Generation B (Baby Boomer Generation) คือ กลุ่มคนที่เกิดระหว่างปี พ.ศ. 2489 – 2507 อายุ 48 – 66 ปี จะเป็นคนที่มีชีวิตเพื่อการทำงาน เคารพกฎเกณฑ์ กติกา อดทน ให้ความสำคัญกับผลงานแม้ว่าจะต้องใช้เวลานานกว่าจะประสบความสำเร็จ อีกทั้งยังมีแนวคิดที่จะทำงานหนักเพื่อสร้างเนื้อสร้างตัว มีความทุ่มเทกับการทำงานและองค์กรมาก คนกลุ่มนี้จะไม่เปลี่ยนงานบ่อยเนื่องจาก มีความจงรักภักดีกับองค์กรอย่างมาก ปัจจุบันนักการตลาดในหลายๆ ประเทศเน้นทำการตลาดกับกลุ่มนี้เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีขนาดใหญ่ มีกำลังซื้อ มีศักยภาพในการบริโภคสินค้า มีทัศนคติที่ดีต่อการซื้อจับจ่ายใช้สอยสินค้าเพื่อตัวเองและบุคคลใกล้ชิด
Generation X (Extraordinary Generation) คือ กลุ่มคนที่เกิดระหว่างปี พ.ศ. 2508 – 2522 อายุ 33 – 47 ปี มีลักษณะพฤติกรรมชอบอะไรง่าย ๆ ไม่ต้องเป็นทางการ ให้ความสำคัญกับเรื่องความสมดุลระหว่างงานกับครอบครัว (Work – life balance) มีแนวคิดและการทำงานในลักษณะรู้ทุกอย่างทำทุกอย่างได้เพียงลำพังไม่พึ่งพาใคร มีความคิดเปิดกว้าง พร้อมรับฟังข้อติติงเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาตนเอง ในด้านพฤติกรรมการบริโภคจะเป็นกลุ่มคนหนุ่มสาวที่กล้าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยทำงานในลักษณะใช้ความคิด สมาชิกหลักในครอบครัวทำงานทั้งสองคนใช้ชีวิตแบบทันสมัย
Generation Y (Why Generation) คือ กลุ่มคนที่เกิดระหว่างปี พ.ศ. 2523 – 2533 อายุ 22 – 32 ปี เป็นกลุ่มคนที่โตมาพร้อมกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี เป็นวัยที่เพิ่งเริ่มเข้าสู่วัยทำงาน มีลักษณะนิสัยชอบแสดงออก มีความเป็นตัวของตัวเองสูง ไม่ชอบอยู่ในกรอบและไม่ชอบเงื่อนไข คนกลุ่มนี้ต้องการความชัดเจนในการทำงานว่าสิ่งที่ทำมีผลต่อตนเองและต่อหน่วยงานอย่างไร อีกทั้งยังมีความสามารถในการทำงานที่เกี่ยวกับการติดต่อสื่อสาร และยังสามารถทำงานหลาย ๆ อย่างได้ในเวลาเดียวกัน Gen-Y เป็นผู้บริโภคที่ใจร้อน ต้องการเห็นผลสำเร็จทุกอย่างอย่างรวดเร็วเนื่องจากเชื่อในศักยภาพของตนเอง กลุ่มคน Gen-Y เชื่อว่าการประสบความสำเร็จในชีวิตจะเกิดขึ้นต้องทำงานหนัก ทำให้มีการแต่งงานช้าลง ไม่ถึง 30 ไม่แต่ง ถ้ามีแฟนแล้วแฟนมีอุปสรรคกับงาน ก็จะเลิกกับแฟนเลือกงาน คนกลุ่มนี้มักเปลี่ยนงานบ่อย มีเครดิตการ์ดมากกว่า 1ใบ ใช้บริการประเภทและมักใช้บริการ Personal Credit มากขึ้น
Generation M (Millennium Generation) อายุปัจจุบันจะอยู่ในช่วง 18-20+ ปี หรือในบางตำรารวมเด็กอายุต่ำกว่า 18 ด้วย เรียกติดปากว่า เด็กแนว เป็นสมาชิกในครอบครัวที่ได้รับการดูแลเป็นพิเศษและได้รับการสั่งสอนเพื่อไม่ให้ตกอยู่ในอำนาจของสิ่งยั่วยุ มอมเมาซึ่งไม่เคยมีมาก่อนในอดีต เช่น ยาเสพติด สุรา ทีวีมอมเมาเยาวชน พฤติกรรมก้าวร้าว เอดส์ รวมไปถึงการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันสมควร Gen M เป็นผู้บริโภคแห่งความหวัง (Generation of Hope) ที่ผู้ใหญ่หวังว่าจะมีชีวิตอยู่เพื่อแก้ไขความผิดพลาดที่ตนทำในอดีต บุคคลกลุ่มอายุนี้จะให้ความสำคัญกับคอมพิวเตอร์ ภาษาอังกฤษ ไม่ชอบเป็นลูกจ้าง อยากเป็นเจ้าของกิจการขนาดเล็ก มีแนวทางและอิสระเป็นของตัวเองชัดเจน ชอบดู Channel V, MTV (TaNteE.NET, 2548 : ออนไลน์) การทำตลาดของสินค้าโดยเฉพาะสินค้าด้านสุขภาพที่จะสามารถเจาะกลุ่มตลาดนี้ได้ในขณะที่ต้องเป็นสินค้าที่มีคุณภาพแล้ว ยังต้องมีความเป็นตัวเองสูง และมีความโดดเด่น อีกทั้งการเข้าถึงกลุ่ม Gen M หากทำในตลาดปรกติเพียงอย่างเดียวอาจไม่สามารถสื่อสารกับ Gen M ได้เพียงพอ เพราะผู้บริโภคกลุ่มนี้เปิดรับข้อมูลข่าวสารโดยใช้สื่อดิจิตอลเป็นหลัก การเข้าถึงและการทำตลาดกับ Millennium Generation จึงควรมุ่งเน้นที่สื่อดิจิตอลเป็นสำคัญ
Source: http://www.sara-dd.com/
Idea Library: ถ่ายทอดความคิดและมุมมองผ่าน ชีวิตนักลงทุน ที่มีต่อตลาดทุน และ ชีวิตการทำงาน ในสังคมประเทศไทย..!
Tuesday, January 31, 2012
Wednesday, January 25, 2012
The Social Media Cheat Sheet
‘The Small Business Social Media Cheat Sheet’ looks at the pros and cons of social media platforms Twitter, Facebook, YouTube, Google+, Tumblr and Digg; the lingos, and how to use the platforms to help businesses navigate social media sites on the web.
According to the infographic, the social media platform with biggest social media audience size is Facebook (800 million users), with YouTube having the second biggest audience size of 490 millino unique users.
Source: Column Five
According to the infographic, the social media platform with biggest social media audience size is Facebook (800 million users), with YouTube having the second biggest audience size of 490 millino unique users.
Source: Column Five
The Sharing Avalanche [Infographic]
What does 60 seconds of social media look like? How many people are actually on Facebook, Twitter and Google+? How often do people use Foursquare as opposed to Tumblr? A new exclusive infographic examines the numbers and may surprise you — social is still growing rapidly.
Social sharing is the backbone of social media and thanks to Voltier Digital & Plastick Media for the great graphic. Every time a piece of content is sent out on a social channel, the aim is to have it shared and increase the brand’s visibility. Check out some of the interesting stats below and the infographic below that.
Also interesting to note is the statistics for people who do not share content on social media.
