ผมมีความเชื่อส่วนตัวว่า ทุกอย่างในโลกนี้มี Cycles ของมันเองและก็เชื่อต่อไปด้วยว่า ถ้าเราเรียนรู้จากความผิดพลาดในอดีตแล้ว มันจะสามารถให้ข้อมูลเราในการเตรียมตัวสิ่งที่จะเกิดขึ้นไม่มากก็น้อย เพราะผมเชื่อว่า history repeats itself วันนี้เลยอยากลองเขียนเรื่องวิกฤตเศรษกิจที่ผ่านมาดู เพื่อจะเก็บไว้ใน library นี้เป็นข้อมูลตามความเข้าใจของเรา
ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าคำว่า history repeats itself ในแง่วิกฤตเศรษกิจนี่ไม่ได้หมายความว่ามันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติประมาณว่ายังไงซะมันต้องเกิด แต่มันเป็นเพราะ ความโลภ ของมนุษย์เองที่สร้างมันขึ้นมาและก็ enjoy กับสิ่งต่างๆที่เราสร้างมา ทุกอย่างดูเหมือนจะดี แต่ปัญหา !! อยู่ที่นี่คร้าบ ในแง่การลงทุนหรือการเงินนี่ ส่วนตัมผมมมองมันคือ Money Games ที่ Winners take All คืออะไร ก็ปลาใหญ่กินปลาเล็ก คนที่โลภและอยู่ในวงจรนี้ รู้ไม่ทันหรือออกมาไม่ทันก็จะกลายเป็นเหยื่อให้กับผู้ที่สามารถควบคุมกระแสเงินหรือควบคุม Games ได้
เอาละยกตัวอย่างให้เห็นภาพ Subprime Crisis ตอนปี 2008 ที่เกิดขึ้นเพราะ ความโลภและการการคอรัปชัน อย่างเป็นระบบในสหรัฐอเมริกาโดยภาคธุรกิจการเงิน และผลพวงของมัน วิกฤต Subprime จะไม่เกิดขึ้นเลย หากผู้ที่ควบคุมกฎกติกา ทำงานอย่างจริงจังโดยไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว
เอาละยกตัวอย่างให้เห็นภาพ Subprime Crisis ตอนปี 2008 ที่เกิดขึ้นเพราะ ความโลภและการการคอรัปชัน อย่างเป็นระบบในสหรัฐอเมริกาโดยภาคธุรกิจการเงิน และผลพวงของมัน วิกฤต Subprime จะไม่เกิดขึ้นเลย หากผู้ที่ควบคุมกฎกติกา ทำงานอย่างจริงจังโดยไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว
ในช่วง ค.ศ. 1940 -1980 เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาเจริญเติบโตอย่างไม่หยุดยัง โดยไม่มีวิกฤตการเงินแม้แต่ครังเดียว เพราะว่าภาคธุรกิจการเงินถูกควบคุมโดยกฎเกณฑ์อย่างแน่นแฟ้น ในทศวรรษ 1980 ภาคธุรกิจการเงินขยายตัวอย่างรวดเร็ว แต่ปรากฏว่าในช่วง 1981-2011 กลับกลายเป็นยุคเสรีที่ผ่อนปรนกฎเกณฑ์ควบคุม (deregulation) ภาคธุรกิจการเงินจนเกิดวิกฤตย่อยในปลายทศวรรษ 1980 ธุรกิจการเงินหลายแห่งรวมตัวกันกลายเป็นยักษ์ใหญ่ไม่กี่แห่ง
มีการแก้ไขกฎหมายเพื่อผ่อนปรนกฎเกณฑ์ควบคุม เพราะเชื่อทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ที่ว่าการมีกฎเกณฑ์น้อยลงทำให้เกิดความคล่องตัวทางธุรกิจ ต้นทุนจะต่ำลงกลไกตลาดที่สาธารณชนเห็นการทำงานอย่างชัดเจนจะผลักดันให้เกิดประสิทธิภาพ และผู้ได้รับประโยชน์คือประชาชน
การกู้ยืมอย่างเสรีโดยธุรกิจการเงินนำไปสู่การผสมกันของธุรกิจไฮเท็คและกฎเกณฑ์ที่หย่อนยานจนเกิดสิ่งที่เรียกว่าอนุพันธ์ทางการเงิน (derivatives) ซึ่งมีความซับซ้อนโยงใยกันระหว่างหลายธุรกรรมเพื่อการสร้างกำไรของธุรกิจการเงิน ตัวอย่างเช่นมีการออกตราสารการเงินที่ีมูลค่าขึ้น อยู่กับปริมาณหิมะตก ฝนตก การเปลี่ียนแปลงของอัตราดอกเบีย ดัชนีราคาหุ้น ฯลฯ พูดง่าย ๆ ก็คือสามารถเอาทุกสิ่งมาเล่นพนันได้ผ่านตราสารการเงินที่มีหลากหลายรูปแบบ
