่างชาติมีความกังวลต่อปัจจัยเสี่ยงด้านต่างๆ โดยเฉพาะจากปัจจัยในประเทศ เช่น ด้านเศรษฐกิจและการเมือง นักลงทุนต่างชาติจะถอนเงินออกจากตลาดหลักทรัพย์และนาเงินลงทุนไปพักในสินทรัพย์ที่ปลอดภัยกว่าเพื่อรอดูสถานการณ์ ซึ่งหนึ่งในสินทรัพย์ดังกล่าวที่เป็นที่นิยมคือพันธบัตรรัฐบาล

อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาจากข้อมูลเชิงประจักษ์ในช่วงครึ่งแรกของปี 2554 จะพบว่านักลงทุนต่างชาติมีพฤติกรรมการลงทุนในทางตรงกันข้ามกับความเชื่อ โดยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างมูลค่าซื้อขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศ กับมูลค่าซื้อขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดตราสารหนี้ (ไม่รวมหุ้นกู้เอกชน) ในประเทศในช่วงครึ่งแรกของปี 2554 อยู่ที่ 0.1943 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการลงทุนโดยนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์และในตลาดตราสารหนี้โดยรวมแล้วมีทิศทางเดียวกัน

อย่างไรก็ดี หากเราพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างมูลค่าซื้อขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์และตลาดพันธบัตรไทยโดยแยกพิจารณาออกเป็น 2 กรณี คือ 1) ช่วงตลาดขาขึ้น และ 2) ช่วงตลาดขาลง จะพบว่าค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างมูลค่าซื้อขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์และตลาดพันธบัตรไทยในช่วงที่ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวสูงขึ้นจากวันก่อนหน้า หรือเป็นตลาด ขาขึ้นมีค่า 0.2944 และมีนัยสำคัญทางสถิติ บ่งชี้ว่าเมื่อตลาดปรับตัวสูงขึ้น การเข้าซื้อหลักทรัพย์และพันธบัตรของนักลงทุนต่างชาติจะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน อย่างไรก็ตาม เมื่อดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวลดลงจากวันก่อนหน้า หรือเป็นตลาดขาลงค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างมูลค่าซื้อขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์และตลาดพันธบัตรไทยจะมีค่า -0.0956 และไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ กล่าวคือ เมื่อตลาดปรับตัวลง การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์และตลาดพันธบัตรของนักลงทุนต่างชาติจะไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

และหากเราพิจารณาความสัมพันธ์ในลักษณะคล้ายคลึงกัน โดยพิจารณามูลค่าซื้อขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์และตลาดพันธบัตรไทยในช่วงครึ่งแรกของปี 2554 เฉพาะวันที่นักลงทุนเข้าซื้อหลักทรัพย์สุทธิ จะพบว่าค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์มีค่า 0.2880 และมีนัยสำคัญทางสถิติ จึงสรุปได้ว่าการเข้าซื้อหลักทรัพย์และพันธบัตรเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ใขณะที่ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของความสัมพันธ์ดังกล่าวในวันที่นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดหลักทรัพย์มีค่า -0.1321 และไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ จึงไม่อาจสรุปได้ว่านักลงทุนต่างชาติถอนเงินลงทุนจากตลาดหลักทรัพย์แล้วนามาลงทุนในตลาดพันธบัตร

                ดังนั้น จึงสามารถสรุปได้ว่าความเชื่อที่ว่าเมื่อนักลงทุนต่างชาติปรับพอร์ทการลงทุนจะถอนเงินออกจากตลาดหลักทรัพย์ไทยแล้วย้ายไปพักเงินลงทุนยังตลาดตราสารหนี้ไทยนั้น เป็นความเชื่อที่ไม่สอดคล้องกับหลักฐานเชิงประจักษ์ในช่วงครึ่งแรกของปี 2554 แต่สอดคล้องกับกรณีที่นักลงทุนต่างชาติแบ่งกลุ่มหลักทรัพย์ไทยและพันธบัตรรัฐบาลในประเภทสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยง (Asset Class) ไว้ในระดับเดียวกัน โดยเมื่อนักลงทุนมีความเชื่อมั่นต่อสภาพเศรษฐกิจ ก็จะลงทุนในหลักทรัพย์และพันธบัตรในทิศทางเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ด้วยหลักฐานเชิงประจักษ์ทาให้เราไม่สามารถสรุปได้ว่าเมื่อมีปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ซึ่งสร้างความหวาดกลัวแก่นักลงทุนต่างชาติแล้ว นักลงทุนต่างชาติจะขายหลักทรัพย์เพื่อเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาล

ความเชื่อที่ 4: เมื่อนักลงทุนต่างชาติปรับพอร์ทการลงทุน จะถอนเงินออกจากตลาดหลักทรัพย์ของประเทศพัฒนาแล้วมายังตลาดภูมิภาคเอเชีย