The infographic presents some great trends for social media used by brands for promotions:
Social sharing is the backbone of social media and thanks to Voltier Digital & Plastick Media for the great graphic. Every time a piece of content is sent out on a social channel, the aim is to have it shared and increase the brand’s visibility. Check out some of the interesting stats below and the infographic below that.
- 1000 people post to Tumblr every 60 seconds
- 2000 people check in to Foursquare every 60 seconds
- Social media accounts for 24% of all time spent online
- 250 million photos are uploaded to FB every day
Also interesting to note is the statistics for people who do not share content on social media.
- A look at Twitter stats shows that only 47% of Twitter accounts are active and half of the registered Twitter users follow 2 or lesser number of people.
- 11 % of Facebook accounts are inactive.
The infographic presents some great trends for social media used by brands for promotions:
- It has been noticed that 70% of adults who use social media also shop online.
- 53% of active networkers follow a brand on social media.
- 60% of those who use digital methods to research about the products they intend to buy, learned about it on social media sites.
Thursday, January 12, 2012
Faith Dog อย่าท้อ ผมเป็นหมายังทำได้ืเลยคุณก็ทำได้
Faith เฟธ เป็นสุนัข สองขา ที่อาจจะดูคล้ายนกกระจอกเทศเวลามันเดิน และหลายคนคงเคยเห็นรูปของ เฟธ ตาม EMail หรือเว็บไซค์ต่าง วันนี้เรามารู้จักมันให้ดีขึ้นดีกว่า
ข้อมูลเฉพาะ ของ สุนัข2ขา ชื่อว่า เฟธ ( Faith )
- เฟธ ( Faith ) แปลว่า ศรัทธา ความมุ่งมั่น
- เฟธ เกิดในวันคริสมาสอีสปี 2002
- เจ้าของ เฟธ ชื่อว่า Jude Stringfellow
- โดยบุตรชายของ Jude Stringfellow เป็นผู้ไปพบมัน ในสภาพใกล้ตาย ร่างกายซูบผอม คงเป็นผลมาจากการที่ไม่มีขาหน้า ทำใ้ห้ไม่สามารถแย่งกินนมทันตัวอื่น
- เมื่อแรกเกิด เฟธ มี 3 ขา โดย สองขาหลังนั้นสมบูรณ์ดี ส่วนขาหน้านั้นมีเพียงขาเดียวทั้งยังมีลักษณะลีบเล็ก
- ในช่วงแรก เฟธ ไม่สามารถเดินได้ จึงเริ่มฝึกมันโดยการนำไปวางบนสเกตท์ ให้มันถีบตัวเคลื่อนไปข้างหน้า โดยการใช้ถั่วพีนัสเจลลี่ ที่มันชื่นชอบ เป็นของล่อ จนมันสามารถยกตัวยืนได้
- ในบ้างครั้งก็มีการฝึกให้ เฟธ เดินในหิมะ จนมันสามารถเดินสองขาได้เหมือนคนอย่างคล่องแคล่วในที่สุด
- เฟธ ( Faith ) แปลว่า ศรัทธา ความมุ่งมั่น
- เฟธ เกิดในวันคริสมาสอีสปี 2002
- เจ้าของ เฟธ ชื่อว่า Jude Stringfellow
- โดยบุตรชายของ Jude Stringfellow เป็นผู้ไปพบมัน ในสภาพใกล้ตาย ร่างกายซูบผอม คงเป็นผลมาจากการที่ไม่มีขาหน้า ทำใ้ห้ไม่สามารถแย่งกินนมทันตัวอื่น
- เมื่อแรกเกิด เฟธ มี 3 ขา โดย สองขาหลังนั้นสมบูรณ์ดี ส่วนขาหน้านั้นมีเพียงขาเดียวทั้งยังมีลักษณะลีบเล็ก
- ในช่วงแรก เฟธ ไม่สามารถเดินได้ จึงเริ่มฝึกมันโดยการนำไปวางบนสเกตท์ ให้มันถีบตัวเคลื่อนไปข้างหน้า โดยการใช้ถั่วพีนัสเจลลี่ ที่มันชื่นชอบ เป็นของล่อ จนมันสามารถยกตัวยืนได้
- ในบ้างครั้งก็มีการฝึกให้ เฟธ เดินในหิมะ จนมันสามารถเดินสองขาได้เหมือนคนอย่างคล่องแคล่วในที่สุด
พัฒนาการ ด้านการเดินของ เฟธ ที่ช่วงอายุต่างๆ
-เมื่อ เฟธ อายุได้ประมาณ 7 เดือน มีความจำเป็นต้องตัดขาหน้าของมันทิ้ง เนื่องจากสภาพขาที่ไม่สมบูรณ์เริ่มเน่า ทำให้มันเหลือเพียง สองขา
- หลังจาก เฟธ เริ่มเดินได้มันก็ชื่นชอบการเดิน และติดตาม Jude Stringfellow ไปไหนมาไหนในเมือง และเป็นที่รู้จักของคนทั้งเมือง
ไม่ว่า เฟธ จะเดินไปที่ไหนก็เป็นที่สนใจของคนทั้งเมือง ทุกคนรักมัน
- ในยุคดิจิตอล ข่าวนั้นแพร่ได้อย่างรวดเร็ว เพียงไม่นาน ด้วยเสน่ห์ และส่วนที่เติมเต็มบางสิ่งในใจคนหลายๆคน เฟธ ได้ออกรายการทีวี และเป็นที่รู้จักในวงกว้าง
- เฟธ ยังมีหนังสือชีวประวัติโดยการเขียนของ Jude Stringfellow ชื่อหนังสือว่า " With a Little Faith "
- ต่อมา Jude Stringfellow ได้ลาออกจากงาน เพื่อ ออกเดินทาง ไปกับ เฟธ เพื่ิอให้กำลังใจต่อ บุคคลที่กำลังท้อแท้ต่อชีวิต ในสิ่งที่เธอเชื่อว่า ทุกคนสามารถมีจิตวิญญาณที่สมบูรณ์ ใน ร่างการที่บกพร่องได้ " One can have a perfect soul without a perfect body."
หนึ่งในกิจกรรมที่ เฟธ ออกไปพบกับเด็กๆ
อีกหนึ่งกิจกรรมที่ เฟธ ไปเป็นกำลังใจให้ใครอีกหลายคนว่า อย่าท้อ (ผมเป็นหมาผมยังทำได้ืเลยคุณก็ทำได้) One can have a perfect soul without a perfect body.