การกู้ยืมอย่างเสรีโดยธุรกิจการเงินนำไปสู่การผสมกันของธุรกิจไฮเท็คและกฎเกณฑ์ที่หย่อนยานจนเกิดสิ่งที่เรียกว่าอนุพันธ์ทางการเงิน (derivatives) ซึ่งมีความซับซ้อนโยงใยกันระหว่างหลายธุรกรรมเพื่อการสร้างกำไรของธุรกิจการเงิน ตัวอย่างเช่นมีการออกตราสารการเงินที่ีมูลค่าขึ้น อยู่กับปริมาณหิมะตก ฝนตก การเปลี่ียนแปลงของอัตราดอกเบีย ดัชนีราคาหุ้น ฯลฯ พูดง่าย ๆ ก็คือสามารถเอาทุกสิ่งมาเล่นพนันได้ผ่านตราสารการเงินที่มีหลากหลายรูปแบบ
ช่วงต้นทศวรรษ 2000 ภาคธุรกิจการเงินถูกครอบงำโดย 5 ยักษ์ใหญ่ Investment Banks (วานิชธนกิจ ซึ่ึงเป็นธนาคารที่ีทำหลากหลายธุรกรรมกว่าธนาคารธรรมดาที่เรารู้จักกัน) คือ Goldman Sachs/ Morgan Stanley/ Lehman Brothers/ Merrill Lynch/ และ Bear Stearns บวกสองยักษ์ใหญ่ทางการเงินคือ Citigroup และ J.P. Morgan บวกสาม บริษัทประกันคือ AIG/ MBIA/ AMBAC และสามผู้ประเมิน (Rating Agencies) คือ Moody’s/ Standar Poors/ Fitch ทั้งหมดนี้ร่วมกันหากินคล้ายการเป็นวงจรอาหารของสัตว์ กล่าวคือธนาคาร ทั้งหลายที่ปล่อยเงินกู้ให้แก่ประชาชนอย่างไม่พิจารณาเข้มข้น (sub-prime loans) ขายหนีให้แก่วานิชธนกิจ ซึ่งเอามารวมกันกับหนี้อย่างอื่นๆ ให้เป็นหลักทรัพย์คำประกันการออกตราสารอนุพันธ์ซึ่งเรียกว่า CDO’s (Collateralized Debt Obligations) แล้วเอาไปขายให้นักลงทุนทั่วโลก ประชาชน, นักลงทุนหรือ กองทุนลงทุน ก็ให้เงินกู้แก่วานิชธนกิจซึ่ึงก็คือการซืออนุพันธ์นี้เพราะได้ดอกเบีย ในอัตราน่าสนใจ
นักลงทุนเหล่านีก็มั่นใจในอนุพันธ์นี้ว่าเป็นการให้กู้ที่เชื่อได้ว่าจะได้เงินคืนในอนาคตแน่นอนเพราะสามยักษ์คือ Moody’s/ Standard & Poors และ Fitch มักประเมินให้ในระดับ AAA เสมอ วานิชธนกิจยักษ์ก็ได้กำไรจากการซือหนี้และหลักทรัพย์มาและเอามาเป็นหลักทรัพย์และออกอนุพันธ์ได้เงินกู้มา บริษัทประกันก็ได้จากการที่ีวานิชธนกิจเหล่านีเอา CDO’s มาประกัน สาม Rating Agencies ก็ได้จากการประเมินอนุพันธ์ ถ้าประเมินว่าดีก็ได้ค่าธรรมเนียมสูง ทุกคนได้หมดยกเว้นผู้ลงทุนปลายทางที่มีอยู่ทั่วโลกโดยเฉพาะในยุโรปใน
ตอนท้ายเมื่อต้นน้ำคือผู้กู้เงินมาซือบ้านไม่มีปัญญาผ่อนส่งเพราะเศรษฐกิจเกิดผันผวนการสะดุดขึ้นเช่นนีก็ส่งผลกระทบต่อไปเป็นลูกโซ่ เมื่ือบ้านถูกยึดและปล่อยเข้าตลาดมากขึนราคาหลักทรัพย์ก็ตกลง หลักทรัพย์คำประกัน CDO’s ก็มีค่าลดลง ส่งผลให้มูลค่าอนุพันธ์มีค่าลดลง ใครซื้อไว้ก็มีมูลค่าลดลงจนเป็นศูนย์ วานิชธนกิจยักษ์ใหญ่การเงินตลอดจนบริษัทประกันก็ถูกกระทบเพราะหลักทรัพย์ที่ีตนถือไว้มีค่าลดลง ผู้คนตื่ืนตระหนักพากันขาย CDO’s แต่หาคนซื้อไม่ได้ สถานการณ์ก็เลวร้ายลงทุกที ผู้ซื้ออนุพันธ์ต่างสูญเงินกันยับเยิน