                ในอดีตที่ผ่านมามีความเชื่อว่า เมื่อนักลงทุนต่างชาติมีความกังวลต่อปัจจัยเสี่ยงด้านภาพรวมเศรษฐกิจและการเงินโลก จะย้ายเงินลงทุนจากตลาดหลักทรัพย์ภูมิภาคเอเชียไปลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ของประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งนักลงทุนเชื่อว่ามีความปลอดภัยสูงกว่า ในขณะที่เมื่อภาพรวมสถานการณ์เศรษฐกิจและการเงินโลกเริ่มมีทิศทางดีขึ้นอีกครั้งก็จะทาให้นักลงทุนต่างชาติย้ายการลงทุนจากตลาดหลักทรัพย์ของประเทศพัฒนาแล้วกลับเข้ามายังลงทุนในตลาดภูมิภาคเอเชียอีกครั้ง เนื่องจากมีผลตอบแทนสูงกว่าควบคู่กับความเสี่ยงที่มากกว่า

ทั้งนี้ ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยกับดัชนีตลาดหลักทรัพย์ในภูมิภาคอาเซียนมีการเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกันในระดับสูง โดยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทย กับดัชนีหลักทรัพย์มาเลเซีย ฟิลิปปินส์และอินโดนีเซียในช่วงครึ่งแรกของปี 2554 อยู่ที่ 0.2961 0.8188 และ 0.7958 ตามลาดับ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยและตลาดในภูมิภาคที่มีการเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกัน บ่งชี้ว่านักลงทุนต่างชาติจัดระดับของหลักทรัพย์ไทยไว้ในระดับเดียวกับหลักทรัพย์ในตลาดภูมิภาค

ในขณะที่หากเราพิจารณาการเคลื่อนไหวของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยกับดัชนีตลาดหลักทรัพย์อื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียในช่วงครึ่งแรกของปี 54 จะพบว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยและดัชนีตลาดหลักทรัพย์อื่นๆ ในเอเชีย ส่วนใหญ่มีการเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกัน แต่ในระดับความสัมพันธ์ที่ต่ากว่าตลาดในอาเซียนโดยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทย กับดัชนีหลักทรัพย์ Hang Seng ฮ่องกง ดัชนีหลักทรัพย์ Kospi เกาหลีใต้ และ ดัชนีหลักทรัพย์ Strait Times สิงคโปร์ ในช่วงครึ่งแรกของปี 2554 อยู่ที่ 0.2858, 0.7371 และ 0.2877 ตามลาดับ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยและตลาดในภูมิภาคที่มีการเคลื่อนไหวบางส่วนไปในทิศทางเดียวกัน

นอกจากนั้น เมื่อพิจารณาการเคลื่อนไหวของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยและดัชนีตลาดหลักทรัพย์ของเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้ว (Advanced Economies) จะพบว่าส่วนใหญ่มีการเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกันยกเว้นดัชนีหลักทรัพย์ Nikkei ของญี่ปุ่น ที่เคลื่อนไหวในทิศทางตรงกันข้ามอย่างมีนัยสาคัญ ซึ่งเป็นผลจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิ6 โดยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยกับดัชนีหลักทรัพย์ Dow Jones ของสหรัฐฯ และ FTSE ของอังกฤษ อยู่ที่ 0.5971 และ 0.1486 ตามลาดับ ในขณะที่ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยกับดัชนีหลักทรัพย์ Nikkei ของญี่ปุ่นอยู่ที่ -0.5438

กล่าวโดยสรุป หากพิจารณาจากข้อมูลเชิงประจักษ์ในช่วงครึ่งแรกของปี 2554 จะพบว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลก ทั้งในภูมิภาคเอเชีย และประเทศพัฒนาแล้ว ต่างเคลื่อนไหวไปในทิศทางที่สอดคล้องกันอย่างมีนัยสาคัญ โดยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างดัชนีตลาดหลักทรัพย์ในภูมิภาคเอเชียและประเทศที่พัฒนาแล้วในช่วงครึ่งแรกของปี 2554 เฉลี่ยแล้วมีค่าเป็นบวก โดยอยู่ที่ 0.2975 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงดัชนีตลาดหลักทรัพย์ในภูมิภาคเอเชียและประเทศที่พัฒนาแล้วมีการเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกัน

                ดังนั้น จึงอาจสรุปได้ว่าความเชื่อที่ว่าเมื่อนักลงทุนต่างชาติปรับพอร์ทการลงทุน จะถอนเงินออกจากตลาดหลักทรัพย์ของประเทศพัฒนาแล้วมายังตลาดภูมิภาคเอเชียนั้น ไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง กล่าวคือ อันที่จริงแล้ว เมื่อนักลงทุนต่างชาติถอนเงินลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ของประเทศพัฒนาแล้วก็จะถอนเงินลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ภูมิภาคเอเชียด้วยเช่นกัน ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวเป็นการสะท้อนว่านักลงทุนต่างชาติได้แบ่งกลุ่มหลักทรัพย์ของภูมิภาคเอเชียและประเทศพัฒนาแล้วในประเภทสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยง (Asset Class) ไว้ในระดับเดียวกัน

เมื่อนักลงทุนต่างชาติมีความไม่มั่นใจต่อปัจจัยเสี่ยงด้านภาพรวมเศรษฐกิจและการเงินโลก จะขายหลักทรัพย์ของทั้ง 2 ตลาดในช่วงเวลาใกล้เคียงกันและนาเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความปลอดภัยสูงกว่าอย่างพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ระยะสั้น โดยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างดัชนีตลาดหลักทรัพย์ Dow Jones และผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐระยะเวลา 2 ปี ในช่วงครึ่งแรกของปี 2554 อยู่ที่ 0.1323 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเมื่อนักลงทุนถอนเงินจากตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ จะเข้ามาลงทุนซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐระยะเวลา 2 ปี ส่งผลให้ราคาพันธบัตรดังกล่าวปรับตัวสูงขึ้น หรืออีกนัยหนึ่งคือผลตอบแทนพันธบัตรดังกล่าวลดลง สอดคล้องกับค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ที่เป็นบวก

การเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกันของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยและตลาดอื่นๆ ในระดับที่สูง ทั้งตลาดในภูมิภาคอาเซียน ตลาดเอเชีย ตลอดจนตลาดเศรษฐกิจพัฒนาแล้ว อาจเป็นการบ่งชี้ว่านักลงทุนต่างชาติจัดกลุ่มหลักทรัพย์ในตลาดทุนโลกไว้ในประเภทสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงในระดับเดียวกัน ตามทิศทางและสถานการณ์เศรษฐกิจโลก อนึ่ง เป็นที่น่าสังเกตว่าทิศทางของดัชนี Dow Jones ในวันก่อนหน้าเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกับดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทย โดยมีสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สูงถึง 0.5971 จึงอาจกล่าวได้ว่า นักลงทุนโดยเฉพาะนักลงทุนต่างชาติจะใช้สัญญาณจากดัชนี Dow Jones แล้วจึงตัดสินใจซื้อขายหลักทรัพย์ในภูมิภาค รวมถึงตลาดหลักทรัพย์ไทยด้วย

สรุปและแนวนโยบาย:

                บทความนี้ได้วิเคราะห์ความเชื่อหลายประการในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยความเชื่อส่วนใหญ่เป็นความเชื่อที่ไม่สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ จากการวิเคราะห์ข้อมูลในช่วงครึ่งแรกของปี 2554 พบว่า ไม่มีสัญญาณเงินทุนเคลื่อนย้ายจากนักลงทุนต่างชาติที่น่ากังวล ไม่ว่าจะเป็นการเข้าซื้อหรือเทขายหลักทรัพย์ในปริมาณมากอย่างรวดเร็ว อีกทั้งนักลงทุนรายย่อยในประเทศมิได้ลงทุนตามนักลงทุนต่างชาติ แต่พฤติกรรมของนักลงทุนรายย่อยมักจะเป็นไปในทิศทางตรงข้ามกับนักลงทุนต่างชาติ และมักจะเป็นทิศทางที่ตรงข้ามกับตลาด กล่าวคือ นักลงทุนรายย่อยมักจะเข้าซื้อในจังหวะที่ตลาดปรับตัวลง แล้วจึงขายในจังหวะที่ตลาดปรับตัวสูงขึ้น จึงอาจกล่าวได้ว่านักลงทุนรายย่อยลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้นเพื่อทากาไรจากส่วนต่างของราคา ในขณะที่นักลงทุนต่างชาติจะเข้าซื้อตามความเชื่อมั่นในสภาพเศรษฐกิจและเสถียรภาพการเมืองของไทย

                ดังนั้น หน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับควบคุมตลาดทุนไทยและคาดการณ์ทิศทางของตลาดหลักทรัพย์ไทย จึงควรจับตามองตลาดในภูมิภาคอาเซียนและดัชนี Dow Jones ของสหรัฐฯ เนื่องจากเป็นตลาดที่เคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกันกับตลาดหลักทรัพย์ของไทยในระดับสูง เพื่อให้ตลาดทุนไทยมีความเคลื่อนไหวอย่างมีเสถียรภาพ พร้อมทาหน้าที่เป็นแหล่งระดมเงินทุนของภาคเอกชนไทยต่อไป

Tuesday, September 20, 2011

"ถ้าท้อเป็นเพียงถ่าน ถ้าผ่านจึงเป็นเพชร"