ภาพ เฟธ ปัจจุบัน (2012) อายุ 9 ปี ยังแข็งแรงดี
คลิป Faith on Youtube
Source: wowboom.blogspot.com ,/faiththedog.info
Tuesday, January 10, 2012
สรุปภาพรวมเจาะลึกคนไทยดูอะไรใน Facebook และ Youtube มากที่สุดในปี 2011
เว็บไซต์ ZocialRank ซึ่งเป็นเว็บไซต์จัดอันดับแฟนเพจและข้อมูลสถิติต่างๆรวมรวมสถิติโซเชี่ยลเน็ตเวิรก์ของไทย ได้สรุปภาพรวม facebook และ Youtube ประเทศไทยประจำปี 2011
คุณสามารถดูภาพรวมการเติบโตของการใช้งาน Facebook ในประเทศไทยในปี 2011 ว่ามีความเคลื่อนไหวเป็นอย่างไรบ้าง? จาก Infographic Facebook Page ไหนมีสมาชิกเป็นอันดับหนึ่ง และแต่ละหมวดหมู่มีบริษัทและแบรนด์ไหนบ้างที่ติดอันดับ
Youtube กลายเป็นสื่อที่คนไทยนิยมดูวีดีโอประเภทต่างๆ ผ่านทางออนไลน์มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็น เพลง หนัง หรือละครต่างๆ พฤติกรรมของคนไทยเปลี่ยนไปมาก เพราะเดียวนี้คนไทยไม่ค่อยแคร์แล้วว่าจะดูละคร หรือรายการทีวีไหนไม่ทัน เพราะทันทีที่รายการนั้นจบลง เพียงไม่กี่นาที รายการทีวีนั้นๆ ก็จะไปปรากฏอยู่บน Youtube แทบจะทันที รวมถึงวีดีโอหรือคลิปประเภทต่างๆ ที่หลั่งไหลจากคนไทยเข้ามาอยู่บน Youtube อย่างมาก แต่คุณอยากรู้ไหมว่า วีดีโออันไหนที่คนไทยเราดูมากที่สุดในปี 2011 และ วีดีโอประเภทอะไรที่คนไทยนิยมดูมากที่สุด รวมถึงพฤติกรรมคนไทยกับการรับชม Youtube เป็นอย่างไร คุณสามารถดูภาพรวมการเติบโตของการใช้งาน Youtube ในประเทศไทยในปี 2011 ว่ามีความเคลื่อนไหวเป็นอย่างไรบ้าง จาก Infographic Youtube Page
Source: ZocialRank
คุณสามารถดูภาพรวมการเติบโตของการใช้งาน Facebook ในประเทศไทยในปี 2011 ว่ามีความเคลื่อนไหวเป็นอย่างไรบ้าง? จาก Infographic Facebook Page ไหนมีสมาชิกเป็นอันดับหนึ่ง และแต่ละหมวดหมู่มีบริษัทและแบรนด์ไหนบ้างที่ติดอันดับ
Youtube กลายเป็นสื่อที่คนไทยนิยมดูวีดีโอประเภทต่างๆ ผ่านทางออนไลน์มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็น เพลง หนัง หรือละครต่างๆ พฤติกรรมของคนไทยเปลี่ยนไปมาก เพราะเดียวนี้คนไทยไม่ค่อยแคร์แล้วว่าจะดูละคร หรือรายการทีวีไหนไม่ทัน เพราะทันทีที่รายการนั้นจบลง เพียงไม่กี่นาที รายการทีวีนั้นๆ ก็จะไปปรากฏอยู่บน Youtube แทบจะทันที รวมถึงวีดีโอหรือคลิปประเภทต่างๆ ที่หลั่งไหลจากคนไทยเข้ามาอยู่บน Youtube อย่างมาก แต่คุณอยากรู้ไหมว่า วีดีโออันไหนที่คนไทยเราดูมากที่สุดในปี 2011 และ วีดีโอประเภทอะไรที่คนไทยนิยมดูมากที่สุด รวมถึงพฤติกรรมคนไทยกับการรับชม Youtube เป็นอย่างไร คุณสามารถดูภาพรวมการเติบโตของการใช้งาน Youtube ในประเทศไทยในปี 2011 ว่ามีความเคลื่อนไหวเป็นอย่างไรบ้าง จาก Infographic Youtube Page
Source: ZocialRank
ทำไมเราถึงใช้เวลาไปกับโลกออนไลน์ ?
วันนี้อยากจะมาแชร์ข้อมูลให้ฟังกันหลังจากใช้เวลาซักพักในการอ่าน Research papers ต่างๆก็จะมาสรุปให้ฟังกันนะคร้าบว่าเหตุผลอะไร ผู้คนถึงใช้เวลาไปกับโลกออนไลน์ ต้องหมายเหตุไว้ก่อนครับว่าในโลกออนไลน์นั้นมีหลายหลายประเภท เช่น Online community, Virtual Community, Online bulletin, Virtual world, Social Network Site วันหลังมีโอกาสจะมาว่าต่อเรื่องนี้ เหตุผลลำดับต้นๆเลยคือ Exchange information กับ Social support คร้าบ มันคืออะไรมาดูกัน
1. Exchange information ส่วนมากคนใช้เวลาในโลกออนไลน์ในการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนข้อมูลกัน ทั้งแบบรู้ตัวและไม่รู้ตัวครับ เช่น หาข้อมูลเรื่องการเรียน หาอ่านเรื่องที่เราสนใจทั้งที่เคยรู้และไม่เคยรู้มาก่อน แลกเปลี่ยนประสบการณืและเรียนรู้จากประสบการณ์ทั้งความล้มเหลวและความสำเร็จจากคนอื่น
2. Social support ผู้คนใช้โลกออนไลน์ในการเป็นทั้งผู้ให้และผู้รับในแง่ของการสนับสนุน เรื่องต่างๆที่เป็นตัวเรา ยกตัวอย่างโลกออนไลน์เป็นสื่อที่สามารถแสดงออกว่าเรา รัก โลภ โกรธ หลง อะไร หรือมีความเห็นกับเรื่องต่างๆอย่างไรบ้าง รวมถึงแชร์ปัญหาต่างๆให้คนอื่นมีส่วนร่วมในการช่วยแก้ปัญหา หรือ เป็นกำลังใจให้ผ่านช่วงเวลาแย่ๆไปได้ หรือ แม้กระทั่งเป็นการแบ่งปันความคิดความเห็น หรือแสดงให้คนอื่นเห็นว่าเราได้มีประสบการณ์หรือผ่านอะไรมา
3. Friendship เราใช้เวลาในการหาสังคมที่เรากำหนดความเป็นตัวตนของเพื่อนเราโดย พูดคุยหรือพบปะกับคนที่มีความเห็นในแนวทางเดียวกับเรา พูดคุยในเรื่องที่สนใจเหมือนกัน หรือแม้กระทั่งหาคนที่เป็นแบบเดียวกับตัวเราในด้านหรือมุมต่างๆที่เราเป็น
4. Recreation หลักๆเพื่อการตอบโจทย์ตัวเราในแง่ความบันเทิง เช่น เราสนุกไปกับการ อ่านหรือดู ข้อความที่มีการแชร์หรือถกเถียงกันในประเด็นต่างๆ รวมถึงมีส่วนร่วมในการแชร์ หรือเพิ่มเติมความเห็นเราเองในประเด็นที่ถูกใจเรา
5. Technical features in the community ประเด็นนี้ไม่น่าเชื่อ แต่ก็เป็นผลจากงานวิจัยคร้าบว่า คนใช้เวลาในโลกออนไลน์เพื่อสังเกตุและเรียนรู้จากหน้าตา interface ต่างๆที่น่าใช้ รวมถึงเทคนิคต่างๆในโลกออนไลน์ เพื่อมาปรับประยุกต์ใช้