นักลงทุนเหล่านีก็มั่นใจในอนุพันธ์นี้ว่าเป็นการให้กู้ที่เชื่อได้ว่าจะได้เงินคืนในอนาคตแน่นอนเพราะสามยักษ์คือ Moody’s/ Standard & Poors และ Fitch มักประเมินให้ในระดับ AAA เสมอ วานิชธนกิจยักษ์ก็ได้กำไรจากการซือหนี้และหลักทรัพย์มาและเอามาเป็นหลักทรัพย์และออกอนุพันธ์ได้เงินกู้มา บริษัทประกันก็ได้จากการที่ีวานิชธนกิจเหล่านีเอา CDO’s มาประกัน สาม Rating Agencies ก็ได้จากการประเมินอนุพันธ์ ถ้าประเมินว่าดีก็ได้ค่าธรรมเนียมสูง ทุกคนได้หมดยกเว้นผู้ลงทุนปลายทางที่มีอยู่ทั่วโลกโดยเฉพาะในยุโรปใน
ตอนท้ายเมื่อต้นน้ำคือผู้กู้เงินมาซือบ้านไม่มีปัญญาผ่อนส่งเพราะเศรษฐกิจเกิดผันผวนการสะดุดขึ้นเช่นนีก็ส่งผลกระทบต่อไปเป็นลูกโซ่ เมื่ือบ้านถูกยึดและปล่อยเข้าตลาดมากขึนราคาหลักทรัพย์ก็ตกลง หลักทรัพย์คำประกัน CDO’s ก็มีค่าลดลง ส่งผลให้มูลค่าอนุพันธ์มีค่าลดลง ใครซื้อไว้ก็มีมูลค่าลดลงจนเป็นศูนย์ วานิชธนกิจยักษ์ใหญ่การเงินตลอดจนบริษัทประกันก็ถูกกระทบเพราะหลักทรัพย์ที่ีตนถือไว้มีค่าลดลง ผู้คนตื่ืนตระหนักพากันขาย CDO’s แต่หาคนซื้อไม่ได้ สถานการณ์ก็เลวร้ายลงทุกที ผู้ซื้ออนุพันธ์ต่างสูญเงินกันยับเยิน
คำถามก็คือ แล้วทางการสหรัฐปล่อยให้เกิดขึ้นได้อย่างไร? มองไม่เห็นหรือว่าวิกฤตกำลังมาเยือน คำตอบ ก็คือมีคนเห็นว่าการขาดการควบคุมการออกอนุพันธ์และ CDO’s ตลอดจนการขาดกฎเกณฑ์กำหนดต่างๆ ที่เหมาะสมคือจุดเริ่มต้นของความหายนะ แต่ไม่มีการฟังกัน ทางการสหรัฐก็เดินหน้าผ่อนปรนกฎเกณฑ์ต่อไป
เห็นไหมคร้าบว่าการที่ภาคธุรกิจการเงินพยายามปิดกันมิให้มีกฎเกณฑ์ที่แน่นแฟ้นเพราะทำกำไรให้ทุกฝ่ ายอย่างมหาศาล บาง CEO ของยักษ์ทั้งห้าก็หมุนเวียนเปลี่ยนกันมาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจของประธานาธิบดี บางคนก็ไปเป็นกรรมการบริษัทเหล่านี อาจารย์มหาวิทยาลัยที่ีหลายคนเป็นนักเศรษฐศาสตร์มีชื่อของโลก ก็เชียร์การผ่อนปรนกฎเกณฑ์และตัวเองก็ได้ประโยชน์มหาศาลจากนโยบายเหล่านีด้วย
แม้จะเกิด Subprime Crisis แต่ CEOs และผู้เกี่ยวข้องในภาคธุรกิจเหล่านี้ล้วนได้เงินกันไปคนละหลายร้อยล้านเหรียญ ถึงแม้บริษัทจะล้มระเนระนาดก็ตาม และไม่มีใครติดคุกสักคน!!
คราวนี่รู้แล้วใช่ไหมคร้าบว่า ทำไม่ถึงได้มีการก่อกำเนิดกลุ่ม "Occupy Wall Street" ในภายหลังขึ้นเพื่อประท้วงกลุ่มคนเหล่านี้ เพราะผู้คนเริ่มเข้าใจมากขึ้นว่า ความโลภนี้ก่อให้เกิดปัญหาใหญ่กระทบต่อสังคมโดยกว้าง และเห็นถึงความเลวร้ายของระบบที่ีมีความโลภเป็นตัวขับเคลื่อน
ปัจจุบันแม้ Obama จะดูเป็นคนรุ่นใหม่มีแนวคิด Changes ตามที่หาเสียงไว้ก็ตาม แต่อิทธิพลเก่าก็ยังคงกลับมาอีก Wall Street สัญลักษณ์ตัวแทนของยักษ์ใหญ่ธุรกิจการเงิน ยังทรงอำนาจมหาศาลในการเมืองอย่างไม่หายไปไหน
ลองดู Jonathan Jarvis อธิบายเรื่อง Subprime Credit Crisis แบบง่ายๆข้างล่างนี้ ลองดูคร้าบ
Creditted by: Varaporn Samkosaid, Matichon / Jonathan Jarvis
Creditted by: Varaporn Samkosaid, Matichon / Jonathan Jarvis
kumpol: fEB 15, 2012
No comments:
Post a Comment