ขอยกตัวอย่าง topic สำหรับการทำงานที่เคยเจอมาบ่อยครั้งคือ เรื่องการท้อแท้ในชีวิตการทำงานจะไม่ขอพูดถึงว่าทำไมหรือสาเหตุเพราะอะไรเนื่องจากว่าคำตอบของคนๆนึงอาจจะไม่ใช่คำตอบของอีกหลายๆคน..ประมาณว่า ดีเราไม่ดีเค้าดีเค้าไม่ดีเรา”..บ่อยครั้งที่คนเราบ่นว่าท้อบ้างไม่อยากทำงานแล้วอยากออกจากงานบ้าง..ผมว่าการให้กำลังใจส่วนมากนั้นก็จะบอกว่า สู้สู้นะอย่าท้อไปเลยซึ่งผมก็เห็นด้วยคร้าบ แต่อยากจะเสริมว่า ถ้าเราดูให้ดีละก็เราทุกคนนนั้น มีเวลาที่ดีบ้างแย่บ้างสลับกันไป>…แบบว่ามันเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเราทุกๆคนที่ยังไงก็ต้องเจอ…..จะดีกว่าไหมถ้าเราเข้าใจตัวเราเองและก็ต้องให้กำลังใจตัวเองให้ได้ด้วย

สิ่งที่ผมสังเกตุมาจากประสบการณ์นั้นคนที่ ประสบความสำเร็จแล้วเป็นที่ยอมรับนั้น.....แต่ละคนล้มเหลวมาแล้วทั้งนั้นก่อนที่จะสำเร็จลองถามตัวเองดูนะคร้าบว่ามีใครบ้างที่ประสบความสำเร็จแบบว่าสร้างมาด้วยตังเองแล้วก่อนหน้านั้น ไม่เคยล้มเหลวบ้าง”??…ใช่คร้าบผมยังนึกไม่ออกและก็พยายามนึกไปเรื่อยๆเผื่อจะเจอนนั้นจะได้ไปถามว่าเค้าทำยังไงให้เส้นทางเดินโรยด้วยกลีบกุหลาบ แบบนั้น555…

เคยได้ยินคำนี้ไหมคร้าบ  "ถ้าท้อเป็นเพียงถ่าน ถ้าผ่านจึงเป็นเพชร" ผมได้อ่านเรื่องนี้จากอีเมล์นานแล้วเข้าใจว่าเรื่องนี้สรุปมาจากหนังสือรึเปล่าไม่แน่ใจเอาเป็นว่าก็ขอเอามาแชร์กันคร้าบเผื่อจะเป็นกำลังใจให้คนที่ผ่านมาอ่านข้อความนี่ในบล๊อกนี้กัน…..

เพชรมีค่ามากกว่าถ่านหลายล้านเท่าทั้ง ๆ ที่เพชรเป็นธาตุคาร์บอนเหมือนกัน แต่ไม้ผ่านการอบการเผา มาไม่นานก็กลายเป็นถ่าน …..แต่เพชรผ่านความร้อน ไม่ต่ำกว่า 5,000 องศาฟาเรนไฮน์ ได้รับความกดดันมากกว่า 1 ล้านปอนด์ต่อตารางนิ้ว ด้วยระยะเวลาอันยาวนาน จนกระทั่งกลายเป็นเพชร ……เพชรที่เป็นเครื่องประดับอันงดงาม พร้อม ๆ กับเป็นของที่มีความแข็งมากที่สุดในโลก ……ถ้าใครกำลังได้รับความกดดันอยู่ จงอดทน จงอดทน ถ้าสถานการณ์กำลังบีบคั้น ให้กำลังใจตัวเองด้วยการบอกว่า….ชัยชนะกำลังรออยู่ข้างหน้าถ้ายังถูกโหมกระหน่ำอีกให้รู้ตัวว่าเรากำลังใกล้จะเป็นเพชรเต็มที่แล้ว....

บางทีสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับเรา เราก็ละเลยไม่เห็นคุณค่า เวลาที่เราได้สูญเสียสิ่งนั้นไป เราจึงจักได้พบคำตอบ เหมือนดั่งรองเท้าคู่เก่า ที่เชย และทิ้งไปแล้ว แต่รองเท้าคู่ใหม่ทั้งกัด และใส่ไม่สบาย สุดท้ายก็ต้องเสียดายรองเท้าคู่เก่าที่ใส่สบายกว่า…ท้อได้แต่อย่าถอยคร้าบสิ่งมหัศจรรย์อย่างนึงของมนุษย์คือสามารถลุกขึ้นสู้ใหม่ได้ตราบเท่าที่เราคิดว่าเราทำมันได้...."You are what you think"  คร้าบเลือกเอาคร้าบว่าเราอยากจะเป็นแบบไหน [20/09/11, Kumpol]