ถ้ามีเวลาคราวหน้าจะยกเอาเหตุผลจากงานวิจัยมาให้ดูคร้าบว่าอะไรคือ ปัจจัยที่ทำให้คนไทยเราหันมาใช้ Social network เอาเนื้อๆเน้นๆเฉพาะคนไทยคร้าบ
Kumpol: 06/01/12
Friday, January 6, 2012
บทสรุปหนังสือ The 8th Habit : From Effectiveness to Greatness
The 8th Habit : From Effectiveness to Greatness เป็นหนังสือเล่มต่อจาก The 7 Habits of Highly Effective People ซึ่งประพันธ์โดย Stephen Covey ใช้เวลานานกว่า 15 ปีในการรวบรวมข้อมูลและประพันธ์ผลงานชิ้นนี้ออกมา
หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงวิธีการผันตัวเองจากคนที่ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพให้กลายเป็นผู้นำที่มีบุญญาบารมี ซึ่งหนังสือเล่มนี้มีใจความสำคัญดังต่อไปนี้
ก่อนจะกล่าวถึงนิสัยประการที่แปด ขอกล่าวย้อนถึงนิสัยทั้งเจ็ดประการโดยสรุป อันได้แก่
กฎข้อที่1. นิสัยรู้และเลือก (Be Proactive) คือการมีสติอยู่กับตัวอยู่ตลอดเวลา รู้ตัวว่าขณะนี้ตนเองกำลังคิดอะไร พูดอะไร และทำอะไรอยู่ เพื่ออะไร และจะเกิดผลอะไรตามมา
กฎข้อที่2. สร้างเป้าหมายในชีวิตเป็นภาพจารึกไว้ในจิตใจ (Begin with the End in Mind) คือการมีเป้าหมายที่ชัดเจนและแน่นอน
กฎข้อที่3. ทำสิ่งที่ต้องทำก่อน (Put First Things First) คือการเลือกทำในสิ่งที่นำพาเราไปสู่เป้าหมายก่อนเป็นอันดับแรก
กฎข้อที่4. การรู้จักแบ่งปันผลประโยชน์ให้แก่ผู้อื่นด้วย (Think Win/Win)
กฎข้อที่5. การพยายามเข้าใจผู้อื่นมากกว่าให้ผู้อื่นมาเข้าใจเรา (Seek first to understand, and then to be understood)
กฎข้อที่6. การสร้างทีมเวิร์ค (Synergize)
กฎข้อที่7. การเพิ่มพลังชีวิต (Sharpen the Saw) คือการรู้จักดูแลสภาพร่างกายและจิตใจของตนเองให้แข็งแรงและแจ่มใสอยู่เสมอ
กฎข้อที่2. สร้างเป้าหมายในชีวิตเป็นภาพจารึกไว้ในจิตใจ (Begin with the End in Mind) คือการมีเป้าหมายที่ชัดเจนและแน่นอน
กฎข้อที่3. ทำสิ่งที่ต้องทำก่อน (Put First Things First) คือการเลือกทำในสิ่งที่นำพาเราไปสู่เป้าหมายก่อนเป็นอันดับแรก
กฎข้อที่4. การรู้จักแบ่งปันผลประโยชน์ให้แก่ผู้อื่นด้วย (Think Win/Win)
กฎข้อที่5. การพยายามเข้าใจผู้อื่นมากกว่าให้ผู้อื่นมาเข้าใจเรา (Seek first to understand, and then to be understood)
กฎข้อที่6. การสร้างทีมเวิร์ค (Synergize)
กฎข้อที่7. การเพิ่มพลังชีวิต (Sharpen the Saw) คือการรู้จักดูแลสภาพร่างกายและจิตใจของตนเองให้แข็งแรงและแจ่มใสอยู่เสมอ
กฎข้อที่ 8. การผันตัวเองให้กลายเป็นผู้นำที่มีบุญญาบารมี (From Effectiveness to Greatness)
Steve มีความเชื่อว่า ในยุคปัจจุบันบุคลากรในองค์กรถูกมองว่าเป็นตัวสร้างหนี้สิน เป็นตัวสร้างปัญหามากกว่าเป็นสินทรัพย์ที่มีค่าต่อองค์กร ดูได้จากระบบต่าง ๆ ที่บริษัทสร้างขึ้นมาเพื่อกำหนดกฎเกณฑ์ให้พนักงานทำตามเสมือนกับพนักงานเป็นเพียงเครื่องจักรที่มีหน้าที่ผลิตผลงาน เมื่อไม่ได้ผลกำไรตามที่ตั้งไว้ก็คัดคนออกหน้าตาเฉย พนักงานทุกคนจึงขาดขวัญและกำลังใจ ไม่มีความสำนึกรักในองค์กรขอให้ตนเองอยู่รอดไปวันหนึ่ง ๆ ก็พอ เมื่อเป็นเช่นนี้การที่องค์กรจะประสบความสำเร็จก็คงเป็นไปได้ยาก Steve จึงนำเสนอวิธีการที่จะเป็นผู้นำที่มีบุญญาบารมีที่สามารถสร้างขวัญกำลังใจและจิตสำนึกให้กับพนักงานทุกคนร่วมมือร่วมใจกันสร้างสรรค์ผลงานให้แก่องค์กร วิธีการดังกล่าวคือ
1. การสร้างเสียงในใจ (Inner voice) เสียงนี้เป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถสร้างขึ้นมาได้ โดยมีขั้น ตอนเบื้องต้น 3 ประการ คือ
- เปิดใจให้กว้างยอมรับความเป็นจริงทุกอย่างในชีวิต มองปัญหาทุกอย่างเป็นเรื่องธรรมดาที่มนุษย์ทุกคนต้องประสบ เมื่อยอมรับได้จิตใจจึงจะสงบ
- มีความปรารถนาดีกับคนรอบข้างอยากให้ผู้อื่นมีความสุข อยากให้องค์กรมีความเจริญรุ่งเรือง
- คิดบวกหรือมองโลกในแง่ดี ไม่ตีโพยตีพายเมื่อเจอปัญหาและอุปสรรค
1.1 วิธีการสร้างเสียงในใจ (Inner voice) หรือตัวรู้ให้ บังเกิดขึ้นในจิตของตัวเอง
1.1.1 เลือกพูด เลือกทำ เลือกคิด เลือกตัดสินใจ เมื่อสิ่งภายนอกเข้ามากระทบอายาตนะทั้ง 6 อันได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และจิตใจ
ก่อนอื่นเราจะต้องรู้เนื้อรู้ตัวก่อนว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ และเรามีความรู้สึกและอารมณ์ต่อสิ่งเหล่านั้นอย่างไร เมื่อเรารู้จักตัวเองดีพอเมื่อมี สิ่งใด ๆ เข้า มากระทบทั้งทางการมองเห็น การได้ยิน การดมกลิ่น การลิ้มรส และการสัมผัส เราจึงจะเลือกได้ว่าเราจะควรจะตอบสนองต่อ สิ่งเหล่านั้นอย่างไรจึงจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด เมื่อเราเป็นผู้เลือกเองถึงแม้ว่ามันจะผิดพลาดไปบ้างเราก็จะไม่โทษผู้อื่น เราจะสามารถยอมรับสิ่ง ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างเต็มหัวใจเพราะเราเป็นผู้เลือกเอง เมื่อนั้นแล้วเราจึงจะเป็นผู้กำหนดชะตาชีวิตของตนเองได้อย่างแท้จริง
1.1.2 จงเคารพกฎธรรมชาติว่าด้วยเรื่องศีลธรรมจรรยา
เช่น - ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
- มีเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา
- มีศีล 5
- ขจัดซึ่งนิวรณ์ 5 อันได้แก่ ความโลภ หรือความอยากได้อยากมีอยากเป็นมากเกินความเหมาะสม ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ ความลังเลสงสัยความเบื่อหน่าย และความอิจฉาริษยาอาฆาตแค้น
- มีความกตัญญูกตเวที
- มีความจริงใจ ปากกับใจตรงกัน เมื่อจิตมีธรรมะ จิตก็สงบสบายไม่ว้าวุ่น ไม่ตึงเครียด เสียงในใจจึงจะเกิดขึ้น
- มีเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา
- มีศีล 5
- ขจัดซึ่งนิวรณ์ 5 อันได้แก่ ความโลภ หรือความอยากได้อยากมีอยากเป็นมากเกินความเหมาะสม ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ ความลังเลสงสัยความเบื่อหน่าย และความอิจฉาริษยาอาฆาตแค้น
- มีความกตัญญูกตเวที
- มีความจริงใจ ปากกับใจตรงกัน เมื่อจิตมีธรรมะ จิตก็สงบสบายไม่ว้าวุ่น ไม่ตึงเครียด เสียงในใจจึงจะเกิดขึ้น
1.1.3 ฝึกความฉลาด 4 ด้าน ได้แก่
- ความฉลาดทางความคิด คือการฝึกการวิเคราะห์ปัญหาโดยไม่มีความขุ่นมัวของอารมณ์ จิตใจต้องนิ่งสงบ ไม่ตีโพยตีพาย มองปัญหาเป็นเรื่องธรรมดามองอย่างเป็นตรรกะ(มองอย่างเป็นเหตุผล) มองที่มาของปัญหา และสิ่งที่พอจะแก้ไขได้ตอนนี้คืออะไร แล้วลงมือกระทำ
- ความฉลาดทางกาย คือการฝึกความรู้เนื้อรู้ตัวในทุกอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน
- ความฉลาดทางอารมณ์ (EQ.) คือการฝึกรู้เท่าทันอารมณ์ของตัวเองในทุกขณะจิต ขณะนี้เรารู้สึกอย่างไร ต้องสามารถ บอกออกมาได้อย่างชัดเจนเป็นคำพูด เช่น เมื่อเราโกรธเรารู้สึกอย่างไร หน้าตาของอารมณ์โกรธเป็นอย่างไร และสิ่งที่สำคัญคือ การรู้ให้ทันถึงจุดเปลี่ยนของอารมณ์จากอารมณ์ปกติเป็นอารมณ์ต่าง ๆ ว่าอารมณ์มันเปลี่ยนไปเพราะเหตุใด และเพราะอะไรจึง กลับมาสู่สภาวะปกติ
- ความฉลาดทางด้านจิตใจ คือการพยายามทำตัวเป็นคนดีอย่างเสมอต้นเสมอปลายโดยไม่หวังผลตอบแทน ไม่ใจอ่อนไปกับ
1.2 วิธีการปลุกเสียงในใจของผู้ร่วมงานและพนักงาน
จากวิธีการที่กล่าวมาข้างต้น เมื่อผู้นำสามารถปลุกเสียงในใจและมีพลังจิตที่สูงเพียงพอแล้วจึงจะสามารถปลุกเสียงในใจของผู้ร่วมงานและ พนักงานทุกคนให้เกิดขึ้นได้ โดยวิธีการดังต่อไปนี้
1.2.1 สร้างความเคารพ ยอมรับและศรัทธาจากพนักงานทุกคน
ผู้นำจะต้องแสดงให้ลูกน้องเห็นว่าตนนั้นเป็นคนที่สมควรจะได้รับความเคารพรักและศรัทธาจริง ๆ จะทำได้ต้องประกอบด้วยคุณสมบัติ 7 ประการคือ
- ไม่เสียเวลาทำในสิ่งที่เราไม่มีโอกาสเข้าไปมีส่วนร่วม ถึงแม้ว่าจะเป็นโครงการที่ดีขนาดไหนก็ตาม
- ปรึกษาและสอบถามวิธีการแก้ไขปัญหาต่างๆ จากบุคคลภายนอก
- ให้คำแนะนำและความช่วยเหลือบุคคลภายนอกองค์กรเพื่อขยายขอบเขตความสัมพันธ์
- มีปัญหาต้องรีบแก้ อย่าปล่อยให้คาราคาซัง
- ปรึกษาปัญหาต่าง ๆ กับหัวหน้าของเราหรือถ้าตัวเราอยู่ในตำแหน่งสูงสุดแล้วก็ควรปรึกษากับผู้ร่วมถือหุ้น เป็นต้น
- รายงานความคืบหน้าในการทำงานแก่หัวหน้าหรือผู้ร่วมถือหุ้นเป็นระยะ ๆ
- ทำงานอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยจนประสบความสำเร็จ
1.2.2 การสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจแก่พนักงานทุกคน ทำได้โดย
- มีหลักการและคุณธรรมในตัวเอง ปากกับใจตรงกัน (Trustworthiness)
- มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ มีปัญหาค่อยๆแก้ ไม่ใช้อารมณ์อยู่เหนือเหตุผล อารมณ์คงที่ไม่แปรปรวน (Maturity)
- ไม่อิจฉาริษยาผู้อื่น จิตใจกว้างขวาง โอบอ้อมอารี
- มีความรู้และเชี่ยวชาญในสิ่งที่ตัวเองทำเป็นอย่างดี ทั้งการติดต่อกับลูกค้า กับซัพพลายเออร์ กับผู้ร่วมงานในระดับเท่าๆกันและกับหัวหน้าแผนกต่างๆ และสามารถดูแลลูกน้องได้เป็นอย่างดีด้วย
- สร้างพฤติกรรมที่เป็นพื้นฐานในการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ ได้แก่
1) พยายามเข้าใจผู้อื่นก่อนที่จะให้ผู้อื่นมาเข้าใจเรา
2) รักษาคำมั่นสัญญา
3) ซื่อสัตย์สุจริตและมีความจริงใจ
4) บอกจุดประสงค์และสิ่งที่เราต้องการได้อย่างชัดเจนก่อนมอบหมายงาน
5) ไม่พูดพิงถึงบุคคลที่สามในทางที่ไม่ดี
6) กล้ายอมรับผิดและให้อภัยผู้อื่นเมื่อเขาทำผิดพลาด
2) รักษาคำมั่นสัญญา
3) ซื่อสัตย์สุจริตและมีความจริงใจ
4) บอกจุดประสงค์และสิ่งที่เราต้องการได้อย่างชัดเจนก่อนมอบหมายงาน
5) ไม่พูดพิงถึงบุคคลที่สามในทางที่ไม่ดี
6) กล้ายอมรับผิดและให้อภัยผู้อื่นเมื่อเขาทำผิดพลาด
1.2.3 สร้างทีมเวิร์ค (One Voice) สามารถทำได้โดย
- ผู้นำจะต้องได้รับความไว้เนื้อเชื่อใจจากลูกน้องก่อน
- ผู้นำต้องมอบหมายงานได้อย่างชัดเจนว่าเราต้องการอะไรจากงานชิ้นนี้
- ผู้นำต้องสามารถบอกได้ว่าลูกน้องแต่ละคนนั้นรับผิดชอบในเรื่องอะไรและมีความสำคัญต่อ
ความสำเร็จขององค์กรอย่างไรบ้าง ในการสร้างทีมเวิร์คนั้น Steve กล่าวว่าปัจจัยที่มักจะก่อให้เกิดความล้มเหลวคือ ผู้ร่วมงานไม่มีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน
ความสำเร็จขององค์กรอย่างไรบ้าง ในการสร้างทีมเวิร์คนั้น Steve กล่าวว่าปัจจัยที่มักจะก่อให้เกิดความล้มเหลวคือ ผู้ร่วมงานไม่มีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน
2. มีหลักการประจำใจ 3 ประการ ได้แก่
2.1 มีจิตใจฝักใฝ่ต่อจริยธรรมคุณธรรม (Ethos)
ทำสิ่งที่ถูกต้องให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ โดยไม่ต้องสนใจคนรอบข้างว่าเขาจะมีคุณธรรมหรือไม่มีคุณธรรม เมื่อมีคุณธรรมจิตใจของเราจะเข้มแข็ง ไม่หวั่นต่อคำสรรเสริญหรือคำนินทา
2.2 การแสดงออกซึ่งความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น (Pathos)
สิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเราต้องหัดเป็นผู้ฟังที่ดี ยิ่งฟังมากย่อมยิ่งเข้าใจอีกฝ่ายว่าเหตุใดเขาจึงแสดงพฤติกรรมเช่นนั้นออกมา และที่สำคัญคือต้อง รู้จักปล่อยวางบ้างเพราะในโลกนี้ไม่มีใครสมบูรณ์แบบ และอย่ามั่นใจนักว่าสิ่งที่เราเห็นหรือได้ยินนั้นจะเป็นข้อมูลที่ถูกต้องหนึ่งร้อยเปอร์เซ็นต์ ให้สัก แต่รู้สักแต่เห็น
2.3 การพยายามใช้เหตุผลอยู่เหนืออารมณ์ (Logos)
ก่อนจะลงมือทำสิ่งใดต้องมองให้เห็นถึงผลที่จะตามมาก่อนเมื่อรู้แล้วจึงจะเลือกได้ แต่การกระทำดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้จะต้องอาศัยสภาวะจิตที่สงบและเบาสบายจึงจะมองเห็นความเป็นจริงได้อย่างทะลุปรุโปร่ง
3. เคารพและให้เกียรติมนุษย์ด้วยกัน (Power of Win-Win Thinking)
ทำได้ง่าย ๆ โดยการหยุดคิดถึงผลประโยชน์ของตนเองเสียก่อน รู้จักให้เกียรติผู้อื่นบ้าง ถ้าทำได้ทุกคนที่เราจะต้องร่วมงานด้วย เช่น หัวหน้า เพื่อนร่วม งาน และลูกน้อง จะรู้สึกดีที่ได้ทำงานร่วมกับเรา ชื่อเสียงและภาพพจน์ที่ดีก็จะเริ่มแผ่ขยายออกไปเรื่อย ๆ จะมีผู้คนรักใคร่เมตตาซึ่งเป็นที่มาของการ สร้างบุญญาบารมี
4. ดูแลและชี้แนะลูกน้องให้ทำงานตามภารกิจให้ลุล่วงไปได้ด้วยดี
4.1 หัวหน้าที่ดีจะต้องถ่อมตนและเห็นความสำคัญของลูกน้องอยู่เสมอ
4.2 มอบหมายงานตรงตามความสามารถของลูกน้อง
4.3 ไว้ใจและให้โอกาสลูกน้องในการแสดงความสามารถ
4.4 บอกเป้าหมายของงานและกำหนดระยะเวลาได้อย่างแน่ชัด
4.5 ให้คำปรึกษาตลอดเวลาเมื่อมีปัญหาในการทำงาน
4.6 สนใจผลของงานมากกว่าขั้นตอนการทำงาน
4.7 สามารถดึงเอาศักยภาพของลูกน้องออกมาใช้ได้อย่างเหมาะสม คือสามารถสร้างความเชื่อมั่นและทำให้ลูกน้องรู้สึกว่าตนเองมีค่าและมีความสำคัญต่อองค์กร
4.2 มอบหมายงานตรงตามความสามารถของลูกน้อง
4.3 ไว้ใจและให้โอกาสลูกน้องในการแสดงความสามารถ
4.4 บอกเป้าหมายของงานและกำหนดระยะเวลาได้อย่างแน่ชัด
4.5 ให้คำปรึกษาตลอดเวลาเมื่อมีปัญหาในการทำงาน
4.6 สนใจผลของงานมากกว่าขั้นตอนการทำงาน
4.7 สามารถดึงเอาศักยภาพของลูกน้องออกมาใช้ได้อย่างเหมาะสม คือสามารถสร้างความเชื่อมั่นและทำให้ลูกน้องรู้สึกว่าตนเองมีค่าและมีความสำคัญต่อองค์กร
ใครที่สนใจอ่านสรุปหนังสือตอน 1 คลิกเข้าไปอ่านได้ครับที่นี่ The Seven Habits of Highly Effective People
บทสรุปหนังสือ The Seven Habits of Highly Effective People แต่งโดย Steven Covey
บทความที่นำเสนอสรุปประเด็นจากหนังสือยอดนิยมตลอดกาลเรื่อง The Seven Habits of Highly Effective People แต่งโดย Steven Covey มีใจความสำคัญ ดังต่อไปนี้ Steve มีความเชื่อในสมมติฐานที่ว่า คุณคิดอย่างไร คุณก็จะเป็นคนเช่นนั้น (You are what you think)
Steve เชื่อว่า เราคงจะประสบความสำเร็จและมีความสุขได้ยาก ถ้าเรามีสุขภาพที่เสื่อมโทรม ฉะนั้น เราจะต้องหมั่นรักษาสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรง พักผ่อนให้เพียงพอ กินอาหารที่มีประโยชน์ และออกกำลังกายเป็นประจำ นอกจากนั้น ผู้แต่งแนะนำให้เราหมั่นทำสมาธิ ทำจิตใจให้สงบเพื่อเป็นการผ่อนคลายความตึงเครียด และให้หมั่นอ่านหนังสือบ้างเพื่อเสริมสร้างความรู้และเปิดโลกทัศน์ให้กว้างขวาง เพื่อนำไปใช้พัฒนาชีวิตให้มีความสุขและประสบความสำเร็จ ปัจจัยที่สำคัญอีกประการหนึ่งของผู้ที่ประสบความสำเร็จคือ การมีความสัมพันธืที่ดีกับคนรอบข้าง มีความเมตตา และรู้จัก “ให้” ผู้อื่นอย่างสม่ำเสมอเช่น การให้ความสุข ให้ความเมตตาเห็นอกเห็นใจ ให้ความรู้ หรือให้ความช่วยเหลือทางด้านวัตถุ เป็นต้น
วิธีคิดหรือกรอบการมองโลก (paradigm) ของคนเราจะถูกกำหนดโดยสังคมและคนรอบข้าง และน้อยคนนักที่จะรู้ว่า ตนเองมีกรอบการคิดอย่างไรหรือถ้ารู้ก็รู้เพียงบางส่วน เพราะคนเหล่านั้นไม่เคยที่จะนั่งเงียบ ๆ สงบจิตสงบใจเพื่อลองทบทวนดูว่า กรอบการมองโลกที่ส่งผลให้เราพูด คิด และมีพฤติกรรมมาจนถึงทุกวันนี้มีอะไรบ้างทั้งในแง่บวกและแง่ลบ Steve เชื่อว่า ทุกครั้งที่คนเรามีความทุกข์แสดงว่า เรามีการมองโลกที่ผิดหรือฝืนกับกฎธรรมชาติ ฉะนั้น หากเรารู้ทันตัวเองและแก้ไขการมองโลกที่ผิดนั้นเสีย เราจะมีความสุขและประสบความสำเร็จ
การเปลี่ยนแปลงมุมมองในการมองโลก ลักษณะนิสัย หรือบุคลิกภาพของตัวเราจะต้องเปลี่ยนจากข้างใน เช่น เมื่อเราประสบปัญหาหรือทะเลาะเบาะแว้งกับผู้อื่น ให้เรากล้าที่จะมองสถานการณ์นั้นตามความเป็นจริงว่า เรามีส่วนในการสร้างปัญหาหรือความทุกข์ที่เกิดขึ้นนั้นหรือไม่อย่างไร ในขณะที่มองจะต้องดึงตัวเองออกมาและใช้ความรู้สึกเป็นตัวมอง เมื่อนั้นเราจะเริ่มมองเห็นกรอบการมองโลกและนิสัยที่แท้จริงของตนเอง Steve ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ทุกข์หรือความล้มเหลวนั้นมักเกิดจากการที่มนุษย์คิดจะพึ่งพลังภายนอกตลอดเวลา เช่น การคอยให้คนมาชื่นชมหรือให้กำลังใจ Steve ได้นำเสนอหลักของนิสัย 7 ประการที่จะช่วยให้เรา (1) ปรับเปลี่ยนกรอบในการมองโลกที่ทำให้เราไม่มีความสุข (2) หัดพึ่งพลังภายใน (3) มองเห็นข้อดีข้อเสียของตัวเอง และ (4) มีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบข้าง นิสัยทั้ง 7 ประการดังกล่าว มีดังนี้
นิสัยที่หนึ่งคือ รู้และเลือก (Be proactive)
การรู้และเลือกในที่นี้คือ การมีสติรู้เนื้อรู้ตัวว่ากำลังคิด กำลังพูด กำลังทำอะไรอยู่ และสามารถเลือกได้ว่าจะตอบโต้กับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นตรงหน้าอย่างไรที่จะสร้างความเดือดร้อนต่อตนเองและผู้อื่นน้อยที่สุด และพร้อมที่จะรับผิดชอบกับผลที่จะเกิดขึ้นอย่างมีสติโดยไม่โยนความผิดให้ผู้อื่น และเชื่ออยู่เสมอว่าเราสามารถสร้างชะตาชีวิตของตนเองได้ Steve มีความเห็นว่า คนเรามีสิทธิ์ “เลือก” ที่จะสุขหรือทุกข์ก็ได้เช่น เมื่อเราโดนคนวิพากษ์วิจารณ์หรือติฉินนินทา เรามีสิทธิ์เลือกที่จะใส่ใจหรือไม่ใส่ใจกับคำพูดเหล่านั้นก็ได้ แต่ไม่ใช่ให้อวดดีและไม่ฟังใคร แต่ให้รับรู้ด้วยสติและพิจารณาด้วยปัญญาว่าเราเป็นเช่นนั้นจริงหรือไม่ ถ้าจริงก็ควรแก้ไข แต่มนุษย์ส่วนใหญ่ทำไม่ได้เพราะไม่รู้จักตัวเองอย่างแท้จริง ไม่รู้ว่าตนเองเป็นคนมีนิสัยอย่างไร มีหลักคุณธรรมประจำใจอะไรบ้าง และมีเป้าหมายอะไรในชีวิต
เมื่อไม่มีจุดยืนในตัวเอง จิตใจจะถูกฉุดกระชากให้สุขหรือทุกข์ไปตามพฤติกรรมของคนรอบข้างและสิ่งแวดล้อมภายนอกเช่น เมื่อได้รับคำชมก็ดีใจมีความสุข แต่เมื่อถูกด่าก็มีความทุกข์ เป็นต้น Steve เชื่อว่าคนเรามีสิทธ์ที่มีชีวิตที่เป็นของตัวเองอย่างแท้จริงและสร้างสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตเองได้ ถ้ามีสติรู้ว่ากำลังทำอะไรอยู่และรู้จักเลือกว่าจะตอบสนองอย่างไร การจะมีจุดยืนในตัวเองได้ต้องเริ่มจากการรู้จักตัวเองอย่างถ่องแท้และยอมรับในสิ่งที่มันเป็นเสียก่อน Steve กล่าวเพิ่มเติมว่า มนุษย์มีสิ่งที่แตกต่างจากสัตว์คือ (1) มีสติรู้เนื้อรู้ตัว (2) มีจินตนาการและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (3) มีความรู้สึกผิดชอบชั่วดีและมีคุณธรรม (4) มีความยับยั้งชั่งใจรู้ว่าสิ่งไหนควรหรือไม่ควรทำ ฉะนั้น ให้เราลองเปรียบเทียบดูว่า เรามีคุณธรรมประจำใจมากน้อยแค่ไหน เข้าใกล้ความเป็นมนุษย์มากน้อยเพียงใด เพราะคนที่รู้และเลือกในมุมมองของSteve คือ คนที่มีสติ มีความกล้าหาญ กล้าเผชิญกับปัญหาแต่ไม่ใช่คนที่รู้มากและเลือกเอาแต่ประโยชน์ใส่ตัว ผู้แต่งเชื่อว่า คนที่กล้าเผชิญกับปัญหาคือ คนที่รู้จักวิเคราะห์ปัญหา และรู้ดีว่าตนสามารถแก้ไขได้ด้วยตัวเองหรือไม่ หรือต้องขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นด้วย และจะไม่ยอมให้สิ่งแวดล้อมภายนอกมาชักจูงให้เราทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้องโดยเด็ดขาด ในกรณีที่ปัญหาไม่สามารถแก้ไขได้ คนที่รู้จักรู้และเลือกจะรับรู้และทำใจวางเฉยได้ โดยไม่ตีโพยตีพายและกล่าวโทษผู้อื่น
นิสัยที่สองคือ สร้างเป้าหมายในชีวิตเป็นมโนภาพ (To begin with the end in mind)
วิธีหาเป้าหมายที่สำคัญในชีวิตที่ง่ายที่สุดคือ ให้ลองจินตนาการว่า ถ้าเราจะต้องจากโลกไปในวันนี้ เราอยากจะให้คนข้างหลังพูดถึงตัวเราในแง่ใดบ้าง เราอยากจะทิ้งอะไรไว้ให้เป็นมรดกแก่โลกใบนี้บ้าง และให้ถามตัวเองว่า ชีวิตนี้ก่อนตายอยากทำอะไรจริง ๆ เมื่อรู้จุดมุ่งหมายที่แท้จริงในชีวิตแล้วให้เราลองจินตนาการต่อไปถึงสิ่งที่เราปรารถนาในอีก 5-10 ปีข้างหน้า โดยภาพในจินตนาการนั้นจะต้องเต็มไปด้วยแสงสีเสียงและความรู้สึกโดยผู้แต่งแนะนำว่า เป้าหมายของเรานั้นจะต้องเป็นสิ่งที่เราชอบจริง ๆ และให้เชื่อมั่นว่า เราสามารถทำสิ่งนั้นได้ เมื่อคิดเสร็จแล้วให้เขียนเป้าหมายต่าง ๆ ลงในกระดาษ การเขียนให้เขียนด้วยความรู้สึก ความมุ่งมั่น เขียนตามมโนภาพที่สร้างไว้ และติดกระดาษไว้ในที่ที่เรามองเห็นบ่อย ๆ Steve แนะนำว่า นิสัยที่สองนี้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในองค์กรได้คือ การนำไปใช้ในการร่างพันธกิจและวัฒนธรรมขององค์กร เป็นต้น หลังจากที่สร้างเป้าหมายเป็นมโนภาพแล้ว ในระหว่างที่พยายามทำเป้าหมายให้เป็นจริง เราจะต้องระลึกถึงภาพนั้นทุกวัน ถ้าภาพนั้นชัดเจนยิ่งขึ้นแสดงว่าเราเดินมาถูกทางแล้วและใกล้ที่จะประสบความสำเร็จเข้าไปทุกที ๆ
นิสัยที่สามคือ ทำในสิ่งที่สำคัญจริง ๆ ก่อนเสมอ (Put first things first)
งานที่สำคัญที่ต้องทำก่อนในมุมมองของSteve คือ งานที่จะนำพาเราไปสู่เป้าหมายในชีวิตและเป็นงานที่ไม่เร่งด่วน ฉะนั้น เราจึงควรรู้จักมอบหมายงานบางอย่างให้ลูกน้องทำบ้างและจะต้องมีการตามงานด้วย อย่างไรก็ตาม หากงานใดที่เป็นหน้าที่รับผิดชอบของเราโดยตรง เราจะต้องทำเองแต่อาจจะหาผู้ช่วยเพื่อแบ่งเบาภาระเล็ก ๆ น้อย ๆ เมื่อเรารู้แล้วว่างานชิ้นไหนควรทำก่อนหลัง ก็ให้เริ่มลงมือทำและให้พยายามสังเกตธรรมชาติในการทำงานของตนเองว่า ควรทำงานในสภาพแวดล้อมแบบใดและในช่วงเวลาไหน งานจึงจะออกมามีประสิทธิภาพมากที่สุด
นิสัยที่สี่คือ คิดแบบต่างฝ่ายต่างได้รับประโยชน์ (Think win-win)
การคิดแบบนี้จะช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบข้างเพราะต่างฝ่ายต่างได้ประโยชน์ทั้งคู่ การจะมีแนวคิดดังกล่าวได้จะต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
1) มีความเชื่อว่า ยังมีสิ่งดี ๆ อีกมากมายที่รอเราอยู่และเราจะได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน
2) มีปากกับใจตรงกันและมีความซื่อสัตย์
3) ได้รับความไว้เนื้อเชื่อใจจากผู้อื่น
4) มีความชัดเจนในการมอบหมายงานหรือการทำข้อตกลงเช่น เราคาดหวังอะไรจากอีกฝ่าย งานนั้น ๆ จะต้องทำเสร็จเมื่อไหร่ มีการประเมินผลงานอย่างไร และมีการให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนในด้านใดบ้าง เป็นต้น
5) มีระบบที่สนับสนุนให้การทำงานมีความคล่องตัวและสามารถทำงานร่วมกันอยู่บนพื้นฐานของการคิดแบบต่างฝ่ายต่างได้รับประโยชน์ได้
6) เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นให้มองสถานการณ์โดยการดึงตัวเองออกมา ให้มองภาพรวม และคิดหาทางออกที่ดีที่สุดโดยให้ลืมผลประโยชน์ของตนเองเสีย
นิสัยที่ห้าคือ พยายามฟังและเข้าใจคนอื่นก่อนที่จะพูดเพื่อให้อีกฝ่ายเข้าใจเรา (Seek first to understand and then to be understood)
การตั้งใจฟังอีกฝ่ายเพื่อทำความเข้าใจคือ การฟังเพื่อทำความเข้าใจว่า อีกฝ่ายกำลังพูดอะไร พูดไปเพื่ออะไร และอีกฝ่ายมีความรู้สึกอย่างไร ซึ่งจะแตกต่างจากการตั้งใจฟังที่คนส่วนใหญ่เป็นคือ ตั้งใจฟังเพื่อหาข้อมูลมาหักล้างในสิ่งที่อีกฝ่ายพูดหรือเพื่อยัดเยียดความคิดของตนเองให้อีกฝ่ายเชื่อหรือทำตาม วิธีการฝึกเพื่อเข้าใจนัยที่อีกฝ่ายต้องการจะบอกเราคือ ในขณะที่ฟังให้เราสร้างภาพตามไปด้วย เมื่อเราฝึกเป็นผู้ฟังที่ดีและเข้าใจอีกฝ่ายแล้ว อีกฝ่ายจะรับรู้ได้ถึงความรู้สึกนั้น ๆ และจะเปิดใจยอมรับฟังข้อเสนอหรือสิ่งที่เราจะพูดเช่นเดียวกัน
นิสัยที่หกคือ สร้างทีม (Synergize)
การสร้างทีมในที่นี้คือ การดึงเอาจุดเด่นหรือศักยภาพของคนรอบข้างหรือผู้ร่วมทีมออกมาเพื่อช่วยให้เป้าหมายประสบความสำเร็จเช่น ถ้าลูกน้องเป็นราคะจริตจะต้องให้ทำงานทางด้านการประชาสัมพันธ์ และงานที่ไม่ต้องใช้ความคิดมากนัก หรือโทสะจริตจะต้องให้เป็นผู้คุ้มกฎ ผู้รักษาเวลา และช่วยในการวางแผนและจับประเด็น เป็นต้น Steve ได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ภาพรวมของทีมหนึ่ง ๆ จะต้องประกอบด้วย (1) นักคิด (2) ผู้สมานฉันท์ และ (3) ผู้ประสานสิบทิศ
เพราะนักคิดก็คือ คนที่ช่วยกันระดมสมองในการทำงานต่าง ๆ ผู้สมานฉันท์คือ คนที่ทำให้บรรยากาศราบรื่น ไกล่เกลี่ยความขัดแย้งเพื่อไม่ให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งรู้สึกว่าตนเองด้อยค่า ถ้าความคิดเห็นหรือแผนงานที่เสนอไม่ได้รับการยอมรับ และผู้สมานฉันท์จะต้องแสดงให้ทุกฝ่ายเห็นว่า ทุกอย่างจะเน้นไปที่เนื้องานเป็นหลักโดยไม่เอาเรื่องส่วนตัวมาเกี่ยวข้อง ส่วนผู้ประสานสิบทิศคือ คนที่จะนำแผนงานของเราไปประสานงานและเชื่อมโยงกับหน่วยงานหรือแผนกที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เป้าหมายที่เราตั้งไว้ประสบความสำเร็จ
นิสัยที่เจ็ดคือ ฟื้นฟูพลังชีวิต (Sharpen the saw)
Steve เชื่อว่า เราคงจะประสบความสำเร็จและมีความสุขได้ยาก ถ้าเรามีสุขภาพที่เสื่อมโทรม ฉะนั้น เราจะต้องหมั่นรักษาสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรง พักผ่อนให้เพียงพอ กินอาหารที่มีประโยชน์ และออกกำลังกายเป็นประจำ นอกจากนั้น ผู้แต่งแนะนำให้เราหมั่นทำสมาธิ ทำจิตใจให้สงบเพื่อเป็นการผ่อนคลายความตึงเครียด และให้หมั่นอ่านหนังสือบ้างเพื่อเสริมสร้างความรู้และเปิดโลกทัศน์ให้กว้างขวาง เพื่อนำไปใช้พัฒนาชีวิตให้มีความสุขและประสบความสำเร็จ ปัจจัยที่สำคัญอีกประการหนึ่งของผู้ที่ประสบความสำเร็จคือ การมีความสัมพันธืที่ดีกับคนรอบข้าง มีความเมตตา และรู้จัก “ให้” ผู้อื่นอย่างสม่ำเสมอเช่น การให้ความสุข ให้ความเมตตาเห็นอกเห็นใจ ให้ความรู้ หรือให้ความช่วยเหลือทางด้านวัตถุ เป็นต้น
ใครที่สนใจอ่านสรุปหนังสือเล่มต่อจาก The 7 Habits of Highly Effective People ซึ่งประพันธ์โดย Stephen Covey ใช้เวลานานกว่า 15 ปีในการรวบรวมข้อมูลและประพันธ์ผลงานชิ้นนี้ออกมา คลิกเข้าไปอ่านได้ครับที่นี่ The 8th Habit : From Effectiveness to Greatness
Subscribe to:
Posts (Atom)